18 ก.ย. 2021 เวลา 00:00 • ความคิดเห็น
ผู้อ่านบางคนอาจสงสัยว่าทำไมผมตั้งชื่อสำนักพิมพ์ว่า 113
เรื่องนี้เคยเล่าแล้ว แต่เขียนซ้ำให้คนที่ไม่เคยรู้มาก่อน
1
ตอนจะจดทะเบียนบริษัท ผมใช้เวลาคิดชื่อสำนักพิมพ์หนึ่งนาทียี่สิบสามวินาที
ไม่ต้องเสียเวลาดูฤกษ์ดูยามหรืออักษรมงคล ตั้งชื่อเป็นตัวเลขนี่แหละ ง่ายดี
ออกแบบโลโก้ก็ใช้เวลาห้านาที
แล้วทำไมต้องเป็น 113 ?
ตรงนี้ต้องเล่าย้อนเกร็ดการตั้งชื่อสำนักสถาปนิก บางคนอาจไม่สังเกต เคยได้ยินชื่อสำนักสถาปนิก A49 สำนักสถาปนิก 110 สำนักสถาปนิก 103 ไหมครับ?
หากสังเกตอีกจะพบว่ามีอย่างน้อยสิบกว่าสำนักที่ชื่อเป็นตัวเลข บางแห่งก็เลิกกิจการไปแล้ว
ทั้งนี้เพราะสำนักสถาปนิกสมัยก่อนนิยมตั้งชื่อสำนักเป็นตัวเลข
นี่ไม่ใช่เพราะศิษย์เก่าคณะสถาปัตย์ฯบ้าหวย แต่เดาว่าอาจตั้งตามเลชที่ซอย เช่น A49 น่าจะเคยอยู่แถวสุขุมวิท 49
ไปๆ มาๆ ก็กลายเป็น 'tradition'
แต่ผมไม่ได้ตั้งชื่อตามประเพณีนี้หรอกนะ
1
ชื่อสำนักพิมพ์ 113 มาจากบ้านเลขที่ 113 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 หาดใหญ่ สงขลา
2
บ้านเกิดของผม
เวลาบอกว่า 'บ้านเกิด' ผมหมายความตรงคำ เพราะผมเกิดในบ้าน ไม่ใช่โรงพยาบาล
1
สมัยนั้นเด็กส่วนใหญ่คลอดในบ้านที่แหละ หมอตำแยทำหน้าที่ทุกอย่าง
1
กรณีของผม หมอตำแยคงจะบ่นๆ เพราะผมเกิดตอนหกโมงเช้า แปลว่าหมอต้องมาทำงานโอทีล่วงหน้า ต้องมีคนก่อไฟต้มน้ำร้อนก่อน
1
สมัยนั้นไม่มีเตาแก๊ส จุดเตาด้วยฟืนต้องใช้เวลา
โทรศัพท์ก็หาทำยายาก ก็คงไปตามหมอตำแยมาจากบ้าน
ผู้หญิงสมัยก่อนไม่รู้จักการฝากครรภ์อะไรหรอกครับ ตั้งท้องแล้วพอครบกำหนด ก็เบ่งคลอด แล้วไปทำงานต่อ
ไม่มีเวลาพักนาน
คิดๆ ดู นักเขียนอาชีพก็เหมือนแม่บ้านนะ ตั้งครรภ์ทีละเรื่อง คลอดหนังสือทีละเล่ม
คลอดแล้วก็ไม่มีเวลาพัก ต้องรีบปฏิสนธิเรื่องใหม่ทันที ไม่งั้นไม่มี dak
3
เอาละ เริ่มต้นบทความด้วยชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเกร็ดการตั้งชื่อสำนักสถาปนิก ต่อด้วยหมอตำแย การจุดเตาด้วยฟืน และปฏิสนธิ
แล้วจะจบยังไงเนี่ย?
อ้อ! รู้แล้ว!
คิดๆ ดู นักเขียนอาชีพก็เหมือนแม่บ้านนะ ตั้งครรภ์ทีละเรื่อง คลอดหนังสือทีละเล่ม และยังต้องซักผ้า
[ติดตามข้อเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ ได้ทุกวันที่เพจ https://bit.ly/3amiAvG และ blockdit.com]
โฆษณา