10 ก.ย. 2021 เวลา 21:33 • การศึกษา
เป็นเรื่องปกติครับ เเต่สำหรับผม ผมไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องเเย่นะครับ จะบอกว่าเป็นกลไกของร่างกายโดยธรรมชาติก็ไม่ผิดครับ
เเต่ผมมองว่า เราควรใช่ประโยชน์จากความขี้เกียจให้เป็นประโยชน์มากกว่าครับ
เพราะอะไร ผมอยากเล่าสู่กันฟังครับ
ทุกคนน่าจะเคยได้ยินกฎ 10,000ชม ใช่ไหม ที่เค้าบอกว่า ถ้าเราทำไรครบ10,000ชม เราจะเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ
ผมเอาคนมา 2คน ฝึกเขียนโปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาเเค่ 10ชม พอครับ
คำถามของผมคือ 2คนนี้จะได้ผลลัพธ์เหมือนกันไหม?
เเน่นอนว่าคำตอบ อาจจะเหมือนกัน หรือใกล้เคียง ไปจนถึงต่างกันโดยสิ้นเชิง
คนเเรกขยันมาก เเต่ขยันเเบบผิดๆ เช่น เขียนตัวเเปรเพื่อรับค่าข้อมูลบรรทัดต่อบรรทัด สัก1000คน
Ex.
first_name = “ตู่”;
second_name = “ป้อม”
third_name = “เเดง”
.
.
.
จนครบ 1000คน
คนที่สอง อาจจะเป็นคนที่ขี้เกียจ ไม่ได้ขยันมาก เลยสร้างตัวเเปร 1ตัว เพื่อเก็บค่าข้อมูลที่เดียวทั้งหมด หรือArray
Ex.
Total_name = [“ตู่”, “ป้อม” , “เเดง”,…]
* นี้เป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายให้เห็นภาพนะครับ
จะเห็นได้ว่า คนขี้เกียจบางที มักจะมีวิธีที่เจ๊งๆ มาตอบสนองพวกเค้า เเละมันมักจะเป็นวิธีที่ช่วยเเละประหยัดเวลาพวกเค้าอย่างมาก อีกทั้งมักจะสร้างสรรค์
คนที่ขยัน ใช่ว่าจะเป็นคนเก่งเสมอไปครับ
ขยันเเบบผิดๆ ก็ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเอาไว้เช่นกัน
เเละวิธีที่ขยันเข้าสู้ โดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีนั้น เค้าเเรกว่า การฝึกเเบบ Naive practice หรือเเปลว่าซื่อบื่อครับ
เพราะฉนั้น ผมคิดว่า เราควรจะมองความขี้เกียจใหม่ครับ ต้องขี้เกียจให้ถูก เเละใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด
ขยันก็ต้องขยันให้ถูกวิธีด้วย ไม่ใช่ขยันทำอย่างเดียว จนลืมให้ feed back ตัวเอง
โฆษณา