7 ก.ย. 2021 เวลา 12:42 • สุขภาพ
## เตรียมรับมือกับอาการ “โควิดเรื้อรัง”
หากยอมให้คนติดเชื้อเพื่อสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” ##
3
ด้วยประชากรเกือบๆ 1,400 ล้านคน ประเทศอินเดียตั้งความหวังไว้กับการสร้าง #ภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19
3
จากการสำรวจ Sero Survey ของสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (The Indian Council of Medical Research: ICMR) รอบที่ 4 ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พบว่า 67.6% หรือ 2 ใน 3 ของประชากรที่อายุเกิน 6 ขวบ มีแอนติบอดีโควิด (ภูมิคุ้มกันโรคโควิด) แล้ว
ตัวเลขนี้มีความหมายเพราะเข้าใกล้เป้าหมายการสร้าง "ภูมิคุ้มกันหมู่" ที่อินเดียคาดหวังเอาไว้ นั่นคือ หาก 60-70% ของประชากรมีภูมิคุ้มกันแล้วก็จะช่วยให้คนที่เหลือได้รับการปกป้องไปด้วย
2
แต่นั่นไม่ใช่ในยุคของ "เดลต้า"
สิ่งที่เราเห็นภายหลังการกลายพันธุ์ของเชื้อสู่สายพันธุ์เดลต้าเป็นไปในทางกลับกันก็คือ ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวังได้ อาการเรื้อรังของโควิด หรือที่เรียกกันว่า #ลองโควิด กลับเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
2
แนวคิดที่หวังพึ่งภูมิคุ้มกันหมู่วางอยู่บนพื้นฐานที่ว่าหากในพื้นที่ใดมีสัดส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกันจนสามารถต้านทานโรคได้แล้วในจำนวนมากพอ ประชากรส่วนน้อยที่เหลืออยู่ก็จะได้รับการคุ้มกันไปด้วย โดยที่ภูมิคุ้มกันในประชากรส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายจดจำและสร้างกลไกต่อสู้ขึ้นมาเองหลังจากผ่านการติดเชื้อ หรือจากการฉีดวัคซีนก็ได้
2
นักวิจัยได้เห็นฤทธิ์เดชของเดลต้าและยกระดับสัดส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นไปที่ 85% ของประชากรเป็นอย่างน้อย จึงจะมีภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับโควิดสายพันธุ์นี้ ส่วนเมื่อภูมิคุ้มกันถึงระดับนั้นแล้วจะคงอยู่ได้นานเท่าไหร่และจะต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์รุ่นใหม่ๆ อีกได้หรือไม่ ยังไม่รู้
2
ทั้งนี้ การประเมินจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย และทุกวันนี้เราก็ได้ทราบว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังติดเชื้อโควิดทั้งๆ ที่ได้รับวัคซีนแล้ว นักวิจัยจากหลายสำนักจึงออกมาประสานเสียงกันมากขึ้นแล้วว่า ความหวังที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่นั้นอาจเป็นเพียงฝันที่ไม่อาจเป็นจริง
1
ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและมีข้อมูลในหลายประเทศคือผลของการติดเชื้อโควิด ไม่ว่าจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หรือที่เรียกว่า 'ลองโควิด' หรือ 'โควิดเรื้อรัง'
2
ผลการศึกษาและทดสอบ เช่น การสแกนสมองและอวัยวะ รวมถึงการศึกษาทางจิตวิทยาได้บ่งชี้ถึงความเสียหายของอวัยวะและการเสื่อมถอยด้านสติปัญญาแม้แต่ในคนที่ติดเชื้อแต่ไม่เคยมีอาการใดๆ เลยด้วย ในขณะที่ 10-30% ของผู้ที่รอดชีวิตรายงานว่าพบอาการโควิดเรื้อรังอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น อ่อนเพลีย หายใจหอบ ใจสั่น สมองเบลอ ไอ เป็นไข้ ปวดหัว เวียนหัว เจ็บหน้าอก ปวดข้อ การรับรู้กลิ่นหรือรสเปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
4
ยังไม่มีใครตอบได้ชัดๆ ว่าอัตราคนป่วยลองโควิดมีเท่าไหร่ องค์การอนามัยโลกบอกว่ามี 10% ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด ส่วนสหราชอาณาจักรบอกว่ามีถึง 30% ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การวัดของแต่ละที่และแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
1
ในกรณีของอินเดีย จากข้อมูลทางการล่าสุด ประชากรผู้ใหญ่ชาวอินเดียเกินครึ่งคือ 473 ล้านคนได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้วเพิ่งจะมีเพียง 15% เท่านั้น ในขณะที่อินเดียมีคนติดเชื้อแล้วมากกว่า 32 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 400,000 ราย
1
ที่ผ่านมา ทาง ICMR แนะนำว่าถ้าบุคลากรทางการศึกษาได้ฉีดวัคซีนแล้วให้เปิดเรียนได้เฉพาะระดับประถมเท่านั้น เพราะเห็นว่าเด็กๆ รับมือกับการติดโควิดได้ดีกว่า เนื่องจากเด็กๆ มีตัวรับเอซน้อยกว่า (ACE receptors)
1
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีข้อมูลชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในมุมไบ เมืองหลวงทางการเงินของอินเดียติดโควิด-19 และมีแอนติบอดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นต่างว่าไม่ใช่เรื่องน่าดีใจและบอกว่าโควิดระลอกที่สามนี่แหละที่จะโจมตีเด็กได้ มุมไบร่วมกับเมืองอื่นๆ จึงสร้างโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่สำหรับเด็กเพื่อเตรียมรับมือ
8
และหากเชื่อตัวเลขการสำรวจ Sero Survey ครั้งที่ 4 นี้ ซึ่งสุ่มตรวจประชากร 28,975 คน จากพื้นที่ 70 เขตใน 21 รัฐ ด้วยวิธี serology test เพื่อหาแอนติบอดีโควิดแล้วก็ต้องเห็นว่า มีประชากรชาวอินเดียไม่ต่ำกว่าครึ่งที่ติดเชื้อโควิดเข้าแล้ว และหากนับว่ามีเพียง 10% ของคนจำนวนนี้ที่อาจเป็นลองโควิด นั่นก็หมายถึงจะมีคนอินเดียอย่างน้อย 70 ล้านคนที่ต้องดูแลรักษากันไปยาวๆ
1
แล้วถ้าคำนวณจากยอดผู้ติดเชื้อสะสมของทั้งโลกล่ะ จะเป็นจำนวนมากขนาดไหน สังคมโลกรวมถึงประเทศไทยพร้อมที่จะรับมือกับลองโควิดหรือไม่
ฟังดูเป็นคำถามที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัว แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่ป้องกันได้นะคะ
ทางเดียวที่เราจะไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาลองโควิดก็คือต้องป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อตั้งแต่แรกนั่นเองค่ะ
1
ในภาพใหญ่ เราจะต้องใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อลดการติดเชื้อให้เหลือ 0 เพราะเพียงเคสเดียวก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดครั้งใหม่ได้
สำหรับคนทั่วไปอย่างเราๆ เพื่อปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักจากไวร้สร้ายนี้ การใส่ #หน้ากากN95 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่าทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน อยู่ในที่ที่มี #การระบายอากาศดี อยู่เสมอ และ #ตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจโควิดแบบเร็ว (Antigen Test Kit: ATK) อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ก็เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ค่ะ
แล้วเราจะจับมือร่วมกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันนะคะ
ติดตามเราได้ที่
อ้างอิง
COVID-19: ICMR’s fourth sero survey finds 67.6% of Indians over age of six have antibodies
Two-thirds of Indians have coronavirus antibodies, survey shows
July 20, 2021
Covid vaccine: More than half of Indian adults have had first jab
นักวิจัยชี้ ตัวเลขชัดเจน ฉีดวัคซีนทั้งประเทศก็สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้
'Long COVID' ความจริงใหม่ที่สังคมต้องเตรียมรับมือกันไปยาวๆ
ไม่ใช่เรื่องเล็ก สหรัฐรับรองสิทธิผู้ป่วย 'โควิดเรื้อรัง' เทียบเท่าคนพิการ
The mystery of ‘long COVID’: up to 1 in 3 people who catch the virus suffer for months. Here’s what we know so far
โฆษณา