16 ก.ย. 2021 เวลา 07:32 • การเมือง
EP.1 NO ONE ARGHHH!!
รัฐคุมศาสนา หรือ ศาสนาคุมรัฐ?
รัฐพึงสนับสนุนการเผยแพร่หลักธรรมคำสอน
ของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
และ ทนุบำรุงมิให้มีบ่อนทำลาย
พุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม
-มาตรา 67 วรรค 2-
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับชั่วคราว ปี 2560
เมื่อพูดถึงปี 2560 ก็คงอดนึกถึงข่าวประเด็นใหญ่
ที่สุดของประเทศ ณ เวลานั้นไม่ได้
คือ การบุกจับพระธัมมชโย
อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมกาย โดยมีข้อกล่าวหา
ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
จนเกิดเป็นภาพการรวมกันปกป้องวัดของผู้ศรัทธา
และการเข้าปราบปรามของผู้ควบคุม
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามมากมาย
ทำไมคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจึงยอมรวมตัวกัน
เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างไม่มีใจลดละ?
ครั้งหนึ่งผมเคยนั่งคุยกับ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง
ท่านนั้นเป็นถึงระดับรัฐมนตรี
ท่านมองความมั่นคง
ของสถาบันใดสถาบันหนึ่งมากกว่า
ซึ่งต้องอาศัยความรัก ความศรัทธา
ของประชาชนค้ำยัน ทีนี้พอความรัก
มันดูแบ่งไปตามที่ธรรมกาย
ก็เลยเกิดความหวั่นไหว
เลยสรุปว่าธรรมกายเป็นภัยต่อสังคม
-บรรจบ-
คุณบรรจบ
จากการกล่าวของ คุณบรรจบ
ทำให้คำถามที่มีอยู่มันชัดและขยายใหญ่ขึ้น
ความมั่นคงของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง?
ดังนั้นเมื่อเกิดความหวั่นไหว
จึงเกิดการควบคุมและจัดระเบียบใหม่ใช่หรือไม่?
และใครคือผู้ที่ทำหน้าที่จัดระเบียบนั้น?
ถ้าอยากเข้าใจปัจจุบัน ก็ต้องเรียนรู้อดีต
ขอเชิญทุกคนขึ้นไทม์แมชชีน
และเราจะย้อนกลับไปสมัยปลายอยุธยาพร้อมกัน
จับเก้าอี้ของคุณ แน่นรึยัง?
ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเลย!!
แล้วทำไมต้องปลายอยุธยาอ่ะเหรอ?
เนื่องจากปลายอยุธยา
มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสูง
เกิดการขยายตัวของการค้าทั้งในและต่างประเทศ
เกิดการพัฒนาการของการค้าเอกชน
โดยพ่อค้าจีนเพิ่มมากขึ้น
ขุนนางขยายบทบาทการค้าของตนเอง
ไพร่กลายเป็น “คนมั่งมี”
โดยมีเงินตราเป็นตัวกำหนด
สถานภาพทางสังคม
นับว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการขยายใหญ่ขึ้น
โครงสร้างและลักษณะของชนชั้นมูลนายเปลี่ยนไป
และนี่จะเป็นเหตุผลสำคัญในการกำหนด
สภาพสังคม และ ความคิดทางศาสนา
เมื่อขุนนางและคนจีนต่างพยายาม
ขยายอิทธิพลและเพิ่มพูนผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจจนเกินขอบเขต
ที่พระมหากษัตริย์กำหนด
จึงทำให้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์เริ่มสั่นคลอน
ถ้าอยากให้การปกครองเปลี่ยน โครงสร้างต้องเปลี่ยน
ถ้าประชาชนมีเงินโดยไม่ต้องพึ่งรัฐมันก็เปลี่ยน
จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว
สถานะคนเปลี่ยนเป็น “กระฎุมพี” มากขึ้น
จึงมีความคิดความเชื่อผูกพัน
อยู่กับสภาพแวดล้อมตามจริงมากขึ้น
เชื่อในสติปัญญาความสามารถของมนุษย์ก็ยิ่งมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกัน
คนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตอยู่กับ
ความผันผวนของธรรมชาติ
และไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้
ความคิด ความเชื่อ ในอำนาจเหนือธรรมชาติยังคงมีอยู่
โดยเฉพาะสังคมที่เต็มไปด้วย
การขู่ กรรโชก ปล้นสะดม
ทำให้คนไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบสังคม
จึงต้องหันหน้าพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติ
ความคิดทางพุทธศาสนาจึงหลากหลาย
ขาดเอกภาพ โดยแบ่งได้กว้างๆ 2 แบบ
1. เน้นบุญฤทธิ์ วิทยาคม เชื่ออำนาจเหนือธรรมชาติ
2. มนุษยนิยม เชื่อความเป็นเหตุเป็นผล
นอกจากนี้ ศาสนาพราหมณ์เองก็มีอิทธิพลอย่างสูงในราชสำนัก
และการนับถือผีสางเทวดาก็ยังมีอิทธิพลอยู่ทั่วไป
กล่าวได้ว่า พุทธศาสนายังคงพร่าเลือนอยู่มาก
นั่นเพราะ ขาดการรวมศูนย์อำนาจ
ในระบบการปกครองคณะสงฆ์
เป็นเหตุให้ความคิดทางพุทธศาสนา
ขาดความเป็นระบบ และ ขาดเอกภาพของสังคม
เมื่อถึงเวลาที่ระบบรัฐราชณาจักรอยุธยาล่มสลาย
สังคมจึงเกิดความปั่นป่วนมากขึ้น
ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาการจัดระเบียบ
และควบคุมสังคม
แล้วเครื่องมือใดหล่ะ?
ที่จะช่วยจัดระเบียบครั้งนี้ได้
เครื่องมือที่ช่วยในการอธิบายสภาพความเป็นอยู่
พร้อมทั้งให้คำตอบสำหรับอนาคตของสังคม
และปัจเจกชน ก็หนีไม่พ้น
“หลักคำสอนทางศาสนา”
สืบเนื่องมาถึง สมัยรัตนโกสินทร์
จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จากสมัยอยุธยา คนมีความมั่งคั่ง มากขึ้น
จึงเชื่อความคิดใน ความเป็นเหตุเป็นผล
แต่ความคิดทางพุทธศาสนา
ในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติก็มิได้หายไป
โดยเฉพาะกับชนชั้นนำทางการเมือง
ที่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
“เมื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
ก็ย่อมสามารถควบคุมความเปลี่ยนแปลงนั้น
ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตนได้
จากสมัยปลายอยุธยา แม้ว่าพระสงฆ์จะขาดเอกภาพ
แต่พระสงฆ์ก็มีอิทธิพลและบทบาททางการเมืองอย่างสูง
มิหนำซ้ำความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์
กับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ด้วยเรื่อง พระสงฆ์ควรไหว้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือไม่
ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์
กับผู้นำฝ่ายราชอาณาจักรมีความสับสนมากขึ้น
หรือคลุมเครือมากขึ้นว่า ฝ่ายใดมีฐานะเหนือกว่าฝ่ายใด
และ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายพุทธจักรกับราชอาณาจักร
ควรเป็นอย่างไร?
จึงเกิดการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจักร
กับพระราชอาณาจักร ที่จะช่วยให้ฝ่ายพระราชอาณาจักร
สามารถควบคุมพระสงฆ์ได้
นั่นคือให้คณะสงฆ์อยู่ภายใต้การควบคุม
ของพระราชอาณาจัร โดยมีการดำเนิน
ให้ปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์
และตรากฎหมายบังคับใช้แก่พระสงฆ์
ทำให้คณะสงฆ์เกิดเอกภาพภายใต้
การปกครองดูแลของพระมหากษัตรฺย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
พระมหากษัตริย์เป็นผู้นำสูงสุดของคณะสงฆ์
พอย้อนกลับมาที่ปัจจุบัน
คุณเห็นเหตุการณ์ใดในบ้านเมือง
ที่สอดคล้องกับอดีตที่ผ่านมา
คุณเห็นความสัมพันธ์ของรัฐกับศาสนาในรูปแบบใด?
ศาสนากับรัฐมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร?
รัฐ คุม ศาสนา
หรือ
ศาสนา คุม รัฐ
หรือทั้งสองสิ่งไม่มีความเชื่อมโยงกันเลย?
คุณล่ะมีความคิดเห็นอย่างไร
อย่าลืมคอมเมนต์แบ่งปันความคิดดีๆของคุณ
เพราะหนึ่งคำถามมีมากกว่าหนึ่งคำตอบ
ONE QUESTION NO ONE ANSWER
BY NO ONE
ขอกราบขอบพระคุณข้อมูล(*˘︶˘*)
ที่ทำให้สมองอันน้อยๆงอกเพิ่มมากขึ้น
1. เอหิปัสสิโก
สารคดี ดีที่ต้องดู สารคดีที่เบื้องหน้าฉาบความขัดแย้งของกลุ่มคน
เบื้องลึกขัดผลประโยชน์ของกลุ่มใด? ถ้าอยากรู้ไปดูกันเต็มๆ
ได้ที่ Netflix
2. หนังสือ พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมือง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
3. หนังสือ รัฐ-ธรรม-นัว
4. สัมภาษณ์ฉบับเต็ม อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากสารคดี COME AND SEE เอหิปัสสิโก
5. ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย พุทธแบบไทยๆ กับรัฐแบบเก่าๆ
6. รัฐกับองค์กรทางศาสนา โดย : นิธิ เอียวศรีวงศ์
โฆษณา