21 ก.ย. 2021 เวลา 08:19 • ความคิดเห็น
เหตุแห่งความฝ้น
พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สาเหตุแห่งความฝันไว้ ๔ ประการ
พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สาเหตุแห่งความฝันไว้ ๔ ประการ คือ             
๑.  กรรมนิมิต [บุพพนิมิต ] กรรมดีหรือชั่วในอดีต จะมาให้ผล             
๒.  จิตอาวรณ์ [อนุภูติบุพพะ] จิตไปผูกพันอยู่กับสิ่งใดมากๆ ก็อาจฝันถึงสิ่งนั้นได้            
๓.  เทพสังหรณ์ [เทวโตปสังหรณ์] เทวดานำข่าวมาบอก อาจเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายก็ได้            
๔.  ธาตุกำเริบ [ธาตุโขก] ร่างกายไม่ปกติ อาจทำให้ฝันไปได้แปลกๆ
อ้างอิงจาก...เหตุแห่งความฝัน (สุปินสูตร)
 
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๓๕
อรรถกถา
          พึงทราบวินิจฉัยในสุปินสูตรที่  ๖  ดังต่อไปนี้:-
          บทว่า  มหาสุปินา  ความว่า  ชื่อว่า  มหาสุบิน  เพราะบุรุษผู้ใหญ่
พึงฝัน  และเพราะความเป็นนิมิตแห่งประโยชน์อันใหญ่.    บทว่า  ปาตุรเหสุ
แปลว่า   ได้ปรากฏแล้ว.
          ในบทนั้น  ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ  ๔ ประการ  คือ  
เพราะธาตุกำเริบ  ๑
เพราะเคยเป็นมาก่อน  ๑  
เพราะเทวดาดลใจ   ๑  
เพราะบุรพนิมิต  ๑
 
ในฝันเหล่านั้น  คนธาตุกำเริบ  เพราะ(น้ำ)ดีเป็นต้น  เป็นเหตุทำให้กำเริบย่อมฝัน  เพราะ
ธาตุกำเริบ   และเมื่อฝัน   ย่อมฝันหลายอย่าง   เช่น   ฝันว่าตกจากภูเขา   ว่าไปทางอากาศ    
ว่าถูกเนื้อร้าย    ช้างและโจรเป็นต้นไล่ตาม.
เมื่อฝันโดยเคยเป็นมาก่อน  ย่อมฝันถึงอารมณ์เป็นมาแล้วในกาลก่อน.
สำหรับผู้ฝันโดยเทวดาดลใจ   ทวยเทพย่อมบรรดาลอารมณ์หลายอย่าง    
เพราะประสงค์ดีก็มี   เพราะประสงค์ร้ายก็มี  ผู้นั้นย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น   ด้วยอานุภาพของทวยเทพ
เหล่านั้น.
เมื่อฝันโดยบุรพนิมิต   (ลางบอกล่วงหน้า)  ย่อมฝัน  อันเป็นบุรพนิมิต      
ของประโยชน์หรือของความพินาศที่ประสงค์จะเกิดด้วยอำนาจบุญและบาป  
ดุจพระชนนีของพระโพธิสัตว์  ได้นิมิตในการได้พระโอรส  
ดุจพระเจ้าโกศล   ทรงฝันเห็นสุบิน  ๑๖    
และดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล    
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์  ทรงฝันเห็นมหาสุบิน  ๕  ประการนี้.
 
ในฝันเหล่านั้น ฝันเพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยเป็นมาก่อน ไม่จริง.
 
ฝันเพราะเทวดาดลใจ  จริงบ้าง  ไม่จริงบ้าง  เพราะว่า  เทวดาทั้งหลาย
โกรธขึ้นมา  ประสงค์จะให้ถึงความพินาศด้วยอุบาย จึงแสร้งทำให้ผิดปกติ.
แต่ฝันเพราะบุรพนิมิต   เป็นจริงโดยส่วนเดียวแท้.
แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ  ๔  อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป
ฝันแม้ทั้ง  ๔  นั้นพระเสกขะและปุถุชน  ย่อมฝัน   เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้  
พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.
โฆษณา