2 ต.ค. 2021 เวลา 06:43 • ศิลปะ & ออกแบบ
อะไรเอ่ย? ของพิ้นบ้าน ที่อยู่คู่กับพิ้นและบ้านมาเนิ่นนานทุกคนต้องรู้จักกันดี🤔
ติ๊กต่อก...ติ๊กต่อก....
ตอบกันได้ยังคะ...สปอยล์เลยละกัน แม่มณีเป็นคนใจดี... มีเมตตาค่ะ... (ใครถาม?😂)
2
คำตอบคือ เสื่อค่ะเสื่อ...
เสื่อมีอยู่ทั่วไป ทุกจังหวัด ทำหน้าที่เป็นพนักงานปู เหมือนกัน พกพาไปปูได้ทุกสภาพผิว จะปูนอนก็ได้ จะปูนั่งก็ดี😂
หลายๆคนอาจคิดว่าเสื่อที่ไหนๆก็เหมือนกัน แต่ความจริงนั้นเสื่อของแต่ละจังหวัดล้วนมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นแตกต่างกันไปค่ะ...
สำหรับวันนี้... แม่มณีในฐานะที่เป็นคนเมืองจันท์ก็จะมาเล่าเรื่อง "เสื่อจันทบูร" ที่เป็นเสื่อที่โด่งดังมายาวนานตั้งแต่อดีต ด้วยความพิเศษของเส้นกกที่เหนียวนุ่ม...มันวาว...และทนทาน(ยิ่งกว่าสีทนได้อีกนะคะ😂)
อีกทั้งคนจันท์ยังมีฝีมือการจักกกได้เส้นเล็กละเอียด... ทอละเอียด... สามารถทอยกดอกได้อย่างสวยงาม(นี่ไม่ได้อวยเลยนะคะ😂)
เสื่อจันทบูร มีความเป็นมาอย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ...
🌸จากเสื่อชาวญวน...สู่...เสื่อสมเด็จ...🌸
แต่เดิมกกต้นกลมของเมืองจันท์มีขึ้นอยู่ทั่วไปใน
พิ้นที่น้ำกร่อย แต่ชาวเรือแค่นำมาใช้มัดปูเท่านั้น
คนกลุ่มแรกที่ริเริ่มนำต้นกกมาทอเป็นเสื่อคือ ชาวญวนที่อพยพมาอาศัยอยู่บริเวณหลังวัดญวน หรือวัดคาทอลิค โดยมี"ซิสเตอร์"หรือชาวบ้านเรียกกันว่า"แม่ชี" เป็นผู้สอนการทอเสื่อให้กับชาวบ้านในชุมชน
ซิสเตอร์จะนิยมทอเสื่อในเวลาว่าง เพื่อนำไปขายเลี้ยงชีพและเลี้ยงอาราม เป็นเสื่อที่มีลวดลายการยกดอกสวยงาม คนจันท์จะเรียกกันว่า
"เสื่ออาราม"หรือ"เสื่อแม่ชี"
ส่วนชาวญวนจะทอเสื่อธรรมดา ไม่มีลวดลาย สำหรับไว้ใช้งานในบ้านหรือในวัด
ในปี พ.ศ. 2457 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ให้จัดส่งผลิตภัณฑ์และสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านไปร่วมจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองซานฟรานซิสโก ณ. ประเทศสหรัฐอเมริกา
หนึ่งในนั้นคือ เสื่อกก ลายยกดอกตราอาม ลายยกดอกหน้าสัตว์ ลายยกดอกครุฑ และลายธรรมดา
จากการนำไปแสดงในครั้งนั้น ได้รับรางวัลเป็น
เหรึยญเกียรติยศพร้อมใบประกาศด้วยค่ะ
ต่อมาในปีพ.ศ. 2493 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่7 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับอยู่ ณ.วังสวนบ้านแก้ว จ.จันทบุรี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณีค่ะ)
ได้ทรงพัฒนาการทอเสื่อจันทบูร และจัดตั้งโรงงานทอเสื่อที่วังสวนบ้านแก้ว เสื่อที่ผลิตได้ในขณะนั้น ชาวเมืองจันท์เรียกกันว่า "เสื่อจันทบูรสมเด็จ"
ภาพจากเพจ KORKOK😊
และพระองค์ยังนำเสื่อที่ทอมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าถือสตรี ที่รองจาน ที่รองแก้ว กล่องใส่กระดาษเช็ดมือ
ภาพจากเพจKORKOK😊
🌸กก หัวใจของการทอเสื่อ🌸
บางคนอาจจะไม่เคยเห็นต้นกก...นี่ค่ะคือโฉมหน้าของต้นกก พระเอกของเราในวันนี้...เย้ๆ!!!
1
ภาพจากเพจ KORKOK😊
ต้นกก เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่ธรรมชาติที่มีลักษณะน้ำท่วมขัง เช่น ห้วย หนอง หรือบึงต่างๆ
ต้นกกโตเร็วและกินอาหารเก่ง จึงช่วยดูดซับสารอินทรีย์ในน้ำที่อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้อย่างดี
ชนิดของต้นกกมีมากกว่า 4,000 สายพันธุ์
(โอ้โห!) แต่ที่เมืองจันท์ จะรู้จักกันดีคือ "ต้นกกกลม"
เป็นกกสองน้ำ คือ ขึ้นในน้ำกร่อย(น้ำจืดปนน้ำเค็ม)
มีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นกกที่มีเส้นใยเหนียว
แข็งแรง และทนทาน ไม่ค่อยขึ้นราเท่ากกน้ำจืด เหมาะที่จะนำมาทอเป็นเสื่อ เพราะจะมีความทนทานแข็งแรง
🌸กว่าจะมาเป็นเสื่อจันทบูร🌸
เมื่อต้นกกแก่พอจะเก็บเกี่ยวได้แล้ว ชาวบ้านก็จะไปเก็บเกี่ยวต้นกกกันค่ะ
ภาพจากเพจKORKOK😊
เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้ว ก็จะมาทำการ"จักกก"กันค่ะ
"การจักกก" คือ การนำต้นกกที่ผ่านการคัดขนาดแล้วนำมาจักเป็นเส้นเล็กๆ โดยใช้มีดปลายแหลมขนาดเล็กจักจากปลายต้นไปหาโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลำต้นขาด และเอาใส้ในสีขาวออกเพราะมีความแข็งและขาดง่าย...
ภาพจากเพจKORKOK😊
กกต้นหนึ่งจะจักได้ประมาณ 3-5 เส้น เมื่อได้ขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือจะนำมามัดรวมกันโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด
ภาพจากเพจKORKOK😊
จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งสนิท 2-3 วัน ก็จะได้เส้นกกที่เล็กและแห้งสนิท เพื่อนำไปย้อมสีและทอเป็นเสื่อตามขนาดที่ต้องการต่อไป
ภาพจากเพจKORKOK😊
การทอเสื่อจะทำได้หลายแบบ หลายลาย มีทั้งลายเรียบๆหรือลายยกดอกสวยงาม
ภาพจากเพจ KORKOK😊
นอกจากเสื่อแล้วยังได้มีการนำเสื่อไปทำเป็น
ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่น่าใช้อีกเช่น ที่รองจาน ที่รองแก้ว
ที่รองจานที่รองแก้ว😊
กล่องใส่ทิชชู่ หลากหลายขนาด หลายลาย หลายสี
กล่องใส่ทิชชู่😊
หมวกบังแดด มีหลายขนาด หลายสี
หมวก😊
รองเท้าก็มีหลายลาย หลายสี
รองเท้าเสื่อ😊
และที่แม่มณีชอบมากคือ กระเป๋าค่ะ😊
กระเป๋าจากกกได้มีการพัฒนา จากคนรุ่นใหม่ที่กลัวว่า การปลูกกก การทอเสื่อ การทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากกก จะสูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า จึงพัฒนามาเป็นแบรนด์กระเป๋าที่มีรูปแบบทันสมัยขึ้น
โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า "KORKOK" มีแนวคิดการออกแบบที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ ภาษา ความเป็นเมืองจันท์ในด้านต่างๆด้วยค่ะ... กิ๊บเก๋ยูเรก้ามาก
เลยค่ะ😊
แม่มณีจะนำเสนอให้ดูเป็นตัวอย่างนะคะ...
💕กระเป๋ารุ่น"จันทร์เจ้า" 💕หมายถึง ชื่อของเมืองจันท์ที่มีความเกี่ยวพันกับดวงจันทร์นั่นเองค่ะ
ภาพจากเพจKORKOK😊
💕กระเป๋ารุ่น"สุย" 💕คำนี้เป็นภาษาจันท์ที่แม่มณีเคยเล่าให้ฟังไปแล้วนะคะ แปลว่า ผลัก ดัน ขับไล่(แต่ไม่ไสส่งนะคะ)😆
ภาพจากเพจKORKOK😊
กระเป๋ารุ่น "กล่องจันท์" จะมีรูปทรงเหมือนกล่องและมีสีคล้ายกับผลไม้ของเมืองจันท์ค่ะ
กล่องจันท์(สีแดงเงาะ)😆
กล่องจันท์(สีม่วงมังคุด)😆
กล่องจันท์(สีเขียวปนเหลืองทุเรียน)😊
กระเป๋ารุ่น "อิงจันท์" เป็นกระเป๋าใบใหญ่ สีสันสดใส เหมือนกับสีสันความหลากหลายของเมืองจันท์ ( กระเป๋ารุ่นนี้ซื้อแล้วแถมนางแบบด้วยค่ะ
นางฝากมาบอก...นางเป็นเพื่อนของแม่มณีเองค่ะ...หยอกๆ😆)
กระเป๋ารุ่นอิงจันท์😊
งานผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ประณีตและสวยงามแบบนี้แม่มณีอยากให้ยังคงอยู่คู่กับเมืองจันท์ไปนานๆ จะเสียดายมากถ้าไม่มีคนรุ่นหลังสืบต่องานฝีมือดีๆมีคุณค่าแบบนี้ให้คงอยู่เป็นความภูมิใจของคนเมืองจันท์ต่อไป😊
#ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...ติดตาม...
และให้กำลังใจนะคะ😍💕
#ขอบคุณข้อมูลจาก About Chan, เพจKORKOK🙏😊
#แม่มณีมีเรื่องเล่า😊มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง
#เอาแบบที่สบายใจ😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา