15 ก.ย. 2021 เวลา 10:10 • สุขภาพ
ชาวอังกฤษกว่า 3.3 ล้านคน ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม มีประสิทธิผลในการป้องกันไวรัสเดลต้าลดลง ฉีด Pfizer เหลือ 69.7% AstraZeneca เหลือ 47.3%
1
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด แบ่งได้ออกเป็นสองช่วงระยะเวลา ได้แก่
1) ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดลองในอาสาสมัครโดยเฉพาะเฟสสาม เรียกว่า Efficacy
2) ประสิทธิผลในการฉีดวัคซีนหลังได้จดทะเบียนอนุมัติให้ฉีดในโลกแห่งความเป็นจริง( Real World ) เรียกว่า Effectiveness
โดยประสิทธิผลที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือ Effectiveness หรือประสิทธิผลของการฉีดในโลกแห่งความเป็นจริง
วัคซีนป้องกันโควิด 2 ตัวหลัก จาก 2 เทคโนโลยีคือ
1) AstraZeneca ใช้เทคโนโลยีไวรัสเป็นตัวนำ (Viral vector)
2) Pfizer ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)
Efficacy หรือประสิทธิผลการป้องกันโรคในอาสาสมัคร มีความแตกต่างกับ Effectiveness หรือประสิทธิผลการป้องกันโรคในโลกแห่งความเป็นจริงมาก
และเมื่อเริ่มมีการฉีดวัคซีนในโลกแห่งความเป็นจริง ก็มีหลากหลายรายงาน ที่มีประสิทธิผลแตกต่างกันเช่น
ที่สกอตแลนด์ จากการฉีดประชาชนกว่า 1 ล้านคน พบว่าวัคซีน AstraZeneca และ Pfizer มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในโลกแห่งความจริงจริงเท่าเทียมกัน
1
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า พบว่าไวรัสดังกล่าว ทำให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคของวัคซีนทุกชนิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แตกต่างไปจากไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า
1
ประเทศอังกฤษ จึงได้เก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบตั้งแต่ช่วง 8 ธค.63 ถึง 3 กย.64
ซึ่งมีทั้งช่วงไวรัสอัลฟ่าคือ ก่อนพฤษภาคม 2564 และช่วงไวรัสเดลต้าคือ หลัง 12 เมษายน 2564
ในที่นี้จะนำข้อมูลมาเปรียบเทียบในช่วงเฉพาะไวรัสสายพันธุ์เดลต้า เป็นสายพันธุ์หลัก
พบว่าในคนอังกฤษ 3.3 ล้านคน มีการตรวจหาเชื้อทั้งสิ้น 3.76 ล้านตัวอย่าง
แยกเป็นฉีดวัคซีน AstraZeneca 2 ล้าน และ Pfizer 1.7 ล้าน มี Moderna เข้ามาแทรกเล็กน้อย 1.2 แสน
1
โดยแยกวิเคราะห์ออกเป็นสามกรณีคือ
1) ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ
Pfizer ได้ 69.7%
AstraZeneca ได้ 47.3%
2
2) ประสิทธิผลในการป้องกันการป่วยหนักจนเข้าโรงพยาบาล
Pfizer ได้ 92.7%
AstraZeneca ได้ 77.0%
1
3) ประสิทธิผลในการป้องกันการเสียชีวิต
Pfizer ได้ 90.4%
AstraZeneca ได้ 78.7%
1
โดยการดูประสิทธิผลนั้น ดูที่ห้าเดือนหรือ 20 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครบสองเข็ม
ทำให้สรุปได้ดังนี้
1) ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคของวัคซีนทั้ง Pfizer และ AstraZeneca ลดลงอย่างมาก
1
2) ประสิทธิผลต่อการติดเชื้อชนิดแสดงอาการ ลดลงมากที่สุด
2
3) ประสิทธิผลในการป้องกันการป่วยหนักเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิต ลดลงน้อยกว่า
4) Pfizer มีประสิทธิผลในภาพรวมสูงกว่า AstraZeneca
1
5) ประสิทธิผลดังกล่าว กระทบกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่าคนที่อายุตั้งแต่ 64 ปีลงมา
คงจะต้องดูรายงานอื่นๆประกอบไปด้วยในอนาคต แต่ในเบื้องต้น รายงานฉบับนี้ซึ่งฉีดในคน 3.3 ล้านคน ก็มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง
1
Reference
โฆษณา