10 ก.ย. 2021 เวลา 01:00 • ข่าว
รู้จัก JR Hokkaido KiHa 183
รถไฟผู้จุดกระแสความ ‘ดราม่า’ ในวันนี้
3
ถ้าไม่นับข่าวการเมืองวันนี้ คงจะมีอีกหนึ่งข่าวที่เป็นกระแสอย่างมากโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ กับการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท." จะนำรถไฟมือสองของญี่ปุ่นเข้ามา ซึ่งเป็นรถดีเซลรางปลดระวางเมื่อปี 2559 จาก "JR Hokkaido" จำนวน 17 คัน ในราคากลาง 42,500,000 บาท ซึ่งแม้ว่าญี่ปุ่นจะยกรถไฟให้ฟรีๆ แต่ฝั่งไทยก็ต้องมีค่าดำเนินการขนย้ายมาเองทั้งสิ้น
ซึ่งสังคมก็คงตั้งคำถามว่า รฟท. ไปรับเศษเหล็กที่ญี่ปุ่นไม่ใช้แล้วเข้ามาทำไม? ไม่มีปัญญาซื้อใหม่หรืออย่างไร? ชอบรับแต่ของเหลือที่เขาไม่เอาแล้วไม่ต้องเสียค่าทำลายสินะ? ส่งเศษขยะมาให้ไทยแทนนั่นแหละ และคอมเมนต์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็คนเข้าไปรุมด่า จนการรถไฟฯ ต้องออกแถลงการณ์ชี้แจงตามมา ซึ่งก็อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคนว่าจะเข้าใจในข้อมูลได้มากน้อยขนาดไหน
3
แต่ในบทความนี้คงจะไม่กล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นกระแสโต้เถียงกัน แต่จะพาไปรู้จักว่า รถไฟรุ่นดังกล่าวมีความน่าสนใจอย่างไร และเคยใช้งานในเส้นทางใดบ้าง รวมทั้งตอบคำถามที่ว่า ประเทศไทยไม่ซื้อรถไฟใหม่ๆ เข้ามาเลยเหรอ?
🔵 KiHa 183 สายถึกแห่งเกาะเหนือ ผู้ไม่กลัวอากาศสุดขั้ว
รถไฟดีเซลรางต้นเรื่องคือ "JR Hokkaido KiHa 183 Series" เป็นรถดีเซลประเภทด่วนพิเศษที่พัฒนาโดย "การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ Japanese National Railways (JNR)" มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศแสนทรหดในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นมันจึงมีความถึก และทนทานสูงเป็นจุดเด่น เพราะฤดูหนาวของฮอกไกโดนั้นเรียกได้ว่าอากาศหนาวเย็นรุนแรงสุดขั้วจริงๆ
1
แต่ก็มีอีกสายคือ JR Kyushu เกาะใหญ่ทางตอนใต้ของประเทศที่รถไฟรุ่นนี้ถูกใช้เป็นรถไฟนำเที่ยวเส้นทางไปชมภูเขาไฟอาโสะ หรือ "Aso boy" ซึ่งให้บริการจากสถานี Kumamoto - Miyaji
2
จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อ JNR มองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น "KiHa 80" ที่ใช้มานานจนเก่าแก่ และเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวเย็นสุดขั้วของฤดูหนาวในฮอกไกโด จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด ทั้งการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และห้องโดยสารที่ยกระดับความสวยงามทันสมัยในยุคนั้น พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183
1
โฉมของ KiHa 183 ถูกออกแบบสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี 1979 – 1991 โดยบริษัทร่วมทุนต่างๆ มากมาย รวมถึง Fuji Heavy Industries (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Subaru Corporation), Hitachi และ Niigata Tekkō ซึ่ง KiHa 183 เป็นรถรางดีเซลคันแรกที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภูมิภาคฮอกไกโด ทำความเร็วสูงสุดที่ 120 กม./ชม. พร้อมคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ช่วยให้สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นสุดขั้วทางตอนเหนือของญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี
ดีไซน์ของตัวรถไม่ได้ออกแบบให้แยกออกหรือเชื่อมต่อกับขบวนรถไฟอื่น และมีท้ายรถที่มีการออกแบบให้จมูกลาดเอียงโดยไม่มีประตูเดินผ่าน ซึ่งการออกแบบให้จมูกลาดเอียงก็เพื่อป้องกันหิมะไม่ให้เกาะติดกับด้านหน้าและด้านหลังของรถไฟ
5
KiHa 183 มีเครื่องยนต์ 220 แรงม้า แต่บางคันก็มีเครื่องยนต์ถึง 450 แรงม้า ขณะนี้ขบวนรถที่มีปลายจมูกแหลมเอียงทั้งสองด้านกำลังยกเลิกการให้บริการ แต่ก็ยังสามารถเห็นได้ในขบวนแบบรถด่วนพิเศษ Okhotsk ที่เหลืออยู่ไม่มาก
3
สำหรับ KiHa 183 ชุดแรก เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางโอโซระ ฮกไก โอค็อตสค์ และโฮคุโตะบนเส้นทางเซกิโช หลังจากนั้นก็มีการสร้างเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา
2
🔵 ใช้เวลาถึง 15 ปีในการทยอยปลดระวาง เพราะความอึด ถึก พังยาก
รถไฟรุ่นนี้ถือว่าเป็นรุ่นที่สร้างรากฐานให้กับการพัฒนารถไฟซีรีย์ใหม่ๆ ของ JR Hokkaido และด้วยจำนวนรถที่มีอยู่มากเพราะผลิตออกมาใช้งานเยอะ ทำให้การทยอยยุติให้บริการของรถไฟรุ่นดังกล่าวเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งใช้เวลานานถึง 15 ปี นับตั้งแต่ที่เริ่มปลดระวางประมาณปี 2001 – 2016
2
เนื่องจากรถไฟรุ่นนี้มีอายุช่วงเวลาการใช้งานที่ยาวนานมาก แถมมีความทนทานสูง ไม่พังง่าย และสมรรถนะยังดีเยี่ยม แม้จะผ่านการใช้งานและการซ่อมบำรุงมานับครั้งไม่ถ้วนก็ตาม เรียกได้ว่าเป็นสายถึกแห่งเกาะเหนือก็ว่าได้
แม้จะถึก ทน แต่การเป็นรถไฟจากเมืองหนาวที่วิ่งลุยหิมะมาทั้งชีวิต ก็มีความน่ากังวลในเรื่องของอะไหล่ในระยะยาวเช่นกัน เพราะถ้าหากมีการยุติให้บริการทั้งหมด ก็เท่ากับว่าอะไหล่ก็จะถูกหยุดผลิตไปด้วย และการขาดแคลนอะไหล่สำหรับรถไฟคือปัญหาอย่างยิ่งเมื่อถึงรอบของการซ่อมบำรุง
4
สิ่งที่ รฟท. มักชอบทำคือ การยำอะไหล่จากที่ต่างๆ เอามาทดแทนซึ่งแน่นอนว่ามันไม่เหมือนกับอะไหล่แท้ๆ ของรุ่นรถไฟนั้นๆ อยู่แล้ว แต่ก็ทดแทนได้เป็นบางส่วนแบบชั่วคราวไป ถ้าหาอ่ไหล่ไม่ได้ก็จอดตายซากนิ่งๆ ไว้รอวันผุ
1
แม้ว่าจะมีการดัดแปลงรถ KiHa 183 หลายคันเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์อื่นๆ ในระบบรถไฟของ JR Hokkaido ซึ่งส่วนใหญ่เปิดให้บริการในยุคหลังๆ บนเส้นทางจากสถานี Hakodate, Kushiro, Naebo และ Sapporo ขณะที่รถบางส่วนจะถูกส่งมอบมาให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งเมียนมาร์และประเทศไทย
1
โดยปกติแล้วการบำรุงรักษารถไฟของญี่ปุ่นค่อนข้างดีมาก แม้ว่ารถไฟคันนั้นจะให้บริการมายาวนานหลายสิบปี แต่สภาพทั้งตัวถัง เครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน และห้องโดยสารยังคงเหมือนใหม่ สะอาดเนี้ยบตามมาตรฐานญี่ปุ่น ดังนั้นแม้ว่าจะวิ่งมานับล้านๆ กิโลเมตร แต่เชื่อว่าสภาพทั้งภายนอกและภายในยังคงใหม่ไม่ต่างจากวันแรกที่ออกจากโรงงาน
3
หากรถไฟที่ถึงคราวต้องปลดระวางเพราะมีรถไฟรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทดแทน หรือจำเป็นต้องยุติการให้บริการลง ชะตาชีวิตรของมันก็มีสองทางให้เลือกคือ การทำลายทิ้งโดยเครื่องบดอัดแล้วนำวัสดุที่รีไซเคิลได้กลับมาใช้ใหม่ เช่น อะลูมิเนียม หรืออีกทางก็คือการส่งมอบให้กับประเทศกำลังพัฒนานำไปชุบชีวิตเพื่อใช้งานต่อ ซึ่งรถไฟโดยอายุจริงๆ แล้วสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 50 ปี ถ้าหากดูแลบำรุงรักษาอย่างดี ซึ่งในหลายประเทศของยุโรปก็ยังใช้รถไฟรุ่นเดียวกับที่รถไฟไทยใช้งาน หนึ่งในรุ่นที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ "British Rail Class 158" หรือที่เรียกกันติดปากว่า “รถด่วนสปรินเตอร์” ที่ให้บริการในไทยตั้งแต่ปี 1991 จนถึงปัจจุบันก็ร่วมๆ เกือบ 30 ปี และในประเทศอังกฤษที่เป็นต้นกำเนิดของรถด่วนสปรินเตอร์ ก็ยังให้บริการเช่นกันในทุกวันนี้
5
British Rail Class 158 (ภาพบน) อังกฤษ (ภาพล่าง) ไทย
🔵 ทำไมรับแต่ของมือสอง ของใหม่ทำไมไม่ซื้อ?
2
ที่จริงแล้วรถไฟของไทยมีทั้งที่รถซื้อใหม่ และรถไฟมือสอง ซึ่งรถไฟมือสองส่วนใหญ่แล้วจะนำเข้ามาในรูปแบบของตู้โดยสารเป็นหลัก ซึ่งก็มาจากประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้การรถไฟฯ เคยได้รับตู้โดยสารรถไฟจาก JR-West แล้วนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสาร และรถจัดเฉพาะ เช่น รถ SRT Prestige รถประชุมปรับอากาศ และรถโดยสาร ซึ่งบอกเลยว่าสวยกว่ารถไฟที่มีอยู่ทุกขบวนในไทยเวลานี้อีก
2
SRT Prestige
🔹️ ถามว่ามีรถที่นำเข้ามาแล้วจำเป็นต้องมาใช้งานแค่ในประเทศไทยอย่างเดียวหรือไม่?
คำตอบคือ 'ไม่' เพราะรถมือสองจากญี่ปุ่นก็เคยใช้ไทยเป็นเหมือนกับทางผ่านเพื่อการขนย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา เนื่องจากท่าเรือของไทยมีศักยภาพในการรับสินค้าขนาดใหญ่แบบนี้ได้กว่าท่าเรือของประเทศตัวเอง ดังนั้นรถไฟมือสองจากแดนซามูไร ก็ต้องผ่านท่าเรือแหลมฉบังก่อน แล้วค่อยเดินทางไปต่อยังจุดหมายปลายทางของมัน
2
🔹️ แล้วมีรถไฟมือสองที่นำเข้ามาในไทยแล้วจอดทิ้งไว้เฉยๆ จนหญ้าขึ้น เถาวัลย์พันรอบคันหรือไม่?
คำตอบคือ "มี" ซึ่งเป็นรถไฟล็อตก่อนหน้านั้นเมื่อ 5 ปีแล้ว โดยเป็นตู้โดยสารปรับอากาศ Hamanasu Blue Train รุ่น OHA 14/SUHAFU 14 จาก JR Hokkaido เช่นกัน จำนวน 10 คัน ที่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งตอนนี้จอดจมกอหญ้าอยู่ที่ สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้นำมาปรับปรุงเพื่อใช้งานเมื่อไหร่ จอดนิ่งๆ ผุๆ พังๆ อยู่ก็มีหลายคันเช่นกัน
3
รถที่เคยนำเข้ามาล็อตก่อหน้าจอดหญ้าขึ้นที่ศรีราชายังไม่ขยับไปไหนมา 4-5 ปีและยังไม่มีทีท่าว่าจะปรับปรุงใดๆ
สำหรับรถไฟใหม่มือหนึ่งนั้นก็เคยนำเข้ามาแล้วก่อนหน้านี้คือ ขบวนรถไฟด่วนพิเศษ (CNR) นำเข้าจากประเทศจีน ที่ให้บริการใน 4 เส้นทาง คือ
🔹️ เส้นทาง “อุตราวิถี” กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง “อีสานวัตนา” กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง “อีสานมรรคา” กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง “ทักษิณารัถย์” กรุงเทพ-หาดใหญ่-กรุงเทพ
1
ขบวนรถไฟด่วนพิเศษ (CNR) 4 เส้นทาง
เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2559 และวิ่งให้บริการในตู้โดยสารแบบชั้น 2 และชั้น 1
นอกจากนี้ในปีหน้ายังมีรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท ผลิตโดยบริษัท CRRC QISHUYAN CO., LTD. ผู้ผลิตรถจักรชั้นนำจากประเทศจีน จะเริ่มทะยอยส่งมอบเข้ามาประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ปีหน้า ซึ่งรถจักรดีเซลไฟฟ้าลอตแรกจะมาก่อน 20 คัน ซึ่งสมรรถนะของมันในการลากจูงขนส่งผู้โดยสารทำความเร็วได้สูงสุดสำหรับรถไฟที่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสำหรับขนส่งสินค้าใทำความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.
1
รถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คัน
ส่วนหัวรถจักรอีก 30 คันที่เหลือคาดว่าจะส่งมอบทั้งล็อตได้ในเดือนมีนาคม ปี 2023
ก็ถือซะว่าได้พามารู้จักกับ KiHa 183 กันแบบคร่าวๆ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งไม่ได้เกี่ยวว่าจะดราม่าไม่ดราม่า จะนำเข้ามาหรือไม่นำเข้ามาก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ให้รู้ว่ารถไฟรุ่นนี้มีลักษณะจำเพาะอย่างไร และด้วยคุณสมบัติของมันที่ทำให้หลายคนสนใจที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ รถไฟมือสองของเหลือจากประเทศอื่นๆ นั่นเอง
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
โฆษณา