22 ก.ย. 2021 เวลา 15:11 • ความคิดเห็น
ตรรกะเพี้ยน?
เราขออธิบายตามที่ตัวเองคิดแล้วกันค่ะ
คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับยุคสมัยและทัศนคติของคนที่ตัดสินนะคะ
- ยกตัวอย่างเช่นเรื่องความเท่าเทียม
A คน'ส่วนใหญ่'บอกว่าต่างจังหวัดก็ควรได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ต่างกับเมืองใหญ่ ไม่ใช่ทุกอย่างก็ไปรวมกันอยู่แค่กรุงเทพที่เดียว ควรมีการศึกษา มีไฟฟ้า มีรถสาธารณะ
B คนกลุ่มหนึ่งบอกว่าคนบนเขาก็ควรปล่อยให้เป็นแบบนั้น มันเป็นเอกลักษณ์ เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องพัฒนา
A คน'ส่วนใหญ่'แย้งว่า เรากับเขาก็คนเท่ากัน แค่อยู่ต่างที่ไม่ได้แปลว่าต้องมีสิทธิ์ในการใช้ชีวิตที่ต่างกัน
จะเห็นว่าเราใช้คำว่าคนส่วนใหญ่ ซึ่งเพราะเรามองว่าตรรกะจะดีจะป่วย มันขึ้นอยู่กับคนจะมองค่ะ แล้วค่านิยมในสังคมมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามคนส่วนมากในช่วงเวลานั้นๆ
ปัจจุบันตรรกะแบบ A เป็นที่ยอมรับมากในโลก จึงทำให้ตรรกะ B ถูกนิยามว่า 'ตรรกะเพี้ยน' เพราะมันไม่ตรงกับที่คนส่วนใหญ่คิด
ทั้งที่เมื่อก่อน ตรรกะแบบ B อาจเป็นที่ยอมรับมากกว่าก็ได้ ในสมัยนั้นตรรกะ A ก็คงจะดูแปลก ดู'เพี้ยน'เช่นกัน
เรื่องนี้คล้ายกับวิทยาศาสตร์ค่ะ ในเชิงที่ว่า "วิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ หากมีข้อมูลใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า"
ดังนั้นตรรกะของคนส่วนใหญ่อาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ เมื่อเวลาผ่านไปค่านิยมที่เคยคิดว่าดีก็อาจจะไม่ดีอย่างที่คิดแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังมีนิสัยชอบต่อต้านสิ่งที่แปลกแยกอยู่ค่ะ ดังนั้นจึงเกิดคำว่า 'ตรรกะเพี้ยน' ขึ้นมา
โฆษณา