14 ก.ย. 2021 เวลา 01:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โรงงานทั่วโลกประสบกับปัญหาการขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
10
โรงงานทั่วโลกประสบกับปัญหาการขาดแคลนสินค้า
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อส่งผลทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สะดุด ดัชนี Global PMI ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ 54.1 ในเดือนสิงหาคม ทำให้เกิดความกังวลว่าการผลิตที่ซบเซาจะซ้ำเติมความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากอุปสงค์ที่หดตัวลง
1
ในช่วงสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของโลก ดังจะเห็นได้จากประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ที่ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภูมิภาคอาเซียนได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจากการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า การล็อคดาวน์และข้อจำกัดทางสังคมที่เข้มงวดขึ้นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดทำให้โรงงานในหลายประเทศต้องปิดตัวลงชั่วคราวหรือลดกำลังการผลิต
1
โดยในประเทศเวียดนาม IHS Markit PMI ลดลงเหลือ 40.2 ในเดือนสิงหาคมจาก 45.1 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงเดือนที่ 3 ติดต่อกันและเป็นระดับที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2563 ด้วย ส่วนประเทศไทย PMI ก็ลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ 48.3 ในเดือนสิงหาคมจาก 48.7 ในเดือนกรกฎาคม
1
PMI ภาคการผลิต
การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า เป็นผลต่อเนื่องจากโควิด-19 เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ยังคงไปค้างที่ศูนย์กลางการนำเข้าที่สำคัญ เช่น สหรัฐฯ ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์หายากขึ้น ส่งผลให้ราคาตู้คอนเทนเนอร์สูงขึ้น ดัชนีคอนเทนเนอร์โลกของ Drewry เพิ่มขึ้นแตะระดับ 9,987.27 ดอลลาร์ต่อคอนเทนเนอร์ 40 ฟุต เพิ่มขึ้น 344% YoY ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากเอเชียเพิ่มขึ้น และระยะเวลาในการขนส่งเพิ่มขึ้น
1
อีกปัจจัยที่ทำให้อุปทานสะดุดมาจากผลของโลกร้อน เช่น ภัยแล้งในบราซิล และน้ำท่วมในจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตของกาแฟ น้ำตาล และอะลูมิเนียม
3
ค่าขนส่งสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดัชนีราคาของที่ออกจากประตูโรงงานที่จีนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเฟื่องฟูของสินค้าโภคภัณฑ์ ค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการระบาด เพิ่มความกดดันให้กับราคาผู้บริโภคทั่วโลก การเพิ่มขึ้นของ PPI เกิดจากต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น ถ่านหิน สารเคมี และเหล็กกล้า
รัฐบาลจีนจึงมีการออกมาตรการในการชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว เช่น การเพิ่มอุปทานเพื่อลดการกักตุน และการปล่อยน้ำมันดิบจากแหล่งสำรองของประเทศเพื่อบรรเทาความเครียดให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น
1
ราคาโรงงานในจีนที่พุ่งสูงขึ้นกดดันราคาผู้บริโภคในต่างประเทศ
อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รองลงมา คือ รองเท้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและเครื่องดื่ม IT และการผลิตอิเล็กทรอนิกส์
1
รวมถึงการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ที่เกิดจากความต้องการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สูงขึ้นจากผู้ที่ทำงานจากที่บ้านในช่วงล็อกดาวน์
นอกจากนี้ จากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในประเทศผู้ผลิต เช่น มาเลเซียและเวียดนาม ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ (เดมเลอร์, เมอร์เซเดส เบนซ์ และโฟล์คสวาเกน) เชื่อว่าปัญหาการขาดแคลนชิปจะเริ่มน้อยลงเมื่อการแพร่กระจายของ COVID-19 ลดลง
2
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนชิปนี้ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องทั่วโลก ในปีนี้ อุตสาหกรรมอาจจะจะสูญเสียยอดขายถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์
การผลิตที่มีการสะดุดจากสภาพอากาศเลวร้าย จะค่อยๆ ดีขึ้น และในขณะที่ภาคบริการของประเทศเศรษฐกิจหลักกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลง
1
ธนาคารกลางในหลายประเทศได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อแล้ว เช่นเกาหลีใต้ (จาก 0.5% เป็น 0.75%) รัสเซีย (จาก 5.5% เป็น 6.5%) และบราซิล (จาก 4.25% เป็น 5.25%) แม้ว่า FED และ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์ โดยระบุว่าจะเริ่มลดการซื้อสินทรัพย์ก่อนสิ้นปี 2021 เพื่อแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ
5
#SupplyShortage #ขาดแคลนวัตถุดิบ #ของแพง #สภาพเศรษฐกิจไทย #ประเทศไทย #PMI #การส่งออก #ดัชนีการลงทุน #Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน
ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ :
ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
1
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา