5 ก.ย. 2021 เวลา 02:00 • หนังสือ
Upheaval: How Nations Cope with Crisis and Change, Jared Diamond
เนื้อหาในหนังสือก็ตามชื่อ เล่าเรื่องเกี่ยวกับวิกฤติที่แต่ละประเทศเผชิญ (7 ประเทศ) และการรับมือกับวิกฤติเหล่านั้น Jared พยายามอธิบายในลักษณะเชิงเปรียบเทียบโดยมองแต่ละประเทศคล้ายกับปัจเจกบุคคล หมายความว่าปัจจัยที่ทำให้บุคคลหนึ่งๆ หรือประเทศหนึ่งๆ เลือกวิธีจัดการกับวิกฤติหนึ่งๆ นั้นมีองค์ประกอบที่เทียบเคียงกันได้
หนังสือแบ่งออกเป็น 3 องค์ องค์แรกเกริ่นนำเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับมือวิกฤติของปัจเจกบุคคลและนำไปอ้างอิงล้อกับปัจจัยที่ส่งผลในระดับประเทศ องค์ที่สองคือส่วนของประเทศที่เคยเผชิญกับวิกฤติและหลุดพ้นแล้ว และองค์สุดท้ายเป็นส่วนของประเทศที่ยังเผชิญวิกฤติอยู่และยังไม่มีทีท่าว่าจะผ่านพ้นไปได้ในเร็ววัน รวมถึงวิกฤตระดับโลก
Jared สรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อการแก้ไขวิกฤติของชาติออกมาได้ทั้งหมด 11 ปัจจัย ในท้ายของแต่ละบท Jared ก็รวบตึงเอารายละเอียดต่างๆ มาแยกใส่ในปัจจัยเหล่านั้น โดยส่วนตัวมองว่าบางปัจจัย Jared ยังไม่สามารถให้รายละเอียดขนาดที่เราจะเชื่อว่ามันมีผลต่อการดีลกับวิกฤติระดับชาติได้จริงๆ
อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วหนังสือสามารถให้รายละเอียดได้ค่อนข้างครอบคลุมในระดับที่มากพอที่จะทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมประเทศหนึ่งๆ ถึงลุกขึ้นมาปฏิวัติตนเอง หรือทำไมประเทศหนึ่งยังคาราคาซังกับปัญหาที่เกิดอยู่
ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประเทศหนึ่งๆ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ (สรุปเอง ไม่ใช่ตามที่ผู้เขียนแบ่งไว้)
1. geopolitical constraints ขอเหมารวมๆ ว่าหมายถึงข้อจำกัดต่างๆ อันมิได้มาจากปัจจัยภายในประเทศเอง อย่างกรณีเคสของฟินแลนด์ที่ถูกรุกรานจากโซเวียตช่วง WW2 จากที่เคยสู้ยิบตา สู้จนคนฟินน์ร้องขอชีวิต หลังจากที่คิดว่าโครงการ 'เราชนะ' จะเวิค สำเนียกได้อีกทีก็ยับเยินไม่มีชิ้นดีแล้ว คนช่วยก็ไม่มี เอาวะชนะไม่ได้ก็ผูกมิตรแม่งเลยละกัน ทั้งคู่จึงตกล่องปล่องชิ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา
หรือกรณีที่ออสเตรเลียเลือกที่จะถอยห่างออกจากบริเตนใหญ่อันเนื่องมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกหักหลังในช่วง WW2 สาเหตุเพราะออสเตรเลียอยู่ไกลเกินกว่าที่จะสร้างประโยชน์ให้อังกฤษ และการให้การช่วยเหลือก็ลำบากเกินไป ไม่ช่วยยังไม่เท่าไหร่ หลัง WW2 ดันเขี่ยออสเตรเลียทิ้งแล้วหันไปคบ EU แทน..มันจี๊ดอ่ะ
2. geographic constraints อันนี้มองในแง่ปัจจัยภายในจำพวก input ด้านทรัพยากรต่าง อย่างเช่นจำนวนประชากรวัยแรงงาน อาหาร แร่ธาตุ ชาติ ศาสนา โมเดินน่า ไฟเซอร์ (สี่อันหลังไม่เกี่ยว) อันนี้เป็นปัญหาอย่างมากสำหรับญี่ปุ่นในปัจจุบัน เพราะนำเข้าทรัพยากรแทบทุกอย่าง ที่ผลิตได้เองจริงๆ มีน้อย โครงสร้างประชากรก็เริ่มเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างจริงจัง ไม่มีวัยทำงานมาพยุงเศรษฐกิจประเทศ immigrant ก็ไม่รับ เพราะผยองคิดว่าคนพวกนี้จะมาสร้างความวุ่นวายให้ประเทศ รอดูวันชิบหายได้เลยมึ๊งงง
3. political and ideological polarization โดยเฉพาะชาติที่ขั้วความคิด ขั้วการเมืองต่างจนไม่สามารถ compromise ได้ สุดท้ายก็จะต้องมีการกด ปราบ กำจัดขั้วใดขั้วหนึ่งออกไป อย่างในชิลีสมัยที่ประธานาธิบดี Allende ใช้นโยบาย marxist สุดขั้ว จนสุดท้ายฝ่ายขวาร่วมมือกับทหารก่อรัฐประหารโดยนายพล Pinochet เพราะไม่พอใจการบริหารประเทศของ Allende พอขึ้นมาปุ๊บ พ่อไล่ล้างบางอีพวกฝ่ายซ้ายเหี้ยนเลยจ้า
อเมริกาก็กำลังเผชิญปัญหาความแตกแยกทางขั้วการเมืองอย่างหนักในปัจจุบัน โดยจะพบว่าการผ่านกฏหมายในสภาคองเกรสทำได้ยากมากขึ้นจากการทำ filibuster (ไม่โหวตผ่านกฎหมายโดยเสียงข้างน้อย) ของการเมืองฝ่ายตรงข้าม ตั้งแต่ยุค Obama เป็นต้นมา ก็รอดูต่อไปว่า America จะ great again มั้ย
4. ethnic diversity ปัญหาชาติพันธุ์ อันนี้คล้ายๆ ข้อสาม แต่อาจจะอยู่ในขั้นกว่า เพราะนอกจากอุดมการณ์ที่ต่างอาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างชาติพันธุ์อีกด้วย ในหนังสือก็เป็นเคสอินโดนีเซียเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะ ช่วงแรกก็เกิดปัญหาทางการสื่อสารมาก แต่ยังดีหน่อยที่อินโดนีเซียไม่พบความรุนแรงแบบในแถบตะวันออกกลาง หรือเอเชียใต้ (อัฟกันต้องเข้าละข้อนี้)
5. power allocation between social classes อันนี้หนังสือไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก แต่น่าจะเป็น internal factor ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการงัดอำนาจระหว่างชนชั้น ชนชั้นใดที่มี power มากก็มีโอกาสมากกว่าในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงมากกว่า กรณีถ้าคนกุมอำนาจเป็นชนชั้น elite ผลประโยชน์ของชาติก็มักจะกลายเป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มเล็กๆ นั้น (มักพบใน authoritharian state) พบในชิลีช่วงนายพล Pinochet ปกครองประเทศ และอินโดนีเซียภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี Sukarno ต่อด้วยนายพล Suharto
อย่างไรก็ดีในยุคเมจิของญี่ปุ่นที่แม้จะเป็น absolute monarchy กลับให้ผลต่างกันสิ้นเชิง โดยญี่ปุ่นเจริญขึ้นมากในช่วงเวลาดังกล่าวจากการที่ชนชั้นนำมองเห็นภัยคุกคามจากต่างชาติ หมายความว่าไม่จำเป็นที่เมื่อชนชั้นนำได้อำนาจส่วนใหญ่ของประเทศไปแล้วจะหาประโยชน์เข้าตนเองเสมอ (อ๊ะๆ แต่ไทยไม่ใช่ญี่ปุ่นนะจ๊ะ)
ปล. ในเรื่องวิกฤติระดับโลกส่วนที่สำคัญที่สุดคือวิกฤติด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม อ่านแล้วรู้สึกสิ้นหวังเพราะความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดได้จริง ไม่น่าจะมีประเทศใดประเทศหนึ่งยอมเสียผลประโยชน์จริงๆ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ตราบเท่าที่โลกยังขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อาเมน
สรุป อ่านแล้วเปิดหูเปิดตาดี เข้าใจภาพรวมประวัติศาสตร์มากขึ้น แต่ยังขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยภายในของประเทศในแง่ของการจัดสรรอำนาจ (แต่ก็เข้าใจได้ว่าไม่ใช่ข้อมูลที่หามาได้ง่ายๆ)
โฆษณา