5 ก.ย. 2021 เวลา 08:06 • ธุรกิจ
อาณาจักรวอลดิสนีย์กับการสร้างความประหยัดจากขอบเขต (Economies of Scope)
ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay
ถ้าให้พูดถึง วอลต์ดิสนีย์คงจะจินตนาการได้ถึง สวนสนุกและตัวการ์ตูนที่เป็นโลโก้น่ารัก อย่างมิกกี้เมาส์ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของวอลต์ดิสนีย์ไม่ได้มีเพียงแค่การ์ตูนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงธุรกิจโทรทัศน์ สวนสนุก โรงแรม สตูดิโอสร้างภาพยนต์ รวมไปถึงสินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งธุรกิจทั้งหมดของวอลต์ดิสนีย์จะมีส่วนที่เกี่ยวโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐศาตร์เราเรียกกันว่า ความประหยัดจากขอบเขต (Economies of Scale) เป็นส่วนหนึ่งของ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
อย่างแรกต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าอะไรคือ ความประหยัดจากขอบเขต (Economies of Scale) เพราะคนที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มาอาจจะไม่เคยไได้ยินคำนี้มาก่อนเลย ถ้าอธิบายสั้นๆ ความประหยัดจากขอบเขต คือ การที่บริษัทสร้างสินค้าหรือบริการ หลายๆอย่างทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง แต่ถ้าหากแยกย่อยลงไปอีกจะเข้าใจมากขึ้น
1. ความประหยัดต่อขนาดเกิดจาก บริษัทผลิตสินค้าตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เมื่อใช้กระบวนการผลิตร่วมกันจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง มากกว่าที่จะผลิตแยกกัน
2. ความประหยัดต่อขนาดเกิดขึ้น เมื่อผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง และส่งผลดีต่อการผลิตสินค้าชนิดอื่น เช่น สินค้าที่ใช้ร่วมกัน เมื่อซื้อผงซักฟอก จะต้องซื้อน้ำยาปรับผ้านุ่มตามไปด้วย
3. ความประหยัดต่อขนาด เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ช่วยส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าชนิดอื่นๆ เช่น บริษัทผลิตสมาร์ทโฟน นอกจากจะสร้างรายได้จากการขายแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ให้กับ แอพลิเคชั่นของบริษัทด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขายขาดหรือ การเก็บค่าสมาชิกรายเดือน
ทำความเข้าใจอาณาจักรวอลต์ดิสนีย์ แบ่งธุรกิจ 4 สายหลักๆ ได้แก่
1. Media Network รายได้ส่วนใหญ่มาจาก Affiliate fees และการโฆษณา ในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำรายได้ 28.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. Park, Experience and Product ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว มีรายได้ผ่านตั๋วค่าเข้าสวนสนุก และค่าบริการจากธุรกิจท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น รีสอร์ท เรือสำราญ คลับพักร้อน ในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำรายได้ 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. Studio entertanment ซึ่งแยกย่อยเป็น Walt disney picture, Twentieth Century, Marvel, Lucus Film, Pixar, Searchlight Picture ,bluesky studio banners อีกทั้งยังมี Music production and distribution ในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำรายได้ 9.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. Direct to consumer & International ถือลิขสิทธิ์ ในตัวละคร สินค้าต่างๆทั่วโลก การพัฒนาเกม สื่อสิ่งพิมพ์ ค้าปลีก และการค้าสินค้า ในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำรายได้ 16.97 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
วอลต์ดิสนีย์สร้างความประหยัดจากขอบเขต จากธุรกิจทั้งหมดได้อย่างไร
เนื่องจากธุรกิจของวอลต์ดิสนีย์ มีรายละเอียดแยกย่อยมากมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยกภาพรวมใหญ่ๆ เพื่ออธิบายความประหยัดจากขอบเขต ซึ่งเกิดจากการใช้กระบวนการร่วมกัน เราจะเห็นได้ชัดจากการผลิตตัวการ์ตูนเจ้าหญิง จาก Pixar animation studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Studio entertanment
ได้ลงทุนสร้างอนิเมชั่น และตัวละครโดยมีกลุ่มเป้าหมายตลาดสำหรับเด็ก
และธุรกิจอื่นในเครือได้นำไปใช้งานต่อ โดยผ่านการสร้างเรื่องราว และการโฆษณาจากธุรกิจสตูดิโอเรียบร้อยแล้ว
ภาพโดย Hands off my tags! Michael Gaida จาก Pixabay
ธุรกิจที่นำตัวการ์ตูนไปใช้ต่อยอด อาทิ
สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ และบริการท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างธีมสวนสนุกทั้งในวันปกติ และเทศกาลต่างๆประจำปี รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก หรือของเล่น ที่มีลายการ์ตูนของดิสนีย์หรือตุ๊กตาแบบจำลองนั้นๆ
นอกจากนี้ได้มีการปล่อยเช่าลิขสิทธิ์ตัวละครได้ในระยะยาว ซึ่งผู้อ่านทุกคน ถึงแม้ไม่ได้เป็นแฟนคลับของดิสย์นีก็น่าจะเคยเห็นผ่านตามาจาก ยกตัวอย่างเช่น แสตมป์เงินเงินสดของร้านสะดวกซื้อที่มีลาย หมีพูว์ มิกกี้เมาส์ เครื่องสำอางรุ่นสเปเชียลอิดิชั่นลายเจ้าดิสนีย์ ผ้าปูที่นอนลายดิสนีย์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการเช่าลิขสิทธิ์การ์ตูนเพื่อนำมาใช้ดึงดูดผู้บริโภค หรือเพิ่มยอดขายของบริษัททั้งสิ้น
ภาพโดย tunechick83 จาก Pixabay
ที่น่าสนใจคือตัวละครการ์ตูนของดิสนีย์ไม่เพียงแต่เข้าถึงผู้บริโภคในวัยเด็กเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้บริโภคที่ไม่ใช่เด็กด้วย เนื่องจากความภักดีต่อแบรนด์ดิสนีย์ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ ตรงที่เป็นตัวการ์ตูนในวัยเด็กที่ทุกคนเคยผ่านมาแล้ว ทำให้เกิดความผูกพันในระยะยาวและกลายเป็นความภักดีต่อแบรนด์เราจึงพบสินค้าที่มีลายตัวการ์ตูน เจาะตลาดในกลุ่มผู้ใหญ่ได้อยู่เสมอๆ
จะเห็นได้ว่า การประหยัดจากขนาดของวอลต์ดิสนีย์เกิดจากการลงทุนผลิตตัวละครเพียงแค่ครั้งเดียว ทั้งการใช้ทีมงานสร้าง การโฆษณาขณะแสดงผลงานออกสู่สาธารณะชน และการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ จากนั้นจึงกระจายไปสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอื่นๆ ในระยะยาว
และข้อดีที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการทำธุรกิจที่หลากหลาย จะเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน เพราะถึงแม้ธุรกิจหนึ่งจะได้รับผลกระทบ แต่ยังคงมีธุรกิจอื่นๆคอยพยุงไว้ไม่ให้ล้มทั้งหมด
อ้างอิง
2. Fiscal year 2020 annual financial report - The walt disney company
โฆษณา