12 ก.ย. 2021 เวลา 03:51 • ประวัติศาสตร์
“เชาหระ (Jauhar)” ประเพณีการฆ่าตัวตายของสตรีชาวฮินดู
สำหรับวัฒนธรรมที่ยึดถือในเรื่องของ “ศักดิ์ศรี” มากกว่า “ชีวิต” การฆ่าตัวตาย ย่อมดีกว่าถูกศัตรูจับและทำให้เสื่อมเสียเกียรติ
เช่นญี่ปุ่นที่มักจะกระทำ “เซปปุคุ (Seppuku)” เพื่อรักษาเกียรติยศของตน และยังมีรายงานการฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติยศจากทั่วทุกมุมโลก
สำหรับทางเหนือของอินเดีย วรรณะ “ราชปุต (Rajput)” ซึ่งเป็นวรรณะชั้นสูง จัดอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ก็มีการฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติของตน
1
นั่นคือ “เชาหระ (Jauhar)”
สิ่งที่ทำให้เชาหระแตกต่างจากการฆ่าตัวตายที่ผ่านๆ มา นั่นก็คือ เชาหระนี้ไม่ใช่การฆ่าตัวตายของนักรบ หากแต่ผู้กระทำคือ “สตรี”
เมื่อเมืองหรือดินแดนของตนนั้นกำลังจะแพ้ เหล่าสตรีจะสวมชุดที่ใส่ในวันแต่งงาน และพาลูกๆ ของตนกระโดดเข้ากองไฟ โดยระหว่างนั้น นักบวชก็จะสวดมนต์ ส่งวิญญาณสตรีและลูกๆ ไปสู่สุคติ
1
เหล่าสตรีฆ่าตัวตายเนื่องจากแน่ใจว่าเมืองของตนนั้นต้องเสียแก่ศัตรูแน่ ดังนั้นจึงขอฆ่าตัวตายพร้อมลูก ดีกว่าถูกศัตรูจับเป็นทาสและขืนใจ
1
วันต่อมา บุรุษจะรวบรวมเถ้าถ่าน เศษกระดูกของสตรีและเด็กๆ และนำมาป้ายบนหน้าผาก ก่อนจะออกไปสู้รบ และเตรียมตัวตายในสนามรบ
เชาหระจะแตกต่างจาก “พิธีสตี (Sati)” ซึ่งเป็นการบังคับให้ภรรยาม่ายที่สูญเสียสามี กระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี แต่เชาหระนั้นไม่มีการบังคับ สตรีผู้นั้นเต็มใจที่จะตายดีกว่าเสื่อมเสียเกียรติยศ
สำหรับประวัติศาสตร์เชาหระ ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการบันทึกไว้ นั่นคือการรุกรานของ “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)”
ในเวลานั้น เมืองหนึ่งทางภาคเหนือของอินเดีย ได้ข่าวการมาเยือนของของกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ชาวเมืองกว่า 20,000 คนจึงจุดไฟ เผาเมือง กระโดดเข้ากองไฟเพื่อฆ่าตัวตาย ดีกว่าถูกศัตรูจับเป็นทาส
3
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
สำหรับเชาหระที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 14 โดยเมื่อกองทัพมุสลิมได้รุกราน สตรีจำนวนมากจึงได้กระทำเชาหระ ตามอย่าง “พระนางปัทมาวตี (Queen Padmavati)” ราชินีในยุคนั้น ซึ่งได้กระทำเชาหระเมื่อเมืองของตนกำลังจะเสียทีแก่ศัตรู และได้รับยกย่อง เป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้
พระนางปัทมาวตี (Queen Padmavati)
ในทุกวันนี้ เชาหระก็ยังเป็นที่พูดถึงและเล่าขาน และเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์อินเดีย
โฆษณา