16 ก.ย. 2021 เวลา 00:01 • ไลฟ์สไตล์
จิตนั้นมีหน้าที่รับสัมผัสและปรุงแต่งเป็น “อารมณ์”
จิตที่ต้องกลิ้งไปกลอกมาอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะ “สัมผัส” ที่มากระทบให้เกิดอารมณ์นั้นเล่าเป็นต้นเหตุ
2
โทรทัศน์ก็ดี วิทยุก็ดี สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ก็ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก สิ่งต่าง ๆ ที่คนในสังคมปรุงแต่งแล้วสมมติว่า “ดี” นั้นแล เป็นปัจจัยหนุนให้จิตนั้นกลิ้งกลอก
2
สิ่งที่มากระทบอารมณ์ส่วนมากนั้น จะเป็นสิ่งที่ “ขุดกิเลส” สร้างให้เกิดตัณหา ความอยาก “อยากมี และอยากเป็น”
มนุษย์ในสังคมนี้วัน ๆ หนึ่ง นาที ๆ หนึ่ง ลมหายใจหนึ่ง ๆ แทบจะไม่มีเวลาได้หยุดพักจากการถูกสิ่งต่าง ๆ เข้ามากระทบ
หากว่างเมื่อไหร่ นักการตลาดจะต้อง “เสียบ” อารมณ์เหล่านั้นแล้วกระตุ้นเราให้เป็นอย่างที่เขาอยากไป
1
ในทุกวันนี้จึงเห็นผู้คนดูสิ่งต่าง ๆ จากโทรศัพท์มือถือเป็นธรรมดา ดูยูทูปเป็นธรรมดา และเสพสื่อต่างอินเทอร์เน็ตเป็นธรรมดา ถ้าใครไม่ดู ไม่ฟัง “ไม่รู้” กลายเป็นคนไม่ธรรมดา ผิดปกติ หรือ “บ้า” ไป ค่านิยมนี้แลเป็นมูลฐานให้จิตนั้นสับสนจนกลิ้งไปกลอกมา
2
คนหนึ่งก็ว่าอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็ว่าอีกอย่างหนึ่ง จิตและใจไม่มีวันได้หยุดได้ผ่อนให้หย่อนบ้าง “ ตึง ” อยู่อย่างเดียว เดี๋ยวไม่นาน “ ความเครียด ” ก็จะกัดกิน
1
มิหนำซ้ำสิ่งที่มากระทบอารมณ์ส่วนมากนั้น จะเป็นสิ่งที่ “ ขุดกิเลส ” สร้างให้เกิดตัณหา ความอยาก “ อยากมี และอยากเป็น ”
เมื่อจิตรับซึ่งสิ่งกระทบเหล่านั้น จิตของบุคคลที่มีความเข้มแข็งไม่พอ ก็จะกลิ้งไปตามสิ่งที่ได้สัมผัส ทุกข์ ทรมาน กับความ “ อยาก ” ต่าง ๆ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการปรุง
2
ปรุงดีก็ยุ่ง ปรุงไม่ดีก็ยิ่งยุ่ง...!
คนในทุกวันนี้นั้นเล่า ต่างคิด ต่างปรุง ต่างยุ่งเพื่อหาความสุข
แต่พระตถาคตเจ้า “หยุดคิด” หยุดปรุง แล้วท่านจึงได้พบความสุขแท้...
1
แต่นั่นก็เถอะ... จิตเดิมของทุกคนรู้อยู่แล้วว่าตนเหนื่อย และตนหนัก แต่เจ้าสิ่งที่เข้ามาสัมผัสนั้นไม่หยุด ไม่เคยผ่อน ไม่ยอมผันให้เราได้พักจิตพักใจบ้าง
2
สังคมที่ต้องแข่งขันกัน “ทำมาหา กิน แก่งแย่ง กระเหี้ยน กระหือรือ กีดกัน โกย โกง กัก และเก็บ” ให้เป็นของกู ของกู ของกู
คนในสังคมแบบนี้จึงต้องทำทุกวิถีทางในทุกวินาทีที่จะทำให้ตนได้มาซึ่งทรัพย์ อำนาจ และวาสนา ผลร้ายจากจิตที่ปรุงแต่งนี้ก็จึงตกกับคนผู้อยู่ในสังคม ที่จะต้องปรุงตามกระแสไป
1
การปรุงตามกระแสนั้นเป็นเรื่องหนักจิตดึงใจมิใช่น้อย
หลาย ๆ คนรู้ แต่ก็ปล่อยวางไม่ได้ เปรียบประหนึ่งกับทาสที่ถูกเขามัด ถูกสนตะพาย ด้วย “กระแส” และค่านิยม ดึง ฉุด กระชาก ลาก ถู สนตะพายไปตามที่ ตามแหล่ง ตามสิ่งที่เขาต้องการ
2
ลมหายใจที่มีอยู่ ณ สถานการณ์เช่นนี้ “สติ” เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ที่จะรู้สิ่งต่าง ๆ เพียง “สักว่ารู้” เห็นสิ่งต่าง ๆ เพียง “สักว่าเห็น” ได้กลิ่นต่าง ๆ เพียง “สักว่า” ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้รับสัมผัสต่าง ๆ เพียงสักว่า สักว่า
สติที่เข้มแข็งนี้แลจะทำให้จิตไม่กลับกลอก ดิ้นไป ดันมาตามสิ่งสร้าง ๆ ที่เขาสร้างมาให้กระทบ
3
สังคมที่ต้องแข่งขันกัน “ทำมาหา กิน แก่งแย่ง กระเหี้ยน กระหือรือ กีดกัน โกย โกง กัก และเก็บ”
บุคคลผู้มีสติดี ชีวิตนี้จะอยู่เป็นสุข
สุขจากความสงบ เพราะจิตไม่กระวนกระวาย เร่าร้อน ขวนขวาย อยากได้ อยากมี อยากเป็นทั้งในเรื่องของ กาม กิน และเกียรติ
กาม กิน และเกียรตินี้เอง เป็นต้นเหตุของความทุกข์ ที่บุคคลทั้งหลายต่างดิ้นรน แสวงหาและแบกไว้
สติที่เข้มแข็ง จะช่วยลดภาระโดยการวางภาระจากกาม กิน และเกียรตินี้
2
ผู้ที่ดิ้นรนหาความสุขจากเรื่อง กาม กิน และเกียรติ เขาจะไม่ได้รับความสุขที่แท้จริงเลย
ประหนึ่งกับคนที่ลงทุนขุดดิน ถากถางป่าทั้งป่า เพื่อหาผลไม้ผลเล็ก ๆ เพียงแค่ผลเดียว
1
จิตอันสงบและผ่องใสนั้นเล่า จะพาเราพบความสุขแท้
สติ อันอยู่เป็นพื้นฐานของ ศีล สมาธิ และปัญญา จะพาเราสู่ความสุขแท้นั้น
ท่านทั้งหลายโปรดวางภาระอันหนักอึ้งที่เนื่องจากกาม กิน และเกียรติเสียเถิด
แล้วท่านทั้งหลายจะพบความสุขแห่งจิตใจที่แท้จริง ...
2
บุคคลผู้มีสติดี ชีวิตนี้จะอยู่เป็นสุข
โฆษณา