8 ก.ย. 2021 เวลา 07:20 • ความคิดเห็น
คำถามที่ดีและคำตอบที่ดีไม่อาจยุติแค่ตอนเกิดขึ้นมาละมัง คำถามที่พาไปสู่คำตอบได้ย่อมนับว่าดี เรียกว่าถามได้ไม่เลวนัก ถามอะไรขึ้นก็ได้ถือเป็นคำถามจุดประกาย คำตอบก็เช่นกันแม้คำตอบใดผุดออกมา ดีหรือไม่ ย่อมอาจพาคนอื่นหวนนึกถึงอะไรที่เขาเคยผูกพัน เคยข้องเกี่ยวทำหรือผ่านตาก็ฉุกคิดไอเดียที่พาไปสู่คำตอบเด็ดๆได้
บางคำตอบพาไปสู่คำถามใหม่ เหมือนการถางทางจากป่าค่อยๆ ราบจนกลายเป็นทางเดินแล้วขยายเป็นถนนใหญ่ได้... บางคำตอบล่อให้เกิดคำถามเหมือนเปิดประเด็นถามกลับถามแย้ง อาจดูเป็นคำตอบแบบคนโง่แต่เจ้าเล่ห์สิ้นดี เป็นเหมือนบทบาทฝ่ายค้านในเวทีโต้เวที (ค้านแค่บทบาท คนฝ่ายค้านอาจไม่เห็นด้วยกับหัวข้อที่ตั้งไว้) มีสำนวนอังกฤษด้วยนะ เป็นชื่อหนังด้วย Devil's Advocate* (คีนู รีฟ & อัล ปาชิโน)
1
ถามได้ดี ตอบได้ดี
อาจไม่มีเหตุมีผลที่ดีอะไรอยู่ในนั้น
แต่ที่ #ได้ดี เพราะจุดประกายใหม่ขึ้นมาได้
จึง #มีดี และ #ได้ดี
1
การระดมถามระดมตอบจึงมีดีแฝงอยู่อย่างนี้ ไม่ได้มีถามดีตอบดีจริงๆ หรอก แม้ถามแย่ตอบแย่ก็ไม่มีสาระที่จะต้องกลัวหรือต้องไปอายใคร มีแต่การร่วมขุดคุ้ยหาไอเดียเพื่อได้คำตอบที่เห็นชอบร่วมกัน
1
นักแก้ปัญหาจะชอบทุกคำถามและทุกคำตอบเสมอกัน แม้คำถามเชาว์ตลกๆ ตอบไปขำๆ ก็ฝึกสมองได้ทั้งนั้น คนเราจึงยังสนุกถามและสนุกตอบ เพราะมันน่าสนุก ได้สนุกคิด
1
ดังนั้น อย่ากลัวที่จะถามและอย่ากลัวที่จะตอบ.
สำนวนยกมา
*Devil's Advocate: เร็วๆนี้ได้ร่วมสนทนาในวงหนึ่ง แล้วรู้สึกว่าเนือยมากเลยนึกถึงสำนวนที่ว่า Play devil's advocate ขึ้นมา เวลาเราสนทนาถกเถียงกันแล้วเห็นใครๆก็เออ ออ ห่อหมกไปหมด เราอาจจะต้องเล่นบท Devil's Advocate บ้างนะครับ สำนวนนี้อธิบายยากสักหน่อย (มีต่อ)
(ต่อครับ) หมายถึงการที่เราสร้างข้อถกเถียงขึ้น เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาทั่วไป หรือการทำงาน มองในแง่ร้ายอาจะเหมือนการชวนทะเลาะ แต่ถ้าในทางธุรกิจแล้ว ทฤษฎีการ play devil's advocate นั้น (มีต่อ)
(ต่อครับ) เป็นข้อดี ที่จะทำให้เราได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง หรือกระตุ้นไอเดียของทีมงานได้ หลายครั้งที่หัวหน้างานก็ตั้งใจที่จะเล่นบทนี้ ถ้าใครอยากจะจำคำนี้ได้ดี วิธีง่ายๆ ก็ลองนึกถึง หนังดังในอดีตที่ คีนู รีฟส์ เล่นกับ อัล ปาชิโน เนื้อหาบ่งบอกความหมายของสำนวนนี้ได้ดีเยี่ยมเลยครับ
Credit: ศูนย์แปลเอกสาร kingtranslations
1
โฆษณา