2 ต.ค. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้หรือไม่? ไทยติดอันดับโลกแล้ว ความเหลื่อมล้ำสูง “รวยกระจุก-จนกระจาย”
4
เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า ปัจจุบันประเทศไทยของเราได้ขึ้นแท่น “ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งอันดับต้นๆ ของโลกเรียบร้อยแล้ว แถมระดับความเหลื่อมล้ำยังคงเพิ่มขึ้นเร็วอย่างต่อเนื่อง”
4
โดยความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งในที่นี้ คือ สินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก หุ้น ที่ดิน ซึ่งทาง Credit Suisse ประเมินว่า “คนที่รวยที่สุด 10% ของไทย ถือสินทรัพย์มากถึง 77% ของคนทั้งประเทศ”
3
⭐ หมายความว่า ⭐ “สินทรัพย์ (เงินฝาก หุ้น ที่ดิน) มากกว่าค่อนประเทศ อยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น!” สะท้อนถึงภาวะรวยกระจุก-จนกระจาย และช่องว่างที่ถ่างออกมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างคนรวยกับคนจน
3
แล้วความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย มีสาเหตุเกิดมาจากอะไรล่ะ?
ประเด็นนี้มีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ โลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ประเทศไทยยังตามประเทศอื่นไม่ทัน ส่วนปัจจัยภายใน คือ โครงสร้างเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายตลาดแรงงานและภาษีของประเทศไทย ไม่เอื้อให้คนจนได้เลื่อนสถานะทางสังคม
5
โดย aomMONEYขอเจาะจงไปที่ประเด็น “ปัจจัยภายในประเทศ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้
✅ 1) ประชากรไทยประกอบอาชีพอยู่ในภาคเกษตรกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ “แต่กลับสร้างรายได้เพียง 6.1% ของ GDP” ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ
3
คนไทยประกอบอาชีพอยู่ในภาคเกษตร คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 33% (รองจากภาคบริการ) แต่ประเทศเรากลับยังขาดการส่งเสริมภาคการผลิต ส่งผลให้ภาคการเกษตรไม่มีการเติบโต ผนวกกับการประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรโลกตกต่ำ และถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด เกษตรกรที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว จึงมีรายได้น้อยลงไปอีก
7
✅ 2) โอกาสการได้รับการศึกษาของคนไทยนั้น “ไม่เท่าเทียมกัน” คนรวยมีโอกาสมากกว่า
1
แม้ว่า “งบค่าใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษาของไทย” จะอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศจีน ออสเตรเลีย หรือเดนมาร์ก แต่ความทั่วถึงทางการศึกษาของเรากลับอยู่ในระดับต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเหล่านั้น
6
ดังนั้นครอบครัวที่มีเงินมากพอจึงมีแนวโน้มจะส่งเสริมลูกหลานไปเรียนพิเศษและเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้ ส่งผลให้คนที่มาจากครอบครัวที่รวยกว่า มีแนวโน้มจะได้งานที่ดีกว่าและรายได้สูงกว่า แม้จะจบในระดับการศึกษาเดียวกันก็ตาม
6
✅ 3) แรงงานตัวเล็กๆ ไม่มีอำนาจต่อรองนายทุน / ธุรกิจรายเล็กก็แข่งขันยาก เพราะการผูกขาด
22
ชีวิตวัยทำงานหลังเรียนจบ หากคนหนึ่งเลือกเข้าไปทำงานรับค่าแรงแล้ว ค่าแรงจะเติบโตช้ามาก โดยการเติบโตของค่าแรงแรงงานนั้น “ต่ำกว่า” การเติบโตของ GDP ประเทศด้วยซ้ำ สะท้อนว่า แม้นายทุนจะทำรายได้ได้มากขึ้น ส่งผลภาพรวมเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น แต่ลูกจ้างกลับมีรายได้ต่ำสวนทางการเติบโต
9
อีกทั้งประเทศไทยยังขาดกฎหมายที่กำกับด้านการแข่งขันด้านการค้าอย่างเป็นระบบ หลายธุรกิจเพิ่มกำไรผ่านการผูกขาด แรงงานก็มีอำนาจต่อรองลดลง ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ เราขาดกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม รวมไปถึงนโยบายที่ช่วยเหลือและสร้างโอกาสให้คนมีรายได้น้อย
6
✅ 3) “ไทยขาดระบบสวัสดิการและกลไก” ลดความเหลื่อมล้ำ
2
คนไทยขาดสวัสดิการด้านวัยเกษียณที่ดีพอจากทางภาครัฐ แม้จะกล่าวว่า “ระบบสาธารณะสุขไทยนั้นดีมาก” แต่เรายังขาดสวัสดิการด้านอื่นๆ เช่น การกระจายรายได้ผ่านการเก็บภาษีคนรวยและช่วยเหลือคนจนอย่างเป็นรูปธรรม
4
และถึงแม้ประเทศไทยของเราจะเก็บภาษีในอัตราที่สูงพอๆ กับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าประเทศสหรัฐฯ กับออสเตรเลียด้วยซ้ำ แต่ผลลัพธ์การช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้นั้นกลับอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ปัญหาความเหลื่อมล้ำจึงไม่ได้ถูกแก้ไข
4
ข้อมูล อัตราภาษีเทียบกับผลลัพธ์การลดความเหลื่อมล้ำ ดูจากกราฟหน้า 9 https://bit.ly/3BUVGIF
✅ 4) โควิด-19 ซ้ำเติมกลุ่มแรงงานรายได้น้อย ทั้งลูกจ้าง คนรับจ้างทั่วไป คนค้าขายหาบเร่แผงลอย “ให้จนยิ่งกว่าเดิม”
3
กลุ่มคนดังกล่าวนี้ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิดมากคนระดับบน เพราะส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ไม่สามารถ work from home ได้ จึงมีโอกาสตกงาน พักงาน และสูญเสียรายได้มากกว่าคนกลุ่มอื่น อีกทั้งกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย มักไม่มีเงินเก็บออมมากพอ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ทดแทนได้ เมื่อต้องขาดรายได้
4
นอกจากนี้ มาตรการของทางการไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ปิดสถานที่ต่าง ๆ แต่ไม่มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ส่งผลต่อผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสายป่านสั นมากกว่ารายใหญ่ อาจถึงขั้นต้องเลิกกิจการหรือปลดพนักงาน สร้างความเสียหายถาวรต่อธุรกิจและชีวิตคนจำนวนมาก
6
✅ 5) “การเมือง” หนึ่งในรากลึกปัญหาความเหลื่อมล้ำ
9
Daron Acemoglu นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง กล่าว่า “ในระบบการเมืองประชาธิปไตย” ทุกคนจะมีอำนาจทางการเมืองเท่าเที่ยมกัน การกำหนดนโยบายทางภาครัฐจะเอื้อต่อการกระจายรายได้กับคนทุกกลุ่มในสังคมมากกว่า และสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง
5
ในกรณีของไทยจะพบว่า ระบบการเมืองไทยมีการพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ๆ และมีการเปลี่ยนกลับไปมาหลายครั้ง ซึ่งพัฒนาการของสถาบันการเมืองที่ช้าและอ่อนคุณภาพ เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่วัฏจักรของการกระจุกตัวของอำนาจทางการเมืองและความเหลื่อมล้ำ
2
⭐อย่างไรก็ตาม⭐ บทวิจัยจากทาง KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร กล่าวไว้ว่า “คงไม่มีนโยบายใดที่สามารถขัดความเหลื่อมล้ำได้ทั้งหมด แต่นโยบายที่ดี สามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้แคบลงได้ อย่างน้อยก็เพื่อโอกาสที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และเราก็ไม่ต้องถูกกำหนดคุณภาพชีวิต ด้วยสถานะทางครอบครัว เพียงเพราะเกิดมารวยหรือจน
3
บทความนี้เป็นบทความที่สรุปจากบทวิจัยของทาง KKP Research โดย เกียรตินาคินภัทร ในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำในไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร” https://bit.ly/3BUVGIF
หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกท่านครับ
#aomMONEY
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
1
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌https://www.youtube.com/AommoneyTH
📌https://www.blockdit.com/aommoney
📌กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
1
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
โฆษณา