22 ก.ย. 2021 เวลา 01:09 • นิยาย เรื่องสั้น
🌕🥮ตำนานวันไหว้พระจันทร์ 2/2🌕🥮
อย่างที่ได้เคยเขียนไว้ในตอนแรก (1/2)
ว่าเทศกาลไหว้พระจันทร์ ( วันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติจีน )
เป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญ
ที่ชาวจีนมีขนมธรรมเนียมประเพณี
ยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องกันมาเนิ่นนาน
ซึ่งก็มีเรื่องเล่า ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ พอให้อ้างอิงได้
แต่ก็มีผิดเพี้ยน แตกต่างกันบ้างในบางรายละเอียด
1
หนึ่งในตำนานที่เคยมีการเล่าขานสืบต่อกันมา
ว่ากันว่า มาจากพิธีเซ่นไหว้พระจันทร์ในสมัยโบราณของจีน
โดยในหนังสือโบราณได้บันทึกเอาไว้ว่า
คำว่า 中秋 " จงชิว " (ภาษาจีนกลาง) หรือ " ตงชิว " (ภาษาแต้จิ๋ว)
ปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน
1
ในสมัยนั้น มีพระราชพิธีเซ่นไหว้พระจันทร์ในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง
ด้วยทัศนความเชื่อที่ว่า หากไม่มีพระจันทร์ประทานน้ำค้างให้แก่โลก
ไม่มีจันทร์เสี้ยว ไม่มีจันทร์เพ็ญ มาช่วยคำนวณเวลาการทำนา
มนุษย์เราก็จะไม่มีทางเก็บเกี่ยวผลผลิตต่างๆ ได้อย่างอุดมสมบูรณ์
1
ซึ่งพระราชพิธีเซ่นไหว้พระจันทร์ดังกล่าวนี้
จะจัดขึ้นที่ " หอสรวงศศิธร " ( 月壇 )
" เยวี่ยถาน (จีนกลาง) " หรือ " งวั๊ยะตั้ว (แต้จิ้ว) "
อันเป็นสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อในนครเป่ยจิง (ปักกิ่ง)
1
โดยมีองค์ฮ่องเต้ หรือพระเจ้าแผ่นดิน เป็นประธาน
ประกอบพิธีเซ่นสรวงบูชา กราบไหว้พระจันทร์
1
ในขณะที่ประชาชนคนทั่วไป ก็จะสร้างปะรำพิธีเซ่นไหว้พระจันทร์
หรือเก๋งไหว้พระจันทร์ และรวมถึงศาลาชมจันทร์
เพื่อประกอบพิธีไหว้ฯ ตามประสาของพวกเขากันเอง
1
ตำนานหนึ่ง ที่ทายาทแผ่นดินมังกร
จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย
เมื่อทุกครั้งที่เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เวียนกลับมาเยือนอีกครา
1
นั่นก็คือเรื่องราวของขนมไหว้พระจันทร์ " เยวี่ยปิ่ง " (月餅)
ที่เกี่ยวข้องกับการกู้ชาติกู้แผ่นดิน
อันเป็นที่มาของอีกหนึ่งตำนานวันไหว้พระจันทร์
ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ " เทพธิดาฉางเอ๋อ " และ " วีรบุรุษโฮ่วอี้ "
1
ซึ่งเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมานั้น กล่าวกันไว้ว่า
ในช่วงปี ค.ศ.1279 ซึ่งตรงกับรัชสมัยซ่ง (จีนกลาง)
หรือราชวงศ์ซ้อง (แต้จิ๋ว) ( 宋朝 )
ชาวมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ( หลานปู่ของเจงกีสข่าน )
ได้รุกรานเข้าสู่แผ่นดินจีน หรือแผ่นดินฮั่น
(หรือที่มักเรียกกันว่า แผ่นดินจงหยวน ในซีรีย์จีนเรื่องต่างๆ)
จนกระทั่งโค่นล้มและยึดครองแผ่นดินจีนได้
สถาปนาก่อตั้งราชวงศ์เอวี๋ยน (จีนกลาง) หรือ ง้วง (แต้จิ๋ว) ( 元朝 ) ขึ้น
และปกครองแผ่นดินจีนในช่วงปี ค.ศ.1280 – 1368
รวมเกือบศตวรรษ อย่างเข้มงวดกวดขัน
1
หลังจากที่ กุบไล่ข่าน ได้สถาปนาตนเอง
ขึ้นเป็นฮ่องเต้ราชวงศ์เอวี๋ยนแล้ว
1
ด้วยความที่เกรงว่าชาวจีนหรือชาวฮั่น
จะซ่องสุ่มกองกำลังเพื่อทวงแผ่นดินคืน
จึงได้ส่งทหารมองโกลไปประจำบ้านของชาวฮั่นทุกครัวเรือน
เพื่อจับตาดูชาวฮั่นอย่างใกล้ชิด
1
หากจะกล่าวว่า ทุกบ้านทุกครอบครัว
นอกจากต้องทำมาหากิน เลี้ยงดูคนในครอบครัวแล้ว
ก็ยังต้องเลี้ยงดูปูเสื่อทหารมองโกลไปด้วยอีกคน
ก็คงไม่ผิดนัก
1
และเมื่อทุกบ้านทุกครัวเรือน มีทหารมองโกล
เข้ามาประชิดตัวชาวบ้านเยี่ยงนี้
กองกำลังปฏิวัติ (หากจะมี) ก็จะขยับตัวกันลำบากมากขึ้น
1
ถึงกระนั้นก็ตาม
ภายใต้การปกครองของฮ่องเต้ชาวมองโกลดังกล่าว
ชาวฮั่นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่พยายามจะลุกขึ้นต่อต้าน
โดยเฉพาะในหมู่ชาวบ้าน ประชาชนระดับรากหญ้า
1
หากแต่ก็ไม่อาจทำการใดๆ ได้สำเร็จสักครั้ง
จำต้องทนใช้ชีวิตอย่างทุกข์เข็ญ ลำบากตรากตรำ
1
จะมีก็แต่ชนชั้นเจ้า ขุนนาง และพ่อค้า
ที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อมองโกล
เพียงเพื่อความอยู่รอดและผลประโยชน์ต่างๆ
ซึ่งก็ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้ามากมาย
( หากจะกล่าวให้ชัดเจนเห็นภาพ
ก็คงต้องยืมคำในซีรีย์จีนมาใช้
ว่าพวกนี้ ก็คือ พวกขายชาติ นั่นเอง )
1
การกดขี่รังแกชาวฮั่น เจ้าของแผ่นดิน เยี่ยงทาส
ทั้งเอารัดเอาเปรียบ และข่มเหงรังแก ของชาวมองโกล
เรียกว่า มีตลอดทุกพื้นที่ ไม่มีว่างเว้น
และนับวันก็ยิ่งโหดร้ายทารุณขึ้นทุกที
1
หากชาวมองโกลบังเอิญทำร้ายชาวฮั่นบาดเจ็บ
จะถูกคาดโทษ ชดใช้ เพียงแค่วัวหนึ่งตัว
แต่ถ้าเป็นชาวฮั่น พลั้งมือทำร้ายคนมองโกลบาดเจ็บ
นั่นหมายถึงต้องโทษประหารชีวิต อย่างไม่มีหนีรอด
1
และเพื่อป้องกันการลุกขึ้นต่อสู้ ก่อการกบฏ
ทหารมองโกล จึงอนุญาตให้ชาวฮั่นทุกครอบครัว
ต้องอยู่ภายใต้การดูแลสอดส่องตลอดเวลาอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอีก
1
กล่าวคือ ทุกๆ 10 ครอบครัว
อนุญาตให้มีมีดทำครัวเพียงแค่ 1 ด้าม
ทุกๆ บ้านต้องจ่ายค่าส่วย (ภาษี) ให้แก่ชาวมองโกลเป็นประจำ
เพื่อจำกัดการใช้จ่าย ที่อาจนำมาซึ่งการกบฏ
1
ชาวฮั่น จึงจำต้องตกเป็นเบี้ยล่าง
ทนการกดขี่ข่มเหงอยู่เรื่อยไป
1
กระทั่งในช่วงปีท้าย ของราชวงศ์เอวี๋ยน ( ปี ค.ศ.1368 )
ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอวี๋ยนซุ่นตี้ ( 元舜帝 )
ได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย
และรวมถึงมีภัยพิบัติต่างๆ มากมาย
อีกทั้งราชสำนักเองก็อ่อนแอ
ทำให้มีชาวฮั่นหลายกลุ่ม เริ่มมีความหวัง
เตรียมคิดก่อการกบฏ หวังกอบกู้แผ่นดินจีนกลับคืน
1
อย่างไรก็ตาม
ทางการของมองโกล ก็มักจะออกคำสั่ง
ห้ามมีการชุมนุมรวมตัวกันอยู่เสมอๆ
จึงดูเหมือนการรวมตัวรวมกลุ่ม
เพื่อปรึกษาหารือแผนการใดๆ
ก็ไม่ได้ง่ายนัก อย่างที่คิด
1
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการระดมพล เพื่อโค่นล้มราชวงศ์
ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
1
ครั้งนั้น มีผู้ชำนาญการยุทธศาสตร์ ท่านหนึ่ง
นาม หลิวป๋ออุน (จีนกลาง) ( 劉伯溫 )
เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง (จีนกลาง) ( 浙江 )
ผู้ซึ่งเป็น 軍師 จวินซือ (จีนกลาง) หรือ กุนซือ (แต้จิ๋ว)
ที่ปรึกษากลุ่มกบฏ ภายใต้การนำของ
จูเอวี๋ยนจาง (จีนกลาง) ( 朱元璋 )
ซึ่ง ณ ขณะนั้น เป็นเพียงแค่ชาวนาธรรมดาๆ ที่ยากจนคนหนึ่ง
หากแต่มีใจฮึกเหิม หวังโค่นล้มพวกมองโกล กอบกู้แผ่นดินจงหยวน
1
ขอบคุณเครดิตภาพ ท่านหลิวป๋ออุน จากเว็ป zhuanlan.zhihu.com
ด้วยปัญญาญาณที่หลักแหลมของท่านหลิวป๋ออุน
ท่านได้คิดแผน การรวบรวมกำลังพล ให้ก่อการขึ้นพร้อมกัน
โดยอาศัยเหตุปัจจัยที่ชาวมองโกล
ไม่นิยมกินขนมเปี๊ยะ ( ปิ่ง ) ( 餅 ) เยี่ยงชาวฮั่น
1
ท่านจึงได้ออกกุศโลบายทำขนมเปี๊ยะ
แสร้งว่า ใช้เพื่อไหว้สักการะพระจันทร์
ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ที่กำลังจะถึง
1
โดยลักษณะขนมเปี๊ยะที่ว่า
จะก้อนใหญ่พอควร ห่อไส้หนา
แต่ภายในขนมเปี๊ยะนั้น สอดกระดาษที่เขียนข้อความว่า
" 15 ค่ำ เดือน 8 สังหารพวกตาด " **
( ปา เยวี่ย สือ อู่ ซา ต๋า จื่อ (จีนกลาง) )
( 八月十五殺韃子 )
1
ซึ่งชาวมองโกลเอง ก็ไม่ได้ระแวงสงสัย
ถึงจุดประสงค์ของชาวฮั่นแต่อย่างใด
ทั้งในเรื่องของเทศกาลวันไหว้ และขนมเปี๊ยะ
ต่างก็เข้าใจว่าเป็นเพียงขนมเปี๊ยะ
ที่ใช้ไหว้สักการะพระจันทร์
ตามประเพณีดั่งเดิมของชาวฮั่นเท่านั้น
1
ครั้งนั้น ท่านหลิวป๋ออุน ได้สั่งให้
นำขนมเปี๊ยะที่ร่วมกันทำขึ้นนี้
ออกแจกจ่ายให้กับชาวฮั่นให้ทั่วถึง
จากบ้านหนึ่งสู่อีกบ้านหนึ่ง
จากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัว
1
ฉะนั้น บ้านไหนครอบครัวใด
เมื่อบิขนมเปี๊ยะ เตรียมจะกิน
ก็จะได้เห็นข้อความในไส้ขนมเปี๊ยะ
ซึ่งต่างก็เข้าใจในจุดประสงค์ร่วมกัน
1
ขอบคุณเครดิตภาพ ขนมเปี๊ยะสอดไส้กระดาษมีข้อความ จากเว็ป orientaldaily.on.cc
เมื่อเป้าหมายเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น
ความพยายามหาช่องทางเตรียมความพร้อม
ก็ยิ่งต้องแนบเนียน และพร้อมมากขึ้น
1
ก่อนถึงวันเพ็ญเดือนแปดตามนัดหมาย
ชาวฮั่นทุกครัวเรือน
กลางวัน นั้นเล่า
ใช้ชีวิตตามปกติวิสัย เหมือนไม่มีอะไร
ตกกลางคืน ก็ซุ่มทำ และตระเตรียมอาวุธ
มีด หอก ฯลฯ ต่างๆ นานา
หมายใช้ก่อการกบฏ ตามที่มีปณิธานร่วมกัน
1
ครั้นเมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือนแปด 15 ค่ำ ตามนัดหมาย
กลุ่มชาวฮั่นทั้งหลายก็ลุกฮือ รวมตัวกัน
ก่อการกบฏขึ้นโดยพร้อมเพรียง
จนสามารถขับไล่ทหารมองโกลออกจากแผ่นดินจงหยวนได้
บางส่วนที่หนีไม่ทัน ก็ถูกชาวฮั่นฆ่า ล้มตายไปก็มี
1
ที่สุดแล้ว การลุกขึ้นก่อการกบฏปราบมองโกลในครั้งนี้
ก็สามารถโค่นล้มราชวงศ์เอวี๋ยนลงได้สำเร็จตามที่ตั้งใจ
1
และในค่ำคืนนั้นเอง
จูเอวี๋ยนจาง ก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้
ก่อตั้งราชวงศ์หมิง (จีนกลาง) หรือ เม้ง (แต้จิ๋ว) ( 明朝 )
ขึ้นปกครองแผ่นดินจีนสืบต่อมา
1
ซึ่งจากเหตุการณ์โค่นล้มราชวงศ์เอวี๋ยนในครั้งนั้น
ชาวจีนจึงได้ถือเอา วันเพ็ญเดือน 8 ของทุกปี
เป็นวันเทศกาลไหว้พระจันทร์
1
มีการไหว้ขนมเปี๊ยะ
เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งร่วมกันขับไล่มองโกล
โค่นล้มราชวงศ์เอวี๋ยน
โดยถือเป็นงานฉลองระดับชาติที่สืบต่อกันมา
ตราบนาน เนิ่นนานเลยทีเดียว
1
ขอบคุณเครดิตภาพ จูเอวี๋ยนจาง จากเว็ป nbkfs.com
และนี่ก็คืออีกหนึ่งตำนาน
ที่ตัวเราเอง รู้สึกประทับใจในความสามัคคี
ภายใต้ปัญญาญาณที่หลักแหลมแยบคาย
ของกุนซือผู้ชำนาญหลากหลายศาสตร์
อย่างท่านหลิวป๋ออุน
ซึ่งต่อมา ได้เป็นที่ปรึกษาคนสนิทให้กับ
จูเอวี๋ยนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง
ผู้ซึ่งสร้างวีรกรรมอีกมากมาย
ไม่เพียงแค่ตำนานขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์เท่านั้น
1
...
...
และสำหรับตอนท้าย ของโพสต์นี้
ขออนุญาต ย้อนกลับไปที่ข้อความ
ที่ได้ทำสัญลักษณ์ ** ไว้ตรงท้ายประโยค
" 15 ค่ำ เดือน 8 สังหารพวกตาด " **
( 八月十五殺韃子 )
1
ขอขยายความเพิ่มเติมเล็กน้อยพอสังเขป
คำว่า 韃子 ออกเสียงภาษาจีนกลางว่า ต๋าจื่อ
หรือ ตาด นั่นเอง
1
แท้จริงแล้ว ตาด เป็นชื่อของชนเผ่าๆ หนึ่งในมองโกล
ซึ่งชนเผ่านี้ ชอบเร่ร่อน ก่อกวน
และบุกรุกหัวเมืองชายแดนแผ่นดินฮั่น อยู่เป็นประจำ
1
โดยมักตั้งภูมิลำเนาปักหลักอยู่ในแถบแม่น้ำหวงเหอ ( 黃河 )
หรือแม่น้ำฮวงโห (ซึ่งแปลว่าแม่น้ำเหลือง) ในเขตภาคเหนือของจีน
1
ซึ่งฮ่องเต้แผ่นดินฮั่น มักประฌามหยามเหยียบ
เรียกชาวชนเผ่า ตาด ว่า เป็นพวกคนป่า
และในบางครั้งก็เรียกเหมารวมคนมองโกล
ว่าเป็นพวกตาดมองโกล เช่นกัน
1
ฉะนั้น ข้อความในกระดาษ
สอดไส้ขนมไหว้พระจันทร์
ภายใต้กุศโลบายที่แยบคาย
ของท่านหลิวป๋ออุน
" 15 ค่ำ เดือน 8 สังหารพวกตาด " **
( 八月十五殺韃子 )
1
จึงหมายถึงรวมตัวกัน
ลุกขึ้นฆ่า สังขารชาวมองโกล
ในค่ำคืนวันเพ็ญเดือนแปด นั่นเอง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา