6 ต.ค. 2021 เวลา 11:18 • สุขภาพ
ไม่ได้เจอกันนานนะคะ เพื่อน ๆ ทุกคน
ยังจำกันได้ไหม?
วันนี้รู้สึกฤกษ์งามยามดีเหมาะที่จะ...แชร์ความสุขให้กันและกัน
ภาพถ่าย ROMAN ODINTSOV จาก Pexels
ตั้งแต่มีโควิด ระลอก 3 เป็นต้นมา ดิฉันกับลูกก็ไม่ค่อยได้เจอกัน หลายเดือนแล้ว
(ลูกอยู่อพาร์ทเม้นท์ ดิฉันอยู่บ้าน)
เมื่อต้นเดือนลูกก็ย้ายไปอยู่กับเพื่อนที่พัทยา ส่วนดิฉันยังต้องอยู่ที่ กทม.
ซึ่งไกลกันมากกว่าเดิมอีก 🥺
ครั้งสุดท้ายที่เจอลูก ก็ช่วงปลายเดือนสิงหาคม เค้าซื้อของที่จำเป็นมาไว้ให้
ได้เจอกันไม่ถึง 10 นาที...แค่จะกอดลูก
ก็ยังทำไม่ได้ เพราะต้องรักษาระยะห่าง เพื่อความปลอดภัยทั้งดิฉันและเค้า 😷
ก็เลยหาวิธี ที่จะอยู่กับตัวเองยังไง
ให้ไม่ทุกข์และมีความสุขได้ โชคดีไปเจอบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง อ่านแล้วสบายใจ และได้ความรู้ จึงอยากแบ่งปัน
ให้เพื่อน ๆ ค่ะ
8 เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนแห่งความสุข 💞
1. การออกกำลังกาย 🏃‍♀⛹️‍♀🚴‍♂
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม ยังสามารถกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกายได้หลายชนิด เช่น
โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) 
ฮอร์โมนที่สำคัญต่อการซ่อมแซมและเสริมสร้างร่างกาย
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) 
ฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
อินซูลิน และไทรอยด์ฮอร์โมน (Insulin and Thyroid Hormone) ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลและกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย
นอกจากนั้นการออกกำลังกาย ยังสามารถกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น
โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนทำให้รู้สึกดี หากมีรูปร่างหรือน้ำหนักเป็นไปตามเป้า จะยิ่งทำให้ฮอร์โมนชนิดนี้หลั่งออกมามากขึ้น
เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนที่ลดอาการซึมเศร้า
เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ฮอร์โมนแห่งความสุขที่สามารถลดอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บได้ เพราะมีโครงสร้างทางเคมีบางส่วน คล้ายมอร์ฟีนที่เป็นยาแก้ปวด
2. กิจกรรมพาสุขและรอยยิ้มคลายเศร้า
🚣‍♀🚣‍♂ 💆‍♂💆‍♀ 🧗‍♂🧗‍♀
การได้ออกไปเที่ยวตามที่ต่างๆ การนวดผ่อนคลาย  หรือหากิจกรรมที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะได้ ไม่ว่าจะเป็นกับคนในครอบครัว เพื่อนหรือคนรัก ก็สามารถกระตุ้นให้ร่างกาย เกิดความผ่อนคลายจากงานประจำ หรือปัญหาที่พบเจอได้
นอกจากนั้นการฝืนยิ้มกับตัวเองในยามที่เจอปัญหา จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข ที่ชื่อ เซโรโทนิน
และเอนดอร์ฟิน ออกมาได้เช่นกัน
3. รับแสงแดดอ่อนๆ 🌇🌄
นอกจากการรับวิตามินดีจากอาหารจำพวกปลา ตับปลา และไข่แดง  การให้ร่างกายได้รับแสงแดด ตอนเช้าตรู่ หรือช่วงเย็น
(ที่ไม่ใช่ช่วง 10.00-15.00 น.) ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้ทางผิวหนังเช่นกัน  วิตามินดีนอกจากจะช่วยในเรื่องความแข็งแรงของกระดูก กระตุ้นภูมิต้านทาน ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน(Serotonin) ทางอ้อมได้
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ลดอาการซึมเศร้า
4. กินช็อกโกแลตบ้าง 🍫
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทาน
ดาร์กช็อกโกแลตประมาณ 50-100 กรัม ( ให้พลังงาน 300-600 แคลอรี่) 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ไม่ทานเลย
เนื่องจากสารสำคัญในช็อกโกแลตช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสมดุลและเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือดหัวใจ และการกินช็อกโกแลตให้มีประโยชน์สูงสุด ควรเลือกดาร์กช็อกโกแลต  (Dark Chocolate) ที่ผลิตจากผลโกโก้ที่ได้มาตรฐาน คือมีปริมาณของโกโก้สูง 70-85%
แม้ดาร์กช็อกโกแลตจะมีส่วนผสมของน้ำตาลและนมน้อยมาก  แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอยู่เลย ดังนั้นจึงควรกินช็อกโกแลตในปริมาณที่เหมาะสม
5. เน้นอาหารที่เป็นแหล่งทริปโตเฟน
🍌🍖 🥩🥚
ทริปโตเฟน (Tryptophan) คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารอื่น พบได้ในนม เนย ไข่แดง เนื้อสัตว์ ปลา ไก่งวง ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ อินทผลัมแห้ง กล้วย คอตเทจชีส
(Cottage Cheese) และอาหารที่มีโปรตีนสูงทุกชนิด ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างสารเซโรโทนิน (Serotonin) หรือสารสื่อประสาทที่ช่วยทำให้เรามีความสุข  นอกจากนั้น ทริปโตเฟนยังทำงานร่วมกับกรดโฟลิกและธาตุเหล็ก ในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงอีกด้วย
6. เล่นกับสัตว์เลี้ยง 🐱🐶
หลายครั้งที่พบว่าผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีความเครียดสะสมน้อย การเล่นกับสุนัขและแมว หรือสัตว์เลี้ยงที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงได้ อาจช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความสุขได้หลายชนิด เช่น เซโรโทนิน และออกซิโตซิน ( Oxytocin คือฮอร์โมนที่เกิดจากความรักและความผูกพันธ์)
1
7. กอดหรือจูบกับคนที่เรารัก 💑👩‍👦
การกอดและจูบในมนุษย์ ทางพฤติกรรมสื่อถึงการแสดงออกในเรื่องของความรัก ความเมตตา ความปรองดอง และความใคร่ ซึ่งเรามักจะทำกับคนรัก ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาได้หลายชนิด เช่น
ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ความเคลิบเคลิ้ม
ฮอร์โมน โดพามีน (Dopamine) ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเราเจอสิ่งที่พอใจ ทำให้เราเกิดความรู้สึก สุข สนุก ใจเต้นแรง
ฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพัน สร้างความรักเดียวใจเดียว
8. การทำสมาธิ 🧘‍♂🧘‍♀
สมาธิ เป็นวิธีแห่งการพักใจหลังจากถูกอารมณ์ต่างๆ โจมตีสะสมมาแล้วทั้งวันเพราะหลังจากนั่งสมาธิไปสักระยะ อย่างน้อย 30 นาที ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่หลั่งออกมาเวลาเครียด จะลดลง ซึ่งเกิดจากผลของ ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หลั่งออกมาหลังจากนั่งสมาธิ สารตัวนี้นอกจากจะเป็นสารแห่งความสุขแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายสดชื่น อ่อนเยาว์ และมีภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยปรับคลื่นสมองไม่ให้ยุ่งเหยิงและนอนหลับสบายได้อีกด้วย
ขอขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ จาก
นพ. ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท
สมิติเวช สุขุมวิท
บทความเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563
โฆษณา