10 ก.ย. 2021 เวลา 21:24 • การเกษตร
รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช วิจัยและประเมินนโยบายเกษตรของรัฐ 8 นโยบาย ซึ่งใช้งบประมาณ 221,337 ล้านบาทในช่วง 3 ปี (2560-2563) พบว่าเฉพาะ นโยบายการบริหารจัดการน้ำเท่านั้นที่เกษตรกรซึ่งเข้าร่วมมีรายได้สุทธิเกษตรเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ในขณะที่ 3 นโยบาย ได้แก่ แผนการผลิตข้าวครบวงจร การโซนนิ่งโดยใช้ Agri-Map และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร เกษตรกรมีรายได้ลดลง และ 4 นโยบาย ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) นโยบายแปลงใหญ่ มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์ และ โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรที่เข้าร่วมนโยบายกับไม่เข้าร่วมมีรายได้สุทธิไม่แตกต่างกัน
โดยรายได้สุทธิ การบริหารจัดการน้ำ เพิ่มรายได้สุทธิ 178,852 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ขณะที่ แผนการผลิตข้าวครบวงจร ลดรายได้สุทธิ 43,158 บาทต่อครัวเรือนต่อปี Zoning by Agri-Map ลดรายได้สุทธิ 32,976 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ธนาคารสินค้าเกษตร ลดรายได้สุทธิ 125,568 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ส่วนที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้รายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้รศ.วิษณุเสนอว่า ควรพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงนโยบายอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
เพราะนโยบายเกษตรช่วยลดภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรน้อยมาก และชี้ให้เห็นความสาคัญของทรัพยากรน้ำในการยกระดับสถานทางเศรษฐกิจของเกษตรกร แม้แต่โครงการที่ได้ประโยชน์เช่นการบริหารจัดการน้ำก็ยังต่ำอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดังนั้นควรหาแนวทางยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตใหม่ โดยเฉพาะการทำเกษตรผสมผสาน เพราะเกษตรผสมผสานหลายรูปแบบให้ผลตอบแทนสูงกว่าในระดับความเสี่ยงเดียวกับเกษตรเชิงเดี่ยว
โฆษณา