13 ก.ย. 2021 เวลา 15:53 • อสังหาริมทรัพย์
รถไฟฟ้าสายสีแดง-ธรรมศาสตร์รังสิต
การอยู่หอพักยังจำเป็นและคุ้มค่าอยู่ไหม ?
Learn Form Home อาจจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
“Poomsp”
บทความโดยนักศึกษาจบใหม่ ปริญญาตรี
สาขา วิชา สถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
จึงส่งผลให้ นศ จำเป็นที่จะต้องเรียนผ่านรูปแบบออนไลน์
รวมไปถึงอาจารย์ และมหาวิทยาลัยที่ต้องปรับตัว (ให้ได้)
คำถามคือ ถ้าสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้น
นศ.ยังต้องกลับไปเรียนที่คณะ 100% เหมือนเดิมอยู่ไหม ?
รูป รส กลิ่น เสียง เสน่ห์ของการถ่ายทอดจะเปลี่ยนไป
มากน้อยแค่ไหน ?
คุณภาพการเรียนในบางวิชา..อาจมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง
แต่ในบางวิชาสามารถเรียนออนไลน์ได้เลย
ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตหลังสถานการณ์โควิด
อาจจะมีการเรียนการสอนที่คณะที่ลดน้อยลง
แล้วในบางวิชาเป็นการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์.
ประเด็นก็คือ...
ถ้าอนาคตอันใกล้นี้
หากรถไฟฟ้าสายสีแดงมาถึง ธรรมศาสตร์-รังสิต
การอยู่เช่าอยู่หอพักยังจำเป็นอยู่มั้ย ?
การเข้ามาของรถไฟฟ้าสายสีแดง
จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเดินทางมายัง มธ. รังสิต
ได้สะดวกรวดเร็วและมีตัวเลือกในการเดินทางที่มากขึ้น
ซึ่งอาจจะทำให้นศ.ที่อาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ในกรุงเทพฯ
มีความต้องการในด้านหอพักที่ลดน้อยลง
เพราะถ้าหากต้องเรียนที่แคมปัสที่ลดน้อยลง
ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่หอก็ได้
ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบเล่นๆดู ให้เห็นภาพ
โจทย์คือเฉพาะ คนที่อยู่บ้านกับพ่อแม่ในกรุงเทพฯ
ระหว่างอยู่หอกับอยู่บ้าน แบบไหนจะดีกว่ากัน
เทียบเรื่องค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยประมาณการ
ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกัน
บางคนอาจจะอยู่กับเพื่อน บางคนอาจจะอยู่กับแฟน
1-อยู่หอพัก
รวมแล้วทั้งสิ้น 20,000 บาท/เดือน
รายละเอียดคร่าวๆดังนี้
ค่าหอ 7,000 บาท
ค่าน้ำ/ไฟ 1,000 บาท
ค่าอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ 1,000 บาท
ค่าอาหาร 9,000 บาท
ค่าเดินทาง 1,000 บาท(นั่งมอไซต์)
อื่นๆ 1,000 บาท
2-บ้านกับพ่อแม่
รวมแล้วทั้งสิ้น 13,000 บาท/เดือน
รายละเอียดคร่าวๆดังนี้
ค่าหอ 0 บาท
ค่าน้ำ/ไฟ 0 บาท
ค่าอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ 1,000 บาท
อาหาร 6,600 บาท (บางมื้อกินกับพ่อแม่)
รถไฟฟ้าสายสีแดง 2,000 บาท (ปัดขึ้นจาก 1,848)
ค่าเดินทางไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดง 2,200 บาท
อื่นๆ 1,200 บาท
ค่าอาหารและค่าเดินทาง
คิดแค่ 22 วันเพราะเสาร์-อาทิตย์ สมมติว่าอยู่บ้าน
พอเทียบแบบไวไว
มีส่วนต่างระหว่างอยู่หอกับอยู่บ้านคือ 7,000 บาท
หรืออยู่บ้านถูกกว่า ประมาณ 35 %
คราวนี้ลองมาเทียบในมิติอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
1-เดินทางไป-กลับเพื่อเรียน(นาที)
อยู่หอ 10-20 นาที
บ้านกับพ่อแม่ 40-60+ นาที
2-การฝึกให้รู้จักบริหารค่าใช้จ่ายทั้งหมด
อยู่หอ
ได้ฝึกบริหารค่าใช้จ่ายเกือบจะ 100%
เตรียมความพร้อมใช้ชีวิตจริงตอนทำงาน
อยู่บ้านกับพ่อแม่
ได้ฝึกบริหารค่าใช้จ่ายแค่บางส่วน
เพราะบางอย่างพ่อแม่ ยังจ่ายให้อยู่
สรุปง่ายๆก็คือ
1-อยู่หอ
มีดีด้านมิติเวลา
อธิบายง่ายๆว่า ได้เวลาว่างกลับคืนมา
เดือนละ 900-1200 นาที
หรือ 15-20 ชั่วโมง
2-อยู่บ้าน
มีดีด้านมิติค่าใช้จ่าย
ประหยัดกว่า 7,000 บาท ต่อเดือน
เงินตรงนี้หากพิจารณาเก็บ
ปีที่ 1 ละ 84,000 บาท
ปีที่ 4 สะสมได้ 336,000 บาท
ปิดท้าย
1
ถ้ามองในภาพรวม
การอยู่หอพักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการอยู่บ้าน
(สำหรับคนที่มีบ้านในกรุงเทพฯ)
แต่ก็แลกมาด้วยความสะดวกรวดเร็วที่มากกว่าอยู่บ้านเช่นกัน
และสังคมต่างๆในแง่การฝึกวิชาใช้ชีวิตที่ต้องบริหารด้วยตัวเอง
คำถามคือ
หอพักยังจำเป็นอยู่ไหม ในอนาคต
กับการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปในอนาคต ?
ใครอยากอุดอนุนธุรกิจส่วนตัวน้องได้
ฝากร้านใน Comment
(ไม่เกี่ยวกับเพจแต่อย่างใด)
"Opportunity is EVERYWHERE,
if you look closely"
เรียบเรียงโดย Land Everywhere
โฆษณา