9 ก.ย. 2021 เวลา 11:51 • สุขภาพ
บริษัท ประกัน ล้มได้ไหม
เป็นเรื่องที่ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะต้องเขียนบทความนี้เพราะด้วยความที่ตัวเองมี Job ที่ต้องเข้าไปดูงบบริษัทประกัน และ ศึกษาเกี่ยวกับ บริษัท ประกัน มาประมาณหนึ่งจึงพอเข้าใจ nature ของธุรกิจประกันอยู่บ้าง และ พอทราบว่ามี regulator ที่ค่อยกำกับควบคุมมากน้อยขนาดไหน
2
แต่วันนี้พอดีได้มีโอกาศไปเห็นไฟล์ parameter ในการทำ stress test ของ OIC แล้วนั้นก็น่ากลับมาทบทวน และคิดไม่ได้ว่า stress test ที่ทำกันไปเมื่อปีที่แล้วยังจะสามารถใช้ได้หรือไหม
1
อะไรคือ stress test
1
Stress test คืออะไร Stress test คือการจำลองสถาณการณ์ ที่คาดว่าจะเกิด แล้วนำมาจำลองเข้ากับงบการเงินของบริษัท หรือแม้แต่เรื่องอื่น ๆ
2
โดยธุรกิจที่เรามักเจอและพบกับคำว่า stress test กันบ่อย ๆ จะเป็นอุตสหากกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก หรือ มีความอ่อนไหวกับสภาวะเศรษฐกิจ
1
ก่อนจะเข้าสู่ประเด็นเรื่องบริษัทประกันล้มได้ไหม
1
ปรกติแล้วนั้นธุรกิจประกันภัยทำธุรกิจอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ถ้าเรามีลูกค้ามากพอ เราสามารถแชร์ความเสี่ยงของแต่ละคนออกไปได้ จนทำบริษัทมีประกันมีกำไร
ซึ่งหากเรามองที่ตัวเลขเงินยอดขายและปริมาณการเคลมเมื่อติด covid 19 จากข้อมูลของ TNN watch และ ประชาชาติธุรกิจ ประกอบกันแล้วแล้วนั้นจะได้ตารางข้อมูลดังนี้
2
ซึ่งจากตัวเลขแล้วนั้นจะเห็นได้ตัวเลขการเคลมประกัน Covid -19 นั้นเพิ่มขึ้นมาเกือบ 11 เท่าตัว ในขณะที่เบี้ยประกันรับนั้นแทบจะเปลี่ยนไปไม่ถึง 0.25 เท่าโดยปัจจัยหลักมาจากการพบผู้ติดเชื่อและการระบาดของเชื่อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
8
หากเราย้อนกลับไปดูประกัน Covid -19 โดยเฉพาะประกันประเภท เจอ จ่าย จบแล้วนั้น เราจะได้ตารางการเทียบดังต่อไปนี้
1
โดยหากย้อนกลับไปตัวเลขผู้ติดเชื่อสะสมระลอกที่ 3 ระหว่าง 1 เมษายน – 6 กันยายน 2564 นั้นพบผู้ติดเชื่อสะสม 1,265,659 คน หากเทียบกับจำนวนประชาชนชาวไทย ที่มีอยู่ที่ 70 ล้านคนแล้วนั้นเท่ากับว่า ร้อยละ 1.8 คน หรืออีกนัย คือ ทุก ๆ 100 คนจะมีคนติด covid -19 1.8 คน ซึ่งจะทำให้ตัวเลขสูงกว่าจุดคุ้มทุนของ บริษัทประกันถึง กว่า 3 เท่าตัว
2
หากจะถามว่าเกิดไรขึ้นทำไหมทำให้ บริษัทประกันภัย ตัดสินใจทำประกัน "เจอ จ่าย จบ"
2
ต้องย้อนกลับไปที่ธุรกิจประกันภัยนั้นเวลาทำการคาดการณ์หรือ ทำการออกผลิตภัณฑ์สัก หนึ่งอันแล้วนั้น จะต้องมีการใช้ข้อมูลย้อนหลังมาเป็นตัวคำนวณความคุ้มค่าในการออก
หากย้อนกลับไป ณ ช่วงเวลาที่ โควิท – 19 ระบาดใหม่ ๆ นั้นข้อมูลและแนวโน้มการระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยถือว่ามีตัวเลขการระบาดที่ค่อนข้างน้อย เลยทำให้การคำนวณ และ forecast อนาคตนั้น อาจจะมีข้อมูลไม่มากพอ จนทำให้มีการออกผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ขาดทุนได้เหมือน ณ ปัจจุบัน
1
ก็น่าติดตามกันต่อว่า วิกฤตปริมาณการเคลมประกันครั้งนี้จะรุนแรงจนถึงทำให้ บริษัทประกันล้มละลายได้เลยหรือไม่ และ ภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่กำกับ คปภ จะมีการติดตามและดูแลการออกผลิตภัฒเหล่านี้อย่างไรในอนาคต
3
กลับมาที่ stress test ของ OIC ทีต้องการจะพูดถึง
1
- การที่ให้บริษัท บ ประกัน เพิ่ม จำนวน case การตาย จากที่สามารถคำนวณ ได้นั้นเพิ่มไปอีก 1.5 คน ต่อผู้ติดเชื้อทุก ๆ 1,000 คน
- การเพิ่ม hospitalize rate เพิ่มจากที่ทางบริษัทคำนวณได้ขึ้นไปอีก 10% จากตัวเลขที่ นักคณิตศาสตร์ ประกันภัยคำนวณได้
2
ซึ่งจะเห็นได้ว่าทาง OIC และ คปภ เองก็มีการ เตรียมตัวและระวังกันพอสมควร แต่ซึ่งที่เกิดขึ้นคือ "คำว่าระวังตัว" ที่สะท้อนออกมาเป็นตัวเลขในการทำ stress test นั้นยังอาจจะเป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้มากพอที่จะสะท้อนความสามารถในการ รับ stress ของ บริษัท ประกันได้มากพอ กับสถาการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
1
โดย ภูเก็จ ทองสม
อ้างอิง
โฆษณา