9 ก.ย. 2021 เวลา 10:16 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
NO ONE KNOWS: EP.1
ถ้ามีคนชมคลิปนี้ถึง 5 ล้านวิว ผมจะถูกฆ่าตาย
ถ้าเป็นคุณจะคลิกเข้าไปดูหรือไม่?
คุณอาจจะคลิกหรือไม่คลิก
แต่คลิปที่จั่วหัวแบบนี้
มียอดวิวทะลุ 5 ล้านวิวภายใน 1 วัน
และทำให้ชายที่ชื่อ “นิค บรูเวอร์” ต้องตาย
Nick Death
ใช่ ตาย!!
คุณฟังไม่ผิดอย่างแน่นอน
ส่วนต่อจากนี้จะเป็นยังไง
ตามไปดูเต็มๆได้ในซีรี่ย์ Clickbait จาก Netflix
หรือไปอ่านเรื่องย่อก่อนรับชมได้ที่
กลับมาที่ประเด็นหลักของเรากันดีกว่า
ถ้ามีคนชมคลิปนี้ถึง 5 ล้านวิว ผมจะถูกฆ่าตาย
การพาดหัวคลิปแบบนี้
คุณคิดว่ามันน่าสนใจมั้ย?
มันน่าสนใจพอที่นิ้วน้อยๆของคุณจะกดเข้าไปดูรึเปล่า
มันน่าสนใจพอที่นิ้วทำงานก่อนสมอง
แม้ว่าทำให้คนต้องตาย คุณก็อยากจะลองสักครั้งหรือไม่?
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
ว่าการพาดชื่อคลิปนั้นเป็นเรื่องจริง?
ใช่ เราไม่มีทางรู้
เราไม่รู้หรอกว่า
หากเราคลิกเข้าไปดูคนในคลิปจะตายจริงหรือหลอก
แต่อย่างน้อยคลิปก็ทำให้เราอยากรู้
และคลิกเข้าไปดู
ซึ่งการพาดหัวในลักษณะนี้
เรียกว่า Clickbait
Click = คลิก
Bait = ล่อลวง ล่อเหยื่อ
Clickbait = ล่อให้คลิก
โดยเป้าหมายหลักของ Clickbait
คือ การดึงดูดความสนใจ
โดยใช้ความอยากรู้อยากเห็นของคน
ให้เข้ามาคลิกลิงก์
และแสวงหาประโยชน์
จากการโฆษณา
หรือสร้างความเสียหาย
โดยการแทรกไวรัสไว้ในลิงก์นั้น
หรือพูดได้ว่า
มันคือ การหาเงินด้วยความอยากรู้อยากเห็นของคน
คำถามคือ
ทำไมความอยากรู้อยากเห็นถึงมีอิทธิพลมากขนาดนั้น?
เพราะความรู้สึกเวลาสงสัยก็ไม่ต่างอะไร
กับ การมี sex เสพยา หรือฟังเพลงที่ชอบ
ซึ่งมันรู้สึกดีใช่มั้ยล่ะ?
จะไม่รู้สึกดีได้ยังไง
เพราะในขณะเวลาที่เราสงสัยนั้น
สมองจะมีกลไก “rewardind system”
สั่งการให้หลั่งสาร Dopamine ทำให้เรามีความสุข
จนเสพติด และเกิดเป็นพฤติกรรม
curiosity-seeking behavior
คือ พาตัวเองให้ไปอยู่ในสถานการณ์
ที่เกิดความสงสัยซ้ำแล้วซ้ำอีก
แต่!! ความสงสัยทำให้เราสุขจริงๆเหรอ
เคยสงสัย จนได้เลือด เอ้ย!
ได้เรื่องกันบ้างรึเปล่า?
เช่น
-อยากลองเอานิ้วไปแหย่พัดลมดูสักครั้ง
-ส่องเฟสแฟนเก่าที่กำลังหวานแหววกับแฟนใหม่
-อ่าน Negative Comment
-ดูหนัง โรคจิต ฆาตกรรมรุนแรง
เลือดสาด คอขาดบาดตาย
หรือ นั่งดูคลิปคนกดสิว
เป็นไงล่ะ แต่ละอย่างเจ็บๆทั้งงั้นเลย
รู้ว่าเจ็บ
แต่ก็อยากจะรู้ อยากจะลอง
ซึ่งความสงสัยเหล่านี้
เรียกว่า “Morbid curiosity”
แล้วทำไมเราจึงเสพติดความสงสัยแสนเจ็บปวดได้?
Professor Sparks ได้กล่าวว่า
ความเจ็บปวดก็เหมือนการนั่งรถไฟเหาะ
ความกลัว ความเครียด จะทำให้ หายใจเร็ว
กล้ามเนื้อหดตัว พอกลไกดังกล่าวสิ้นสุดลง
ความรู้สึกดีก็จะเข้ามาแทน
และนี่ก็ทำให้เกิดการหลั่งของ
สารอะดรีนาลีน เอนดอร์ฟิน โดพามีน
อย่างที่เรารู้กัน
ทุกสิ่งบนโลกนี้มีสิ่งที่ตรงข้ามกันเสมอ
ถ้าไม่เคยทุกข์ จะรู้จักคำว่าสุขได้อย่างไร
นอกจากนี้ Morbid curiosity
ยังนำไปสู่การยอมรับความตาย
ทำให้เห็นว่า ความตาย คือเรื่องธรรมดา
แต่ การยอมรับความตาย ไม่ได้หมายถึง
คุณจะยอมรับเมื่อคนรักตาย
แต่อย่างน้อยการยอมรับ
ก็ทำให้เรามีความสุขกับปัจจุบันมากขึ้น
-Caitlin Doughty-
การรับรู้ว่าความตายคือเรื่องธรรมดา
ก็ไม่ทำให้มนุษย์อย่างพวกเราหยุดสงสัย
เพราะร่างกายกับการตาย
เป็นเรื่องที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้
จึงไม่แปลกที่หนัง ซอมบี้ แวมไพร์ และยอดมนุษย์
จะได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
และสุดท้าย
ความสงสัยของมนุษย์ก็สามารถ
ใช้หาผลประโยชน์ได้เสมอ
คุณล่ะมีความคิดเห็นอย่างไร?
ชอบความรู้สึกที่ตัวเองสงสัยหรือไม่?
และอยากจะหาผลประโยชน์จากความสนใจมั้ย?
อย่าลืมคอมเมนต์แบ่งปันความคิดดีๆของคุณ
เพราะหนึ่งคำถามมีมากกว่าหนึ่งคำตอบ
ONE QUESTION NO ONE ANSWER
ONE|NO|ONE
ขอกราบขอบพระคุณข้อมูล(*˘︶˘*)
ที่ทำให้สมองอันน้อยๆงอกเพิ่มมากขึ้น
1. ซีรี่ย์ Clickbait
ลิมิเต็ดซีรี่ย์ 8 ตอน ที่พลิกแล้วพลิกอีก
ได้เห็นมุมมองความคิดทุกมิติของตัวละคร
สะท้อนสังคม สะท้อนตัวตน
และความไว้เนื้อเชื่อใจ
ที่ไม่อาจมองข้ามได้แม้กระทั่งคนใกล้ตัว
6.สงสัยในความสงสัย : ทำไมมนุษย์ถึงสนใจใคร่รู้
7.Morbid Curiosity ทำไมพวกเราขี้สงสัย ทั้งที่ผลลัพธ์คือ ความเจ็บปวด
8.Clickbait is Unreasonably Effective
9.คลิกเบต คืออะไร (Clickbait)
10.Clickbait ทำงานอย่างไร และทำไมเราจึงติดกับดักทุกครั้งไป
11.ทำความรู้จักกับ CLICKBAIT คือ? สื่อเว็บไซต์กับพาดหัวลวงให้คลิก
12.CQ: CURIOSITY QUOTIENT ความอยากรู้อยากเห็นที่นำไปสู่การเรียนรู้และอยู่รอด
13.5 Reasons Clickbait Is The Worst (And How It Will Negatively Impact Your Business)
15.Why Are We Morbidly Curious?
โฆษณา