18 ก.ย. 2021 เวลา 16:18 • สุขภาพ
## 'ลองโควิด' ความท้าทายทางการแพทย์แห่งยุคสมัยอันยิ่งยวด ##
12
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา The Lancet ซึ่งเป็นวารสารการแพทย์ชั้นนำของโลกตีพิมพ์บทบรรณาธิการ เรียกร้องให้วงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ทั่วโลกร่วมกันศึกษาสิ่งที่เรียกว่า "ลองโควิด" (Long COVID) หรือโควิดเรื้อรังกันอย่างจริงจัง
12
พร้อมๆ กับการตีพิมพ์ผลวิจัยลองโควิดในฉบับซึ่งติดตามศึกษาจากผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลว่าหลังจากตรวจไม่พบเชื้อโควิดแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือน และ 1 ปีแล้ว สุขภาพกายและจิตใจเป็นอย่างไรบ้าง
7
ผลการวิจัยนี้ยืนยันว่าสิ่งที่ผู้รอดชีวิตจากโควิดระบุว่าเป็นผลต่อเนื่องนั้น "มีจริง" ไม่ได้ต่างคนต่าง 'มโน' ไปเอง
The Lancet ประกาศดังๆ ว่า 'ลองโควิด' คือความท้าทายทางการแพทย์แห่งยุคสมัยอย่างยิ่งยวด
อันที่จริงแล้ว The Lancet ก็กำลังประสานเสียงกับคำขอของ ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ให้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง
4
เพราะเห็นแล้วว่าผู้คนจำเป็นต้องตระหนักว่า โควิด-19 ไม่ใช่เพียงโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเท่านั้น และมีแนวโน้มว่าจะ #มีผลกระทบยาวนาน กว่าที่เราเคยรู้ๆ กัน
4
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
6
คนหลายล้านคนทั่วโลกอาจมีอาการผิดปกติทางร่างกาย ทางสมอง ทางจิตใจ ทำให้ต้องมีภาระดูแลในทางสาธารณสุขและเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลิตภาพอย่างมหาศาล
2
ทุกฝ่ายต้องเร่งและช่วยกันศึกษาและเตรียมการเพื่อรองรับผลกระทบเหล่านี้ เพราะยิ่งมีคนติดเชื้อโควิดมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคนเป็นลองโควิดมากขึ้นไปด้วย ทั่วโลกอาจจะมีคนจำนวนมากมายที่ได้รับผลกระทบคล้ายๆ กันและพร้อมๆ กันอย่างที่อาจจะเรียกว่าเป็น 'Gen Long COVID' อย่างที่เราพูดถึงคนในยุคสงครามต่างๆ เลยทีเดียว
4
📌 ผลการวิจัย 📌
การศึกษานี้ติดตามอดีตผู้ป่วยโควิด จำนวน 1,276 คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิน หยินถาน ในเมืองอวู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองแรกที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2563 ช่วง 6 และ 12 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล และเก็บข้อมูล เปรียบเทียบกับผู้ที่มีภูมิหลังอื่นๆ เหมือนๆ กันแต่ไม่เคยเป็นโรคนี้
4
ผู้วิจัยได้พบ สัมภาษณ์ และตรวจร่างกายของกลุ่มตัวอย่างในระบบต่างๆ แม้ว่าผู้ที่รอดชีวิตส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตแบบเดียวกับก่อนที่จะป่วย แต่ผลการตรวจบ่งชี้ว่าสุขภาพของพวกเขาก็แย่กว่าผู้ที่ไม่เคยติดโควิดจริงๆ
7
ในระยะเวลา 1 ปี ผู้รอดชีวิตจากโควิดมีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น มีอาการปวดหรือไม่สบายตัว และมีความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่เคยติดโควิด
1
อาการอ่อนเพลียหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นสิ่งที่พบบ่อยที่สุดทั้งในช่วง 6 เดือนและ 12 เดือนหลังจากเป็นโควิด (52% ในช่วง 6 เดือนและ 20% ในช่วง 1 ปี) และผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งแจ้งว่ามีอาการอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก ความอยากอาหารลดลง การรับรู้รสหรือกลิ่นเปลี่ยนไป แม้จะครบ 12 เดือนหลังจากเป็นโควิดแล้วก็ตาม
14
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโควิดหลายคนใช้เวลามากกว่า 1 ปีจึงจะหายสนิท
3
เกือบ 1 ใน 3 ของคนติดโควิดยังมีอาการ “หายใจขัด” หรือ “หายใจไม่อิ่ม” อยู่แม้จะหายแล้ว
8
ในการติดตามผล มีการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก (chest CT scans) และตรวจสมรรถภาพปอด โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องให้ออกซิเจนช่วงที่รักษาตัวในโรงพยาบาล กลุ่มที่ต้องให้ออกซิเจน และกลุ่มที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จากการติดตามในระยะ 6 เดือนและระยะ 12 เดือน พบว่าผู้ที่มีการทำงานของปอดบกพร่องในทั้ง 3 กลุ่มอาการไม่ดีขึ้น
5
หลังจากออกจากโรงพยาบาล 1 ปี กลุ่มที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพบผู้ที่มีการทำงานของปอดบกพร่อง 54% และ 87% มีความผิดปกติของปอด กลุ่มที่ไม่ต้องให้ออกซิเจนพบผู้ที่มีการทำงานของปอดบกพร่อง 23% และ 39% มีความผิดปกติของปอด
5
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการขยับร่างกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย ใน 9% ของผู้ป่วยโควิดที่หายมาแล้ว 12 เดือน เทียบกับ 4% ของคนที่ไม่ติดโควิด
2
เปรียบเทียบกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น วิตกกังวลและซึมเศร้าของคนป่วยโควิดกับคนที่ไม่ติดโควิด 23% ของผู้รอดชีวิตจากโควิดมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าเมื่อผ่านมาแล้ว 6 เดือน และแทนที่ตัวเลขนี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็น 26% เมื่อคนป่วยโควิดหายมาแล้ว 12 เดือน อย่างไรก็ตาม 5% ของกลุ่มคนที่มีภูมิหลังเหมือนกันแต่ไม่ติดโควิดก็รายงานว่ามีอาการเหล่านี้
1
📌 สิ่งที่ยังไม่รู้ 📌
1
เสี่ยวหยิง กู่ (Xiaoying Gu) นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกที่โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่ง (The Institute of Clinical Medical Sciences at the China-Japan Friendship Hospital in Beijing) หนึ่งในทีมวิจัยนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตและทิ้งคำถามที่น่าสนใจต่อจากผลของการศึกษา
4
ยังตอบไม่ได้ว่าทำไมอาการทางจิตเวช เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าถึงเกิดกับคนหายป่วยโควิดมาแล้ว 1 ปีมากกว่าคนหายป่วยมาแล้ว 6 เดือน
4
อาจเป็นเพราะเกิดจากตัวไวรัสเอง เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์ุทางสังคมกันน้อยลง และปัจจัยเรื่องความเหงา เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ก็มีผลกับการฟื้นฟูร่างกายด้วย
3
โลกเราจำเป็นต้องมีการวิจัยระยะยาวศึกษาคนรอดชีวิตจากโควิดกันขนานใหญ่ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของโควิดต่อโลกด้านสุขภาพในอนาคต
3
ผู้วิจัยเน้นย้ำว่าแม้ว่านี่จะเป็นการศึกษาติดตามกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอย่างเป็นระบบ แต่ก็เพิ่งศึกษาเฉพาะในกลุ่มที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่นับผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลรวมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลออกไปอีกด้วย ซึ่งนับว่ายังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกมาก
2
อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือยังมีอดีตผู้ป่วยเพียงจำนวนน้อยมากที่ได้เข้าไปรับบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟูภายหลังจากที่หายจากโควิด
บทบรรณาธิการของ The Lancet ย้ำคำขอของผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ซึ่งได้เรียกร้องให้แต่ละประเทศตระหนักและให้ความสำคัญกับลองโควิด รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ การเก็บข้อมูลควรมีวาระในการศึกษาร่วมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดที่จะเข้าใจต้นกำเนิด ลักษณะสำคัญและกลไกของลองโควิด รวมถึงบทบาทของวัคซีนและการหาวิธีรักษาที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้ ยังต้องมีการเตรียมบุคลากรที่ทั้งมีความรู้และมีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดีอีกด้วย
6
Zero Covid Thailand ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียกร้องและสนับสนุนการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับ Long COVID
4
ภาครัฐ หน่วยงานสาธารณสุข ภาคเอกชน และประชาชน ควรให้ความสำคัญกับปัญหาลองโควิด ยอมรับสิทธิผู้ป่วยลองโควิด และเตรียมแนวทางดูแลเยียวยาผู้ป่วยลองโควิด
4
และที่ยิ่งไปกว่านั้น เราขอให้ทุกคนร่วมมือกันดูแลสังคมให้ไปสู่เป้าหมายประเทศไทยไร้โควิด ร่วมกันขจัดเชื้อโควิดให้สิ้นซากไปจากสังคมที่เราอยู่และเกี่ยวข้อง (ซึ่งจริงๆ แล้วคือทั้งโลก!)
2
เพราะการป้องกันโควิดเรื้อรังจริงๆ แล้วมีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น คือต้องไม่มีการติดเชื้อโควิดตั้งแต่แรก
5
ในภาพใหญ่ เราจะต้องใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อลดการติดเชื้อให้เหลือ 0 เพราะเพียงเคสเดียวก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดครั้งใหม่ได้
2
สำหรับคนทั่วไปอย่างเราๆ เพื่อปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักจากไวร้สร้ายนี้ การใส่ หน้ากากN95 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่าทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน อยู่ในที่ที่มี การระบายอากาศดี อยู่เสมอ และตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจโควิดแบบเร็ว (Antigen Test Kit: ATK) อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ก็เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ค่ะ
2
แล้วเราจะจับมือร่วมกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันนะคะ
1
ติดตามเราได้ที่
2
อ้างอิง:
1-year outcomes in hospital survivors with COVID-19: a longitudinal cohort study
1
Characterizing long COVID in an international cohort: 7 months of symptoms and their impact
Guidance on “Long COVID” as a Disability Under the ADA, Section 504, and Section 1557
Multiorgan impairment in low-risk individuals with post-COVID-19 syndrome: a prospective, community-based study
'Long COVID' ความจริงใหม่ที่สังคมต้องเตรียมรับมือกันไปยาวๆไม่ใช่เรื่องเล็ก สหรัฐรับรองสิทธิผู้ป่วย 'โควิดเรื้อรัง' เทียบเท่าคนพิการ
Long COVID' เหมือนจะหายแต่ไม่หาย ปัญหาระยะยาวที่ต้องใส่ใจ
อย่าให้ติด ดีที่สุด เชื้อโควิดทิ้งผลระยะยาว ทั้งร่างกายและจิตใจ
ร้ายกว่าที่คิด ไวรัสโควิด-19 ทำลายสมองได้
สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับฉันใด ติดโควิดแล้ว..ชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมฉันนั้น
“4 ความจริง" ที่ต้องยอมรับ “3 ข้อปฏิบัติ" ให้รอดจากโควิด
โฆษณา