Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
B-bakin channel
•
ติดตาม
16 ก.ย. 2021 เวลา 14:19 • สุขภาพ
"เดอ เกอร์แวง" ภาวะปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
"เดอ เกอร์แวง" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์สื่อสารยุคใหม่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่ในแต่วันทุกคนต่างจดจ่อจิ้มหน้าจอกันอย่างเมามัน ทำให้เอ็นข้อมือทำงานหนักกว่าปกติ นานวันเข้าอาการที่สะสมจึงทำให้ป่วยเป็น “โรคเดอ เกอร์แวง” หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “ภาวะปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ” นั้นเอง
โรคนี้เกิดจากอะไร??
โรคเดอ เกอร์แวง (de Quervain’s disease) หรือ ภาวะปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่กระดกและกางนิ้วหัวแม่มือ ทำให้เกิดการบวมและการหนาตัวของเส้นเอ็น พบได้บ่อยในคนที่ใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อยๆ ในท่ากางนิ้วหัวแม่มือออกด้านข้างและกระดกขึ้น ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 3-5 เท่า
ลักษณะอาการของโรค
ปวดบริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง หรือปลายแขนด้านนิ้วโป้งมีอาการบวม หากกดลงที่ตำแหน่งนั้นจะปวดมาก และปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้ง เช่น บิดเสื้อผ้า กวาดพื้น ยกขันน้ำ เป็นต้น
วิธีการตรวจด้วยตนเอง
------กำนิ้วโป้งไว้ในอุ้งมือแล้วหักข้อมือลง ถ้ามีอาการเจ็บแสดงว่ามีการอักเสบของเส้นเอ็นข้อมือ
สำหรับการรักษานั้น แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีไม่ผ่าตัด โดยให้ผู้ป่วยหยุดหรือหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือข้างที่ปวด ควบคู่ไปกับการประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยาทาภายนอก และนวดบริเวณข้อมือที่เจ็บ รับประทานยาต้านการอักเสบ แต่ถ้าปวดมากๆ อาจต้องใส่เฝือกประคองข้อมือและนิ้วหัวแม่มือชั่วคราว หรือฉีดยาสเตียรอยด์แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2-3 ครั้ง
2. วิธีผ่าตัด สำหรับใครที่ฉีดยาสเตียรอยด์แล้วยังไม่หาย แพทย์จะใช้วิธีฝ่าตัดโดยจะใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็น ที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกออกจากกัน โดยหลักผ่าตัด 7-10 วัน แพทย์จะนัดมาตัดไหมและตรวจอาการซ้ำในระยะแรกทุกๆ 1-2 สัปดาห์
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาจะเน้นให้ผู้ป่วยลดการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้ง โดยการใส่เฝือกอ่อน หรือ ติดเทปบริเวณเส้นเอ็นนิ้วโป้งและเน้นเรื่องการลดปวด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น Ultrasound เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) ประคบร้อน เป็นต้น
ใครที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคนี้ แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งาน นิ้วหัวแม่มือให้น้อยลงได้ แพทย์แนะนำว่าควรต้องบริหารข้อมือให้ถูกวิธี เพราะจะสามารถช่วยบรรเทาและลดความเสี่ยง การอักเสบของเอ็นข้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. แตะปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วก้อยค้างไว้ 5 วินาที 10 ครั้ง
2. ดัดข้อมืองอลงให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที สลับกับดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที 10 ครั้ง
3. หงายมือ กำมือ แล้วค่อยๆ กระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับไปตำแหน่งเดิม 10 ครั้ง
4. คว่ำมือและกระดกข้อมือขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง
5. กระดกข้อมือเอียงไปทางด้านข้างขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง
6. บีบวัตถุ เช่น ลูกบอลเล็กๆ บีให้แน่นที่สุดค้างไว้ 5 วินาที สลับกับคลายออก 10 ครั้ง
7. ใช้ยางวงใหญ่ รัดที่นิ้วมือทั้ง 5 จากนั้นกางและหุบ 10 ครั้ง
CR----
https://www.firstphysioclinics.com/article/57
https://www.pptvhd36.com/news/
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย