8 ก.ย. 2021 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Android ระบบปฏิบัติการเปลี่ยนโลก...การตัดสินใจซื้อกิจการที่คุ้มที่สุดของ Google
ทุกวันนี้ มือถือ Android เป็นที่คุ้นเคยกันทั่วโลก และการที่เราได้มี Android ใช้กันอย่างกว้างขวางแบบนี้นั้น ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับการควบรวมกิจการของบริษัท Google และ บริษัท Android เมื่อ 16 ปีก่อน
1
Android ระบบปฏิบัติการเปลี่ยนโลก...การตัดสินใจซื้อกิจการที่คุ้มที่สุดของ Google
ในบทความนี้ Bnomics จะพาทุกท่านย้อนกลับไปดูการรวมตัวของทั้งสองบริษัทนี้ ที่นับว่าเป็นหนึ่งในการรวมตัวระหว่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดกัน
📌 ประวัติศาสตร์ของ Android
บริษัท Android นั้นถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2003 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย โดย Rich Miner Nick Sears Chris White และ Andy Rubin เป้าหมายช่วงแรกของบริษัท Android คือ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ (Operating System) สำหรับกล้องดิจิทัล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขนาดของตลาดกล้องดิจิทัลนั้นเริ่มหดตัวลง ทางบริษัทจึงหันมาทำระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน เพื่อขายให้ผู้ผลิตมือถือ แทน
1
จุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Android เกิดขึ้นในปี 2005 เมื่อบริษัท Google เห็นโอกาสในธุรกิจสมาร์ทโฟนและได้เข้าซื้อกิจการของ Android แต่นั่นเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้น เพราะหากจะขายระบบปฏิบัติการ Android ได้ บริษัทจำเป็นต้องหา
1
(1) ผู้ที่จะผลิตมือถือซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการนี้ และ
1
(2) บริษัทเทเลคอมผู้ให้บริการเครือข่ายที่จะขายโทรศัพท์ที่ผลิตมาให้ด้วย
1
เนื่องจากในยุคนั้น บริษัทเครือข่ายมีอำนาจในการควบคุมการขายมือถือ ตั้งแต่การตั้งราคา ไปจนถึงการโปรโมทสินค้า (เพราะหากไม่มีเครือข่าย โทรศัพท์ก็ใช้ไม่ได้) ซึ่งในตอนนั้น การหาผู้ผลิตโทรศัพท์นั้นง่าย แต่สมาร์ทโฟนยังคงดูไม่น่าสนใจสำหรับบริษัทเครือข่าย จึงทำให้ทุกเจ้าปฏิเสธข้อเสนอของ Google
2
ต่อมา ในปี 2007 ทุกอย่างก็เปลี่ยนเมื่อ iPhone เปิดตัวและเซ็นสัญญาผูกขาดกับบริษัทเครือข่าย AT&T ซึ่งทำให้บริษัทเครือข่ายรายอื่นๆ กลัวว่า AT&T จะครองตลาด Google จึงใช้โอกาสนี้ในการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร Open Handset Alliance ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น HTC Motorola Qualcomm หรือ T-Mobile เพื่อร่วมมือกันยับยั้งอิทธิพลของ Apple ท้ายที่สุด ในปี 2008 มือถือ Android เครื่องแรกอย่าง HTC Dream ก็ได้ถูกวางขายโดยบริษัทเครือข่าย T-Mobile
6
HTC Dream มือถือของ Android เครื่องแรกอย่างวางขายในปี 2008
ด้วยความที่ระบบปฏิบัติการ Android เป็นระบบเปิด ไม่เหมือนกับระบบปิดอย่าง iOS มันจึงเริ่มได้รับความสนใจจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการเครือข่ายมากขึ้น เพราะพวกเขาไม่ต้องกลัวว่า Google จะมีอำนาจในการควบคุมมือถือ Android มากเกินไป
1
ต่อมาในปี 2009 ซึ่งเป็นช่วงที่ iPhone กำลังครองตลาดสมาร์ทโฟนนั้น บริษัทเครือข่าย Verizon ได้ทุ่มทุนโฆษณามือถือ Android ในฐานะตัวเลือกใหม่แทนที่ iPhone และการโฆษณานี้บวกกับราคาที่ถูกกว่า ก็ทำให้มือถือ Android เริ่มโด่งดังอย่างรวดเร็ว
1
📌 ทำไม Google ถึงตัดสินใจซื้อ Android?
แน่นอนว่า Google เห็นถึงโอกาสในการขยายธุรกิจหลัก คือ โปรแกรมค้นหาข้อมูลออนไลน์ (Search Engine) และธุรกิจโฆษณา เพิ่มเติมไปยังผู้ใช้มือถือจากเดิมที่เคยเจาะกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างเดียว
1
แต่จากคำพยานบางช่วงในการไต่สวนคดีระหว่างบริษัท Google และ Oracle ในปี 2012 (ซึ่งเราจะไม่ลงรายละเอียด) ทำให้เราได้รู้ว่า อีกหนึ่งเหตุผลที่ Google ซื้อ Android ก็เพื่อลดอำนาจตลาดของ Microsoft ที่กำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows เพื่อใช้บนโทรศัพท์มือถือในขณะนั้น
3
Eric Schmidt ผู้เป็นประธานกรรมการบริหารของ Google ได้ให้การเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการซื้อบริษัท Android ว่า “…พวกเราค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับสินค้าของ Microsoft ซึ่งมันอาจจะฟังดูแปลกในปัจจุบัน แต่ในตอนนั้นเรากังวลมากว่ากลยุทธ์การเจาะตลาดมือถือของ Microsoft จะประสบความสำเร็จ…”
2
นี่ทำให้เราได้เห็นว่าการซื้อ Android ไม่ได้เพียงเป็นกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจและตลาด แต่เป็นการกีดกันคู่แข่งด้วย
📌 ทำไมการควบรวมกิจการครั้งนี้จึงถือว่าประสบความสำเร็จที่สุดสำหรับ Google?
(1) สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การรวมตัวครั้งนี้ช่วยทำให้ Google ขยายธุรกิจตัวเองได้อย่างกว้างขวาง
1
ทุกวันนี้ Android ก็กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีสัดส่วนในตลาดสมาร์โฟนมากที่สุดในโลก แซงหน้า iOS ของ Apple ไปแล้ว (แผนภูมิ 1) โดยล่าสุด Google ได้ออกมาประกาศว่าขณะนี้มีผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android มากกว่า 3,000 ล้านคนต่อเดือน
2
สัดส่วนตลาดระบบปฏิบัติการ (Oerating System) ทั่วโลก
(2) นอกจากนี้ การมีธุรกิจ Android จะทำให้ธุรกิจหลักของ Google ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้น
2
การมีระบบปฏิบัติการ Android บนมือถือนั้น นอกจากจะทำให้ Google สามารถขยายฐานลูกค้าได้แล้ว ยังทำให้สามารถตั้ง Google Search ให้โปรแกรมค้นหาข้อมูลหลักบนมือถือ Android ทุกเครื่องได้ด้วย
1
บริษัทสมาร์ทโฟนที่รองรับ Android ณ​ ปัจจุบัน
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ธุรกิจ Kamil Franek ได้คำนวนไว้ว่า กิจการ Android ช่วยให้ Google ประหยัดเงินในการจ้างให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใช้ Google Search เป็นโปรแกรมค้นหาหลักในโทรศัพท์ของพวกเขา ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้มีมูลค่าประมาณ 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนี้ Google ยังมีชุดแอพพลิเคชันของตัวเองที่ประกอบไปด้วยแอพพลิเคชันที่เราคุ้นเคย เช่น Play Store Gmail หรือ Google Map และข้อมูลพฤติกรรมที่ได้จากผู้ใช้แอพพลิเคชันเหล่านี้ ต่างก็ช่วยให้ Google สามารถยิงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นด้วย
1
โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา ธุรกิจโฆษณาของ Google ทำรายได้สูงถึงเกือบ 1.5 แสนล้านเหรียญ และตามคาดการณ์ของ eMarkter สัดส่วนของธุรกิจโฆษณาของ Google ในตลาดสื่อโฆษณาออนไลน์ทั่วโลกของ มีแนวโน้มแตะ 29% ภายในปี 2021 ซึ่งนี่จะทำให้ Google เป็นผู้นำในตลาดนี้
(3) อย่างสุดท้ายคือราคาที่ Google ซื้อ Android นั้นค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้
3
อย่างในปี 2005 Google ซื้อบริษัท Android ในราคาเพียงแค่ 50 ล้านเหรียญ ซึ่งราคานี้ก็ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาที่ Google ซื้อ Youtube (1,650 ล้านเหรียญ) หรือ Motorola (12,500 ล้านเหรียญ) มิหนำซ้ำการซื้อ Motorola ด้วยราคาสูงนั้นยังกลายเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่อีกด้วย เพราะในเวลาเพียงแค่สามปี Google ก็ได้ขายบริษัทนี้ให้กับ Lenovo ในราคาเพียง 2,900 ล้านเหรียญเท่านั้น
1
จากกรณีศึกษาครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าความสำเร็จจากการควบรวมกิจการนั้น อาจจะขึ้นอยู่กับโชคบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในการทำธุรกิจอะไรก็ตามให้สำเร็จนั้น ก็ต้องมีการมองการณ์ไกล มีความกล้าในการตัดสินใจ และมีความกล้าในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ อย่างในเรื่องนี้ ปรากฏการมือถือ Android มาจากการรวมตัวของสองบริษัทที่มีไอเดียธุรกิจแบบใหม่และมีความกล้าที่จะลงทุนเพื่อขยายธุรกิจเดิมของตัวเอง ในบทความหน้า Bnomics จะหยิบยกการควบรามกิจการที่น่าสนใจของบริษัทใด โปรดติดตาม
3
#Google #Android #ควบรวมกิจการ
#Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : บูชิตา ปิตะกาศ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
โฆษณา