14 ก.ย. 2021 เวลา 12:11 • ท่องเที่ยว
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เดิมชื่อโรงพยาบาลรถไฟ ตั้งอยู่ที่ 700 ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ได้เปิดดำเนินกิจการโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2459
โดยมี ร.อ.เกรียงไกร หอมเศรษฐี เป็นหัวหน้าสำนักงานแพทย์ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มีนายแพทย์เจริญ พุทธสุวรรณ เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการโรงพยาบาลรถไฟ
ในเวลาต่อมาคณะกรรมการรถไฟฯได้พิจารณาร่วมกันเห็นว่า เพื่อให้ภาพพจน์ในการให้บริการด้านการแพทย์ของรฟท.แก่ประชาชนที่ออกไปสู่สายตาบุคคลทั่วไปเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมขอองประชาชนท่าใช้บริการ จึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ โรงพยาบาลรถไฟเสียใหม่ โดยเห็นสมควรใช้ชื่อตามเชื้อพระวงศ์ของเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน การรถไฟฯ จึงมีหนังสือถึงพระโอรส หรือพระธิดาของเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพื่อขอคำแนะนำในการตั้งชื่อโรงพยาบาลรถไฟ ผู้ว่าฯรฟท.และคณะได้เข้าเฝ้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาของเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพื่อขอคำแนะนำในการตั้งชื่อโรงพยาบาลรถไฟที่เหมาะสม
ซึ่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เห็นสมควรให้ใช้ชื่อว่า “โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร” ซึ่งเป็นพระนามของพระบิดา โรงพยาบาลรถไฟได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2539
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาโรคประจำอยู่ที่โรงพยาบาล และได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากข้างนอกในหลายสาขาวิชามาเป็นนายแพทย์ที่ปรึกษาเฉพาะโรคให้บริการตรวจรักษาผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วๆไป
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร หรือ โรงพยาบาลรถไฟ เคยใช้เป็นโลเกชั่นถ่ายภาพยนตร์สยองขวัญหลายเรื่อง เช่น กระสือวาเลนไทน์ บ้านผีสิง เนื่องด้วยสภาพย้อนยุคและบุคคลในโรงพยาบาลแห่งนี้ มีความเกี่ยวข้องกับคดีสะเทือนขวัญที่เป็นข่าวใหญ่ถึง 3 คน คือ นพ.อธิป สุญาณเศรษฐกร คดีพยาบาลนวลฉวี นายเสริม สาครราษฎร์(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นนายไชยา ตันทกานนท์) คดีเจนจิรา และนพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ คดีพญ.ผัสพร
โฆษณา