18 ก.ย. 2021 เวลา 05:32 • สุขภาพ
📍ก้อนซีสต์ Steatocystoma Multiplex คืออะไร รักษาได้อย่างไร ❓
🔬เป็นซีสต์ที่เกิดขึ้นที่ท่อของต่อมไขมัน (Sebaceous Duct) ผนังของซีสต์ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับซีสต์ชนิด Epidermal Cyst
✅แต่สารที่บรรจุภายในซีสต์ไม่ใช่ Keratin ***แต่เป็นไขมันที่ผลิตจากต่อมไขมัน
ซีสต์ชนิดนี้มักจะพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย มีลักษณะเป็นตุ่มใต้ผิวหนังขนาดแตกต่างกันแต่มักไม่เกิน 5 ซม.
✅พบได้บนผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณกลางหน้าอก ต้นแขนและต้นขา
ถ้าซีสต์ประเภทนี้อยู่ตื้นจะมองเห็นเป็นตุ่มสีเหลืองๆ แต่ถ้าซีสต์อยู่ลึกจะเห็นเป็นตุ่มสีเดียวกับผิวหนัง ✅***ลักษณะสำคัญของซีสต์ประเภทนี้ก็คือ ถ้าใช้เข็มเจาะซีสต์จะมีน้ำมันสีเหลืองคล้ายเนยเหลวๆ ไหลออกมา ซีสต์ประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันหลายๆตุ่ม
💉การรักษา
เนื่องจากซีสต์เป็นเนื้องอกที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดออก
👨‍⚕️ข้อพิจารณาในการรักษา
-การรักษามีโอกาสทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้
-การรักษาไม่ได้ปัองกันการเกิดก้อนใหม่
-ควรพิจารณาผ่าตัดหรือใช้เลเซอร์เอาซีสต์ออกในกรณีที่ซีสต์นั้นมีการอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบติดเชื้อ จากการที่ซีสต์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ***
✅Surgical excision การผ่าตัดออก***แต่ควรพิจารณาผ่าตัดเอาซีสต์ออกในกรณีที่ซีสต์นั้นมีการอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบติดเชื้อ จากการที่ซีสต์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ***
✅การใช้เลเซอร์ Carbon Dioxide Laser สำหรับรักษาซีสต์ขนาดเล็ก
สำหรับซีสต์ที่มีขนาดเล็กและอยู่ตื้น เช่น Milium อาจให้การรักษาด้วยการเจาะและใช้เครื่องมือสำหรับกดสิว กดเอาสารที่บรรจุอยู่ใรซีสต์ออก
✅การใช้การใช้เลเซอร์หรือใบมีดขนาดเล็กเปิด cyst และนำผนังซิสต์ cyst wall ออก เเป็นวิธีการที่ได้ผลแต่ต้องใช้เวลาและเทคนิครวมถึงมีโอกาสเกิดแผลเป็นเล็กๆตามมาได้ fine incision followed by cyst wall extraction with forceps, vein hooks, or curette
✅Needle aspiration การเจาะดูดสารที่อยู่ในซิสต์
ส่วนการรักษา ซีสต์ชนิดอื่นก็ทำได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออกส่วน Steatocystoma นั้น เนื่องจากสารที่อยู่ในซีสต์เป็นน้ำมัน จึงอาจรักษาได้ด้วยการใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำมันที่บรรจุอยู่ในซีสต์ และลอกเอาผนังของซีสต์ออก
✅ในกรณีที่ซีสต์มีการอักเสบติดเชื้อ ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าซีสต์เพื่อระบายหนองออก สำหรับ
แต่อย่างไรก็ตามการรักษาไม่ได้ป้องกันการเกิดใหม่และมีโอกาสเกิดแผลเป็นตามมาดังนั้นจึงต้องพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการดูแลรักษาครับ
✅การรักษาด้วยการใช้ยา
-oral isotretinoin ใช้รักษากรณีก้อนมีการอักเสบมาก แต่ผลการรักษามักอยู่ไม่นานและมักเป็นซ้ำหลังหยุดยา
-การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น oral tetracycline, topical clindamycin, or benzoyl peroxide wash (ie, antibiotics with anti- inflammatory properties) มีประโยชน์ในการรักษาก้อนที่มีการอักเสบ
ผศ. นพ. ศุภะรุจ เลื่องอรุณ (หมอรุจ)
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
#steatocystomamultiplex #steatocystoma #cyst #ซีสต์ #รักษาซีสต์ #ซีสต์ไขมันผิวหนัง
โฆษณา