-Girls Like Girls เป็นการสนับสนุนสาวเลสเบี้ยนที่สร้างความสับสนน่าดู ไม่ได้มีเป้าประสงค์ของการสนับสนุนเพศทางเลือกซะทีเดียว ในมุมมองผมน่าจะหมายถึงการไม่อยากให้สาวที่ตัวเองไปแอบเต๊าะไปชอบผู้ชายเพื่อไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกอิจฉาเพื่อนชายด้วยกันเองมากกว่า ถ้าชอบผู้หญิงด้วยกัน ผมให้ผ่าน หากไม่รู้ว่าเจ้าของเพลงต้องการสื่ออะไร Lil Baby ที่มาตีความในมุมมองตัวเองอีกต่อนึงก็อาจจะทำให้คนฟังเคลียร์ขึ้น แต่ไม่มี statement support LGBTQ ที่จ๋าขนาดนั้น In The Bible ที่ยังคงใช้โฟล์วสำเนียงเมาๆวกวนของคนที่ดันไปมีอะไรกับสาวที่เคร่งศาสนาแทนที่จะฟิน แต่กลับโดน blame เฉย Lil Durk ปล่อยโฟล์วได้คล่องแคล่ว ฟังขึ้นยิ่งกว่า Laugh Now, Cry Later มากๆ ส่วน GIVĒON ที่กำลังมาแรง กลับไม่มีความจำเป็นต่อเพลงนี้มากนัก
-การใส่ความเคารพนับถือต่อสาวระบำเปลื้องผ้า ยังคงเป็นประเด็นที่เดรคยังคงชื่นชอบและอยากแสดงความเห็นใจ นอกจากเพลง The Real Her ที่ได้เห็นในยุค Take Care แล้ว ในอัลบั้มนี้ก็มีเพลง TSU (ย่อมาจาก Texas Southern University) เป็นการเล่าสตอรี่ของสาวระบำเปลื้องผ้าที่โดนตัดขาดจากครอบครัวทุกทางเพียงเพราะไปเป็นนักเต้นระบำเปลื้องผ้า จริงๆแล้วชื่อเพลงได้มาจากวลีของ OG Ron C ดีเจประจำถิ่น Texas ที่ชอบเรียกเหล่าสาวๆมหาวิทยาลัย Texas Southern เล่นๆว่า TSU Ladies
-Knife Talk โหมดขมุกขมัวอึมครึมตามแบบฉบับ Metro Boomin แท็กทีมโฟล์วสุดเชือดเฉือนจาก 21 Savage และ Project Pat พี่ใหญ่แห่ง Memphis รวมกันมาทำขรึม พูดภาษาแก๊งส์เตอร์ ทีเด็ดสุดจริงๆคือ Fair Trade ที่ลงตัวทั้งแซมเปิ้ล โฟล์วตัดพ้อประชดประชันถึงความไม่แคร์ต่อให้สูญเสียเพื่อนบางคน ไม่เดือดไม่ร้อนอะไร และการ switch beat ที่เหนือเมฆมากๆจาก Travis Scott ที่ดึงคนฟังเข้าสู่บรรยากาศดาร์คอันครุกกรุ่นได้โดยอัตโนมัติ นับว่าเป็นเพลงแจมของทราวิสที่ดีที่สุดในช่วงหลังยุค Astroworld ด้วย
-การมีเรื่องกับแร็ปเปอร์ไอคอนที่ครั้งนึงเคยโปรดิวซ์เพลงให้ตั้งแต่อัลบั้มแรกและเคยเป็นไอดอลของเขาอย่าง Kanye West หรือแม้กระทั่ง Pusha T ผู้ที่มี beef กันอย่างยาวนาน แถมป่าวประกาศข่าวลือเรื่องลูกเก็บด้วย ยังคงประเด็นขัดแย้งที่ทุกคนให้ความสนใจว่า รอบนี้แกจะงัดอะไรมาตอกกลับ เผลอๆคนให้ความสนใจมากกว่าการแชร์ความรู้สึกถึงความเป็นพ่อคนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำ No Friends In The Industry ที่มาด้วยอารมณ์เยาะเย้ยถากถาง ยังคงใช้ประโยชน์ของบีทสไตล์ Memphis Hip Hop จากแซมเปิ้ลเพลง Niggaz Ain’t Barin Dat ของ Three 6 Mafia มาเขย่าให้ยึกยัก
-อีกหนึ่งเพลง take shot ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการเล็งเป้าไปที่โปรดิวซ์เซอร์ Swizz Beatz ในเพลง You Only Live Twice ที่หยิบวีรกรรมที่เคยแซะแร็ปเปอร์รุ่นน้องว่า pussy ใน IG Live ชนิดที่จำได้ไม่เคยลืม เลยจัดประโยค punchline เด็ดๆที่ reference เพลง Unthinkable ที่ตัวเองเคยไปช่วยเมียของน้าแก Alicia Keys ร้องคอรัสด้วยกัน รวมไปถึงการเล่นวลีในเพลง Fancy จากอัลบั้ม Thank Me Later ซึ่งตัว Swizz Beatz แกเคยไปช่วยโปรดิวซ์มาแล้วรอบนึง หลังจากที่น้าแกฟังสิ่งที่รุ่นน้องตอบโต้ก็แอบเลิกลั่กหน่อยๆด้วย ทั้งนี้ Rick Ross และแร็ปเปอร์คู่บุญที่กลับมาร่วมฟีทในรอบหลายปีอย่าง Lil Wayne ก็มาช่วยลงแขกในเพลงนี้อย่างสนุกปากจริงเชียว
Unthinkable when I think of the way these niggas been actin'
Yeah, I never did you nothin' and you play like we family, huh?
Next thing, you wanna shoot me down, it can't be love
Not sure where you was tryna send it, it can't be up
That day you sounded like a bitch, you fancy, huh?
-ต่อให้ขยันแร็ปเยอะเพื่อโชว์ความเป็นตัวจริงก็ตาม จะมีประโยชน์อะไร ถ้า topic ยังคงวกวนอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง และไม่คิดจะตัดทอนบางจุดให้มันดูรวบรัดตัดความมากกว่านี้ ต่อให้มีความพยายามในการ switch beat ในหลายๆเพลงก็ตามคงไม่ได้ผลอยู่ดี มีบางเพลงแทบจะโหลงเหลงเลยอย่าง Race My Mind เป็นต้น อย่าหาว่าเข้าข้างอริให้แฟนเพลงแหนงใจล่ะกัน เมื่อเทียบกับ DONDA ที่มีจำนวนแทร็คเยอะกว่าก็จริง การผ่านไปแต่ละเพลงยังแอบรู้สึกไม่นานเท่ากับ CLB เลยด้วยซ้ำ ต่อให้จะไม่มีการแบ่งแยกโหมดเพลงช้าแบ่ง side ใคร side มันแบบ Scorpion สุดท้าย CLB จึงไม่ต่างกับการการพยายามจะเอาพาร์ทแร็ปและพาร์ทเพลงช้ามาผสมปนเปในเพลงเดียวกันนั่นเอง กลายเป็นความยืดยาดที่ Drake แก้ไม่เกมส์เสียที
-CLB จึงจัดอยู่ในงานจำพวก แร็ปจนลิงหลับ 2 แทร็คสุดท้ายแทนที่จะมีไฮไลต์เด็ดกลับวนอยู่กับเรื่องเดิมๆจนชินชามาจากแทร็คที่ผ่านมา นี่จึงทำให้ The Remorse กลายเป็นแทร็คปิดอัลบั้มที่เลยจุด wrap up ไม่มีนัยยะสำคัญเสียจนด้านชา พร้อมที่จะวางอัลบั้มแล้วพอแค่นี้ CLB จึงขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ของการ fan service อ่อนไหวต่อสิ่งยั่วยุ สร้างกลยุทธ์ทำลายสถิติชาร์ทเพลงมากกว่าการตกผลึกทางประสบการณ์ความคิดอย่างจริงจัง การมีผลงานเพลงปล่อยแทบทุกปี ต่อให้การทิ้งช่วงสตูดิโออัลบั้มเป็นเวลา 3 ปีก็ตาม เป็นการลดช่องว่างทางเวลา เป็นผลทำให้ตีบตันทางไอเดียก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้ฟังอะไรใหม่ซ้ำเดิม ผมมองว่า Drake ถลำลึกความสำเร็จจนเกินพอดีแล้วล่ะ
-สุดท้ายก็คงซ้ำรอยเดิมความประเดี๋ยวประด๋าวของผลงานแล้วลงเอยที่การถูกลืมในที่สุด ผมเชื่อว่าผลงานในระยะหลังไม่ถูกเอาไปจดจำในฐานะผลงานคลาสสิคถัดจาก Take Care แทนที่ความจริงจังทางความคิดแบบ Nothing Was The Same และไม่เฟรชไฟลุกแบบ If You’re Reading This, It’s Too Late คงไม่มีใครเกิดความอยากเอา Scorpion หรือ Dark Lane Demo Tape กลับมาฟังอีกอย่างแน่นอน การทำลายสถิติด้วยการล้างชาร์ท Top Ten ใน Billboard Hot 100 ถึง 9 เพลงคงเป็นอะไรที่น่ากังขาน่าดู
คงไม่ต้องรอให้เสื่อมมนต์ขลังหรอกมั้ง
Top Tracks : Love All, Fair Trade, N 2 Deep, Yebba’s Heartbreak, 7am On Bridle Path, You Only Live Twice