23 ก.ย. 2021 เวลา 07:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จากสยามกัมมาจลสู่ SCB x (ตอนที่ 1)
“แตกแล้วโต” Spin off จากธนาคารสู่กลุ่มเทคโนโลยีทางการเงิน (1)
#Station101 #SlowDownAndListen #101NewsAndTalk #เพิ่มทุกมุมคิดพลิกทุกมุมข่าว #101News #คลื่นข่าวอันดับ1บนหน้าปัดวิทยุ #SCB #SCBx #สยามกัมมาจล #ไทยพาณิชย์
ปรากฏการณ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่แถลงข่าวออกมาเมื่อวาน (22 ก.ย.) อาจจะดูเป็นเรื่องแปลกที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีอายุกว่า 115 ปี เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5ในนาม “สยามกัมมาจล”จะกล้าปรับเปลี่ยนอย่างมากมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนบทบาทการเป็นธนาคารพาณิชย์ที่รายได้หลักคือการรับฝากและปล่อยกู้ มาเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ได้ แต่หากย้อนหลังกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงของธนาคารที่เป็นอันดับหนึ่งในห้าของธนาคารพาณิชย์ไทยก็จะเห็นว่า เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น
- เป็นธนาคารแห่งแรกที่นำระบบ ATM (Automatic Teller Machine) เข้ามาใช้เป็นแห่งแรก เมื่อ24 มี.ค.2526 เรียกว่า”บริการเงินด่วน” ซึ่งระยะแรกเบิกจ่ายได้เฉพาะธนาคารที่เปิดบัญชีเท่านั้น ก่อนจะกลายเป็นความนิยม จนเกิด ATM Pool ซึ่งเบิกจ่ายได้ข้ามธนาคาร (และอีกไม่นานก็จะหมดความสำคัญไป เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำการแทน)
- เป็นธนาคารที่นำนักการตลาดอย่างคุณกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ แห่งยูนิลีเวอร์ มานั่ง CEO ของธนาคารในปี 2550-2558 เพื่อบุกเบิกงานด้านรีเทลแบงก์กิ้ง
หัวใจคือ “แตกแล้วโต” ทำในสิ่งที่แบงก์ไม่ถนัด
แผนการของธนาคารที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองในลักษณะ”แตกแล้วโต” หลักการที่ได้รับอนุมัติจากบอร์ดของแบงก์คือ
การตั้งตั้ง "SCB x" (เอสซีบีเอ็กซ์)เป็นโฮลดิ้งคอมพานี แล้วโยกผู้ถือหุ้น SCB ไปถือหุ้น SCB x แทน ในสัดส่วน 1:1พร้อมนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแทน (แต่ยังใช้ชื่อหุ้นเดิมคือ SCB) แล้วให้ SCB x เป็นบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์"ยานแม่ฟินเทค" โดยประกาศว่าภายใน 5 ปี SCB x กำไรโต 1.5-2 เท่า มาร์เก็ตแคป แตะ 1 ล้านล้านบาท และโอนย้ายบริษัทย่อย และการโอนธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ตั้งเป็นบริษัท่ใหม่ ตามแผนปรับโครงสร้างการถือหุ้น ธนาคารประเมินมูลค่าการโอนย้ายของบริษัทย่อยจะอยู่ที่ประมาณ 19,504 ล้านบาท
และเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น คณะกรรมการอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรสุทธิและกำไรสะสมตามงบการเงินเฉพาะล่าสุดของธนาคารจำนวน 70,000 ล้านบาท ให้แก่ SCBx และผู้ถือหุ้นอื่น โดยคาดว่าเงินปันผลส่วนใหญ่ที่จ่ายให้ SCB x จะถูกใช้เป็นค่าตอบแทนสำหรับการโอนบริษัทย่อยและธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และเป็นเงินลงทุนสำหรับขยายธุรกิจในอนาคต และแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ แสดงความเห็นเกี่ยวกับแผนปรับโครงสร้างถือหุ้นและเพิกถอนจากตลาดฯ
โดยกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งธนาคารควบคู่ไปกับการสร้างธุรกิจใหม่สำหรับอนาคตนั้น ในส่วนของธนาคารจะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการปรับลดกระบวนการขั้นตอนต่างๆให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปให้มากที่สุดในทุกช่องทาง ธนาคารจะเน้นความสำคัญกับการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าเป็นที่ตั้ง
(พบกับตอนที่ 2 SCB x ไม่ใช่แค่แบงก์ แต่คือกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน ที่จับมือกับพันธมิตรทำธุรกิจ)
โฆษณา