Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Colder Solution สารทำความเย็น โรงงานอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
17 ก.ย. 2021 เวลา 02:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ระบบท่อทางเดินสารทําความเย็น (Refrigeration Piping)
ระบบท่อทางเดินสารทําความเย็น (Refrigeration Piping)
โดยหลักการการทำความเย็นพื้นฐาน จะแบ่งความดันออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ด้านอัดออกจากคอมเพรสเซอร์ที่มีความดันสูง
2. ด้านดูดกลับคอมเพรสเซอร์ที่มีความดันต่ำ
อ่านบทความ สารทำความเย็น เปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ? ได้ที่ :
http://www.coldersolution.co.th/posts/2021/07/Refrigerant-Cooling-System/
ระบบทำความเย็นและอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นจะไม่สามารถเริ่มทำงานได้เลย ถ้าขาดสิ่งที่เรียกว่า "ท่อเดินสารทำความเย็น" ที่ทำหน้าที่สำคัญเป็นตัวกลางส่งสารทำความเย็นไปตามอุปกรณ์ต่างๆ
ระบบท่อสารทำความเย็นแยกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. Suction line : ท่อสารทำความเย็นทางดูด ก่อนเข้าเครื่องอัดไอหรือ Compressor
2. Discharge line : ท่อสารทำความเย็นที่ออกจากเครื่องอัดไอ (Compressor) ไปยังเครื่องควบแน่น (Condenser)
3. Liquid line : อยู่บริเวณระบบท่อจากทางออกเครื่องควบแน่น (Condenser) ไปยังวาล์วความดัน หรือ Expansion valve
ทั้ง 3 ระบบท่อสารทำความเย็นนี้ การออกแบบระบบท่อสารทำความเย็นนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ อัตราการไหลเชิงมวล รวมถึงอุณหภูมิของสารทำความเย็น และ ความดันสูญเสียในระบบท่อ
ซึ่งความดันสูญเสียในท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งมีส่วนสำคัญในการออกแบบและเลือกใช้ขนาดท่อสารทำความเย็น และส่งผลกระทบถึง ประสิทธิภาพเครื่องอัดไอหรือ Compressor ในเครื่องทำความเย็นด้วย
1.Suction line
อยู่ระหว่างเครื่องระเหยกับเครื่องอัดไอ ดังนั้นความดันจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระเหยไอของสารทำความเย็น จะขยายตัวที่ความดันต่ำกว่า และเครื่องอัดไอเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุสารทำความเย็นเป็นสาเหตุ ทำให้ความจุของเครื่องอัดไอลดลงได้
เนื่องจากต้องควบคุมน้ำหนักของสารทำความเย็นที่เบาลง แล้วทำการอัดไปสู่ทางออกของเครื่องอัดไอที่ความดันสูง ทำให้มีผลต่างของความดันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องใช้กำลังในการอัดไอเพิ่มขึ้นไปด้วย เมื่อเทียบที่ขนาดการทำความเย็นที่เท่ากันในส่วนอื่น
ถ้า Scution line มีขนาดท่อที่ใหญ่ อุปกรณ์อื่นๆ เช่นวาล์วหรืออุปกรณ์ควบคุมก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามด้วย ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์จะสูงมากขึ้น และขนาดท่อที่ใหญ่ยังมีผลถึงน้ำมันหล่อลื่นที่จะย้อนกลับมาที่เครื่องอัดไอ
ความดันสูญเสีย และค่าใช้จ่าย เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการ พิจารณาเลือกใช้ขนาดของท่อสารทำความเย็นในส่วนนี้ คุณสมบัติการไม่รวมตัวระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกใช้ จะเห็นได้ว่า Suction line เป็นจุดเริ่มต้นที่จะต้องพิจารณาอย่างละเอียด
2.Discharge line
ความดันสูญเสียที่มากที่สุดจะอยู่ในช่วงความดันที่สูงสุดและตกลงมา ที่ความดันสูงของเครื่องควบแน่น ในช่วงระหว่างเครื่องอัดไอถึงเครื่องควบแน่น
เมื่อความดันของสารทำความเย็นที่อยู่ใน Discharge line สูงขึ้น ส่งผลให้เครื่องอัดไอต้องใช้กำลังสูงตามไปด้วย
3.Liquid line
ในส่วนนี้ความดันสูญเสียมีผลกระทบน้อยกว่าท่อสารทำความเย็นในส่วนอื่น
ความดันของสารทำความเย็นจะลดลงจากเครื่องควบแน่น ผ่านวาล์วลดความดัน สำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์หรือวาล์วลดความดันที่ดีจะทำให้ช่วงของการลดความดัน อยู่ในช่วงที่แคบและเหมาะสม
ความดันสูญเสียก่อนผ่านวาล์วลดความดันนั้น เป็นการสูญเสียความดันที่สูง
เนื่องจากขณะควบแน่นจะมีสารทำความเย็นสถานะไอบางส่วนผ่านวาล์วลดความดัน เพื่อเปลี่ยนสภาวะเป็นสารทำความเย็นเหลวอย่างรวดเร็ว (Flashing) จึงต้องเลือกใช้อุปกรณ์หรือวาล์วลดความดันที่มีประสิทธิภาพดี และความหลีกเลี่ยงการเกิด Flashing ของสารทำความเย็นภายในท่อส่วน Liquid line
ดังนั้นการเกิดความดันสูญเสียสามารถควบคุมได้โดยการเลือกอุปกรณ์ หรือวาล์วลดความดันที่มีประสิทธิภาพ และทำใหเกิด Flashing ที่น้อยที่สุด
การเลือกขนาดของท่อสารทำความเย็นต้องคำนึงถึง สารทำความเย็นเป็นหลัก
ปริมาณของสารทำความเย็นมีส่วนสำคัญในการเลือกใช้ขนาดท่อ สารทำความเย็นจุด Suction line และยังเป็นตัวเลือกขนาดของคอมเพรสเซอร์หรือเครื่องอัดไออีกด้วย
สารทำความเย็นส่วนใหญ่มีองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอน และสารทำความเย็นที่เป็นแอมโมเนีย ช่างติดตั้งระบบต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ประเภทและส่วนผสมของสารทำความเย็น ก่อนเลือกวัสดุของท่อ เพราะ สารความเย็นบางชนิดทำปฏิกิริยาต่อท่อ
เช่น สารความเย็นที่มีส่วนผสมเป็นแอมโมเนียจะทำปฏิกิริยากัดกร่อนต่อท่อทองแดง แต่จะสามารถใช้ได้ดีกับท่อเหล็กหรือท่ออะลูมิเนียม
นอกเหนือเรื่องที่กล่าวมาในบทความข้างต้น การจะใช้งานท่อเดินสารทำความเย็นให้มีอายุไปกับระบบทำความเย็นของคุณได้ยาวนาน ต้องมีการตรวจสอบและเก็บรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เช่นการตรวจสอบข้อต่อของท่อ และท่อเดินสารทำความเย็นจะต้องสะอาด ไม่มีฝุ่น และปราศจากความชื้น
อ่านบทความ ความชื้นเป็นตัวก่อปัญหาสำคัญในระบบทำความเย็น ได้ที่ :
http://www.coldersolution.co.th/posts/2021/08/filter-drier/
เวลาเก็บรักษาควรทำการปิดปลายท่อทุกครั้ง (Sealed) เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น ศัตรูตัวสำคัญของระบบทำความเย็นค่ะ
การเลือกใช้อุปกรณ์อุปกรณ์ระบบทำความเย็นอย่างเหมาะสม ไม่ใช่แค่เพียงลดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และติดตั้งระบบเพียงเท่านั้น อาจจะส่งผลถึงการสิ้นเปลืองพลังงานของระบบทำความเย็นและความปลอดภัยในอนาคตอีกด้วย
หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับระบบทำความเย็น รวมถึงเลือกสารทำความเย็นให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เพื่อคุณภาพสูงสุด
ปรึกษาเราได้ที่ Line id : @Colder
หรือคลิก :
https://lin.ee/VEnKS4M
ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจำหน่าย น้ำยาแอร์และสารทำความเย็น รวมถึงอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นอื่นๆ
▶
www.coldersolution.co.th
▶
https://www.blockdit.com/colder
#สารทำความเย็น #น้ำยาแอร์ #ท่อเดินสารทำความเย็น #ท่อสารทำความเย็น #ท่อน้ำยาแอร์ #Refrigerant #น้ำยาแอร์R22 #น้ำยาทำความเย็น #ระบบปรับอากาศ #เครื่องทำความเย็น #ระบบทำความเย็น #อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง #สารทำความเย็นอุตสาหกรรม #ระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย