4 ก.ย. 2021 เวลา 02:15 • ประวัติศาสตร์
พิธีโล้ชิงช้ามีขึ้นเพื่ออะไร แต่ทำไมปัจจุบันถึงไม่มีพิธีแล้ว
เป็นธรรมดาของทุกคนที่ได้พักอาศัยหรือมีถิ่นที่อยู่ในกรุงเทพมหาหานครที่จะสังเกตเห็นได้จากเสาสีแดงที่สูงตะง่าสองเสาคู่ดันที่เป็นเลนมาร์กสำคัญของกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเสาชิงช้านั้นเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่อยู่คู่กับกรุงเทพมหานครมาอย่างยาวนานหลายร้อยปีที่ตั้งสูงเด่นเป็นสง่าใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่ให้ผู้คนได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมและได้ถ่ายรูปกัน
โดยพิธีโล้ชิงช้านั้นได้เริ่มมีประวัติความเป็นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1โดยเริ่มต้นจากการบันทึกในจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์
ในการเริ่มสร้างเสาชิงช้า ไว้ว่า เป็นประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระราชาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่โปรดให้มีการสร้างเสาชิงช้าขึ้นในพระนครขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง
บริเวณด้านเหนือของวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร แต่ต่อมานั้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ได้มีการย้ายเสาชิงช้ามาสร้างใหม่ ตรงบริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหารที่เห็นได้ในปัจจุบัน
เสาชิงช้าเป็นสถานที่หนึ่งในการประกอบพิธีโลชิงช้าที่ได้มีการจัดขึ้น ซึ่งในที่นี้พิธีโลชิงช้านั้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ซึ่งในการประกอบพิธีนี้เป็นการตอนรับพระอิศวรที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมโลก 10 วัน (พระอิศวรนั้นเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้า ตามหลักในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู)
และยังรวมถึงการเชิญเหล่าเทวดาองค์อื่นให้มาร่วมเข้าเฝ้าและมาร่วมในการประกอบพิธีนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยเหล้าเทวดาดังนี้ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระคงคา พระธรณี โดยที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีจะแกะสลักรูปสัญลักษณ์เหล่าเทวดาองค์ต่างๆเป็นเทวรูป
และได้มีการนำเทวรูปเหล่านั้นลงบนแผ่นกระดาษไม้กระดาษสามแผ่นทีาเตรียมไว้เพื่อทำการบูชาภายในเทวสถาน แล้วจากนั้นก็นำไปปักในหลุมหน้าของโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า และหันกระดานเข้ากับตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่งอยู่ เรียกว่าว่า กระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่
ในตำนานพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย พิธีโล้ชิงช้านี้มีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพ ที่มี่การกล่าวไว้ว่า พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทธาที่แม่น้ำ
แล้วให้พญานาคแกว่งไหวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่าห้าง เมื่อพระยานาคไหวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงมาแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างขึ้นมานั่นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงชนะการพนัน
ซึ่งในพิธีโล้ชิงช้าเปรียบเสมือนเป็นพิธีที่อยู่คู่กับคนไทยมานานช้านานและยังคงมีวัฒนธรรม เอกลักษณ์ ความเชื่อ ที่ปฏิบัติก็มาอย่างต่อเนื่องให้ลูกหลานได้เห็น
แต่ต่อมาพิธีโล้ชิงช้านี้ได้ถูกยกเลิกออกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องจากในการดำเนินการของพิธีนั้นสร้างความสูญเสียให้กับบุคคล เนื่องจาก พราหมณ์ที่ขึ้นไปทำการโล้ชิงช้าแล้วตกลงมาตายทุกปี ถึงแม้จะมีการทอนเสาให้สั้นลงก็ตาม
จึงทำให้เหลือเพียงแต่การประกอบพิธีภายในเทวสถานที่เห็นได้จากปัจจุบันเท่านั้น จะเห็นได้ว่าพิธีโล้ชิงช้ามีความสำคัญมากในสมันก่อน ที่มีการปฏิบัติ รักษา และคงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีของขนบธรรมเนียมประเพณีไทยได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีพิธีโล้ชิงช้านี้ให้เราได้เห็นก็ตาม
แต่ก็มีตำนานที่เล่ากันมาปากต่อปากว่า เมื่อบุคคลใดหรือใครก็ตามที่โล้ชิงช้าแล้วตกลงมาตาย จะมีการนำร่างไปฝังหรือถูกฝังไว้ใต้เสาชิงช้า แต่เรื่องนี้ก็เป็นเพียงเรื่องเล่าที่มีการเล่าปากต่อปากเพียงเท่านั้น
อ้างอิง :
โฆษณา