15 ก.ย. 2021 เวลา 08:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
JAL123 ตกได้อย่างไร? แบบละเอียดตั้งแต่เครื่องออกจนถึงผลของการสืบสวนสอบสวน
การศึกษาอุบัติเหตุเก่าๆเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ทำให้เรามีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการบินและการป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
และที่เป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะวันที่ 12 สิงหาคม 2528 (ผมยังไม่เกิดเลยแหะ)
เที่ยวบิน JAL123 ของ Japan Airline กำหนดการ เดินทางจาก ฮาเนดะ,โตเกียว ไปยัง โอซาก้า ในประเทศญี่ปุ่น เกิดอุบัติเหตุอันทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 520 คน และมีผู้รอดชีวิต 4 คน
มารับรู้เหตุการณ์อย่างละเอียดกันดูครับ……..
Yutaka Sasaki ผู้เป็นนักบินผู้ช่วยอาวุโส นั่งในที่นั่งฝั่งซ้ายของกัปตัน เพราะวันนี้คือวันตรวจสอบครั้งสุดท้ายก่อนการขึ้นเป็นกัปตัน และมีกัปตัน Masami Takahama นั่งในฝั่งขวาที่นั่งของนักบินผู้ช่วย เป็นผู้ตรวจประเมินการบินครั้งนี้ด้วย
หลัง Take off เครื่องบินเริ่มไต่ระดับไปที่ 24,000 ft แต่หลังจากออกบินได้เพียง 12 นาที เที่ยวบินก็ได้แจ้งเหตุฉุกเฉินกับ ATC Tokyo เพื่อขอบินกลับสนามบินฮาเนดะ
 
แต่หลังได้รับคำสั่งให้บินกลับเที่ยวบิน JAL123 ก็ยังคงบินห่างฮาเนดะไปเรื่อยๆ และเหมือนความสูงของเครื่องก็ไม่สามารถควบคุมได้ และ กัปตันได้บอก ATC ว่าพวกเค้าไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้
กัปตันยังคงพยายามที่จะกลับไปลงที่ฮาเนดะให้ได้ เพราะว่าเครื่องบิน Jumbo jet นั้นไม่ใช่ว่าจะลงฉุกเฉินที่ไหนก็ได้ แต่กัปตันยังคำนึงถึงความยาวของรันเวย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการจอดฉุกเฉินอีกด้วย แต่พวกเค้าก็ยังไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้
ATC จึงได้ติดต่อสนามบิน โยโกตะ Yokota ซึ่งเป็นสนามบินของฐานทัพสหรัฐ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีลงฉุกเฉิน ไว้ด้วย ซึ่งสนามบินดังกล่าว ไม่ได้ไกลจาก ฮาเนดะมากนัก
แต่หลังจากความพยายามหาทางนำเครื่องบินกลับมาลงจอดฉุกเฉินให้ได้ จนกระทั่งเวลา 18.56 น. สัญญาณของเครื่องบินก็หายไปจากจอเรดาห์เสียแล้วครับ
เครื่องบิน JAL123 ได้ตกลงแล้วที่ภูเขาโอซูทากะ จนเกิดไฟลุกไหม้ขนาดใหญ่ หลังการตกกว่า 2 ชั่วโมง เครื่องบินตรวจสอบของญี่ปุ่นแจ้งข่าวสารอันน่าเศร้า คือ ไม่พบสัญญาณของผู้รอดชีวิต
ภาพตำแหน่งที่ตกและจุดหมายปลายทางของ JAL123
การกู้ภัยจึงเริ่มต้นในวันต่อมาอย่างยากลำบาก เพราะต้องเดินเท้าเข้าไปจุดเกิดเหตุโดยเดินข้ามผ่านภูเขากว่า 1 ลูก การเข้าช่วยเหลือและสำรวจ พบว่า มีผู้เสียชีวิต 520 คน และผู้รอดชีวิต 4 คน จากจำนวน 524 ชีวิตทั้งหมดบนเครื่อง
แต่รู้หรือไม่ครับ ผู้รอดชีวิตทั้ง 4 คน นั่งอยู่ในตำแหน่งของท้ายลำทั้งหมด
ข้อมูลจากผู้รอดชีวิตพบว่ามีการเกิดเสียงระเบิดดังขึ้นที่ท้ายเครื่อง
ภาพตำแหน่งที่นั่งของผู้รอดชีวิต (สีม่วง)
ข้อมูลจากกล่องดำและเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินที่ถูกถอดรหัสได้นั้น พบว่า มีเสียงระเบิดถึง 2 ครั้งและนักบินพยายามตรวจสอบและแก้ไขทันที วิศวกรบนเครื่องแจ้งว่าระบบไฮดรอลิคทั้งหมดได้สูญเสียความดันไปแล้ว ทั้ง 4 ระบบ
คลิปเสียงในห้องนักบินถูกปล่อยออกมาในสื่อสาธารณะหลังการตรวจสอบด้วยนะครับ แต่อยากบอกว่าใครไม่พร้อมหรือกลัวหดหู่อย่าหาฟังเลยครับ แต่คลิปเสียงก่อนตกนี้ก็บ่งบอกถึงนักบินที่กำลังแก้ไขอย่างสุดความสามารถจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายของชีวิต
การสืบสวนต่อมาพยายามหาสาเหตุว่าเครื่องตกได้อย่างไร จนมีภาพหนึ่งจากช่างภาพที่ถ่ายได้ก่อนเครื่องตก แม้จะไม่ชัดแต่พบว่า ส่วนของ Stabilizer หรือช่วงหางของเครื่องบินได้หักออกและหายไปแล้ว ซึ่งสุดท้ายชิ้นส่วนนี้ถูกพบตกที่อ่าวซากามิ
ภาพเหตุการณ์จริงที่ช่างภาพถ่ายได้ก่อน JAL123 ได้ตกลง
การสูญเสียส่วนหางที่เป็น Vertical stabilizer ออกไป ทำให้การควบคุมเครื่องบินในแนวการ Yaw หรือ ขยับหัวไปทางซ้ายหรือขวาไม่ได้นั่นเอง
การตรวจสอบซากเครื่องบินพบว่า มีแผงกั้นที่เกิดความล้าสะสมอย่างต่อเนื่องจากการใช้งาน ทำให้ผนังระเบิดออกและสูญเสียความดันในทันที นี่คือการระเบิดครั้งแรก อีกทั้งการสืบสวนยังไม่พบว่าเป็นการก่อการร้ายหรือพบองค์ประกอบของวัตถุระเบิด
แต่สาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้เครื่องบินไม่สามารถควบคุมได้นั่นเป็นเพราะ ท่อของระบบไฮดรอลิคที่ช่วยให้นักบินสามารถควบคุมอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนที่ของเครื่องบินได้นั้น ถูกออกแบบให้วางพาดผ่านในช่วงผนังท้ายเครื่องบินด้วย ทำให้เกิดความเสียหายหลังจากการระเบิดและส่งผลให้ไม่สามารถคบคุมเครื่องได้
แต่เสียงของการระเบิดครั้งที่สองนั้นมาจากผลของการระเบิดผนังในครั้งแรก อากาศที่ไปอัดกันจนมีแรงดันสูงบริเวณแพนหางดิ่งของเครื่องจนเกิดระเบิดทำให้แพนหางส่วนดังกล่าวหลุดออกไป
ภาพแสดงสาเหตุของการระเบิดทั้ง 2 ครั้งที่ต่อเนื่องกัน
นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องด้วยสภาวะปกติอีกต่อไป นั่งบินพยายาม ใช้การเร่งและผ่อนเครื่องยนต์ฝั่งซ้ายและขวา ในการช่วยควบคุม หรือเลี้ยว แต่การตอบสนองก็เป็นไปได้ไม่ดีนัก อีกทั้งการเร่งๆผ่อนๆ ก็ยังส่งผลต่อแรงยกที่เกิดขึ้นทำให้ควบคุมควมสูงให้คงที่ไม่ได้อีกด้วย
1
ห้องโดยสารได้สูญเสียความดันไปแล้ว ดังนั้นนักบินต้องลดระดับลงให้ต่ำกว่า 10,000 ฟุต เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถหายใจได้ ในขณะเดียวกันเครื่องบินก็กำลังลดระดับและพุ่งเข้าหาภูเขาอีกด้วย
ความพยามอย่างสุดชีวิตของนักบินและวิศวกรบนเครื่อง เพื่อควบคุมเครื่องให้สามารถลงจอดได้จนวินาทีสุดท้ายนั้น ก็สิ้นสุดลงเมื่อเครื่องบินตกลงที่ภูเขา อันนำมาสู่เรื่องราวอันน่าเศร้าครั้งใหญ่ครั้งนึงเลยครับ
การสืบสวนยังคงทำต่อไปจนตรวจพบว่าเครื่องนี้เคยเกิดการ Tail strike คือหางเขี่ยพื้นขณะนำเครื่องขึ้นหรือนำเครื่องลงนั่นเอง ทำให้โครงสร้างเกิดความเสียหายได้
1
ทำให้ต้องซ่อมแผงกั้นความดันท้ายเครื่องที่ได้รับความเสียหาย แต่สิ่งที่พบคือ การซ่อมบำรุงครั้งโดย JAL มีความผิดพลาดคือ การเชื่อมต่อที่ต่างไปจากแบบที่ Boeing ส่งมาให้ทำให้ความแข็งแรงลดลงกว่าที่เคยถูกออกแบบไว้ถึง 70% ต้นเหตุและปริศนาดังกล่าวจึงถูกคลี่คลายลงไปได้ และถูกจัดทำออกมาเป็นรายงานสรุปสาเหตุทั้งหมดนั่นเอง
1
ภาพด้านบนคือการซ่อมที่แนะนำมาของ Boeing ด้านล่างคือการซ่อมจริงของ JAL
หลังเหตุการณ์นี้ Boeing ก็ได้ปรับปรุงมาตรการในการตรวจสอบการซ่อบำรุงใหม่อย่างเข้มงวดขึ้น และ ได้ทำการออกแบบระบบของไฮดรอลิกใหม่อีกด้วย
ผลของเหตุการณ์นี้เมื่อถูกเผยแพร่ออกมาในภายหลัง วิศวกรและผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงผู้รับผิดชอบการซ่อมบำรุงนี้ก็ได้ทำการอัตวิบากกรรมตามผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ไป อย่างน่าเศร้ามากๆครับ
หากชอบบทความนี้อย่าลืมฝากกด "ติดตาม" และให้กำลังใจผมเพื่อออกบทความอื่นๆอีกต่อไปด้วยนะครับผม
1
โฆษณา