17 ก.ย. 2021 เวลา 17:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สถานีเติมเชื้อเพลิงในวงโคจร อีกหนึ่งแนวทางในการลดปริมาณขยะอวกาศ
เพราะจะช่วยต่ออายุให้กับฝูงดาวเทียมที่ล่องลอยอยู่รอบโลกหลายพันดวงและกำลังจะเพิ่มเป็นหลายหมื่นดวงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และอาจจะเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ได้อีกด้วย
สถานีเติมเชื้อเพลิงสำหรับดาวเทียมเพื่อยืดอายุการใช้งานและไม่ให้พวกมันต้องกลายเป็นขยะอวกาศ
ปัญหาขยะอวกาศนั้นนับวันจะเริ่มเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งกับสถานีอวกาศ ยานอวกาศ รวมถึงเหล่าดาวเทียมที่ล่องลอยอยู่กว่า 4,000 ดวงในวงโคจร ซึ่งก็ได้มีการนำเสนอแนวคิดในการจัดการขยะอวกาศออกมาแล้วหลายไอเดีย
1
Orbit Fab บริษัท Startup ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Lockheed Martin และ Northrop Grumman บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศได้นำเสนอทางออกใหม่ให้กับดาวเทียมหลายพันดวงและอีกหลายหมื่นดวงในอนาคต
ด้วยสถานีเติมเชื้อเพลิงดาวเทียมในวงโคจร ซึ่งจะช่วยต่ออายุไม่ให้ต้องกลายเป็นขยะอวกาศหรือดาวเทียมซอมบี้ล่องลอยเคว้งคว้างในวงโคจร
1
สถานีเติมเชื้อเพลิงที่จะกระจายตัวอยู่รอบโลก
Orbit Fab นั้นตั้งเป้าการทำธุรกิจในอวกาศด้วยการให้บริการเติมเชื้อเพลิงให้กับดาวเทียมรวมถึงเตรียมไว้สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวอวกาศในอนาคตด้วย
ด้วยระบบเชื่อมต่อเพื่อเติมเชื้อเพลิงในอวกาศ(Rapidly Attachable Fluid Transfer Interface หรือ RAFTI) ที่บริษัทพัฒนาขึ้นมานี้จะสามารถเติมเชื้อเพลิงด้วยอัตรา 1 ลิตรต่อนาที ทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิ -40 ถึง 120 องศาเซลเซียส สามารถเติมเชื้อเพลิงได้หลายประเภททั้ง LOX/H2, ไนโตรเจน, ฮีเลียม, น้ำและแอลกอฮอล์
1
หัวเสียบและเบ้ารับเพื่อเชื่อมต่อและเติมเชื้อเพลิง
โดยในปี 2019 Orbit Fab ก็ได้มีการส่งอุปกรณ์ต้นแบบขึ้นไปทำการทดสอบการทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลากว่า 4 เดือน
1
และเมื่อ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา Orbit Fab ก็ได้ส่ง Tanker-001 ขึ้นสู่วงโคจรไปกับจรวด Falcon9 และประจำการอยู่ในวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ sun-synchronous orbit (SSO) ทำให้ Tanker-001 เป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงในอวกาศสถานีแรก
การทดสอบอุปกรณ์ต้นแบบบน ISS ในปี 2019
Tanker-001 นี้บรรจุเชื้อเพลิง high-test peroxide (HTP) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาดไร้การปล่อยมลพิษ (green propellant)
ซึ่ง Tanker-001 ยังคงต้องรอการทดสอบต่อไปเพื่อพิสูจน์การทำหน้าที่เป็นปั๊มเติมเชื้อเพลิงกลางอวกาศให้กับเหล่าดาวเทียมและยานท่องเที่ยวอวกาศในอนาคต
ทั้งนี้ปัญหาขยะอวกาศนั้นทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเดือนที่แล้วดาวเทียมสื่อสารของจีนก็ถูกชนด้วยเศษซากจากจรวดของรัสเซียในปี 1996 ที่ลอยค้างในวงโคจร
และปั๊มน้ำมันกลางอวกาศนี้อาจจะเป็นคำตอบต่อการจัดการปัญหาขยะอวกาศในอนาคตและเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจก็เป็นได้
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา