Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลือชัย พิศจำรูญ
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2021 เวลา 13:12 • นิยาย เรื่องสั้น
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (21)
“วีรกรรมที่ล็อคแอน-3”
...รวมนับศพข้าศึกที่ล้มหายตายจากอยู่รอบฐานในเช้าวันนั้นได้ทันที 212 ศพ ภายหลังจากติดตามกวาดล้างและเคลียร์พื้นที่ไปทางทิศตะวันออกก็พบศพอีก 40 กว่าศพทั้งที่นั่งอยู่ใต้ดินและโผล่อยู่บนดิน รวมแล้วพวกเราได้บอดี้เคานต์” หรือ “นับศพ” ได้เกือบ 300 ศพ....
ระหว่างเวลาตีห้ากับหกโมงเช้า ฐาน “ล็อคแอน” ใกล้จะละลาย หรือ “โอเวอร์รัน” เต็มแย่ ทั้งนี้เพราะแต่ละหลุมปืนและแต่ละแนวยิงเกือบจะไม่มีกระสุนติดตัวสักคน คงมีอยู่บ้างทางพวกรถ เอ.พี.ซี. และหมวดลาดตระเวน เพราะข้าศึกเข้าที่ด้านนั้นเบาบางมาก
พวกตั้งรับในแนวทิศใต้และตะวันตกต้องวิ่งหลบกระสุนข้าศึกให้วุ่นไปเพื่อไปเอากระสุนจากฝ่ายเดียวกันก็พอดีผู้ช่วยพระเอกมาทันเวลาคือ รถ เอ.พี.ซี. 4 คัน ซึ่งทําหน้าที่เฝ้าถนนและสะพานที่ “แทมเทียน” มี ร.ต. สุพจน์ วงศ์ชั้น เป็นผู้บังคับหมวดโดยมีผมเป็นผู้สั่งการทางวิทยุ ชักนําตั้งแต่จุดเฝ้าตรวจจนถึงฐานล็อคแอนก็เป็นระยะไกลโข เพราะน้องสุพจน์นี่เพิ่งไปถึงเวียดนามหมาด ๆ ยังไม่รู้จักภูมิประเทศและออกรบเลย แต่ทว่า “น้ำใจ” นั้นกินขาด
พอขบวน เอ.พี.ซี. ทั้งสี่คันเข้าถึงขอบเขตใกล้ฐานก็ระดมเปิดฉากการยิงขนานใหญ่ พวกข้าศึกล้มตายเพิ่มเติมอีกมาก เพราะปรากฏว่าถูกขนาบหลังทําให้กําลังบางส่วนถึงกับถอนตัวหนีไม่ทัน ซึ่งขณะนั้นใกล้จะหกโมงเช้าแล้ว...
นี่ก็เป็น “วีรบุรุษ” อีกผู้หนึ่ง แต่เขาก็ต้องมาดับดิ้นเพราะข้าศึกศัตรูโฉดชั่ว เพราะพวกคน ไทยใจทาสในบ้านของเราเอง นั่นคือ ร้อยตรี สุพจน์ วงศ์ชั้น ได้มาเสียชีวิตที่จังหวัดน่านเพราะถูก ผกค. ซุ่มโจมตีระหว่างปฏิบัติภารกิจคุ้มกันการสร้างทางทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน ...
เมื่อมาถึงตอนนี้แล้วท่านผู้ อ่านยังมีความรู้สึกเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่าครับ ?
ประมาณเจ็ดโมงเช้ายังมีการปะทะกันอยู่ประปราย ผมถอนกําลังทั้ง 75 คนกวาดล้างกลับมายึดได้อาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย โดยเฉพาะลูก ค. และอาร์.พี.จี. นอกจากนี้ก็เป็นหลุมศพใหม่ รวมทั้งแขนขาคนตาย เกลื่อนกลาดตลอดทางจากบ้านบินห์ลัมถึงฐานล็อคแอน
เมื่อกลับมาถึงในฐานแล้ว บริเวณหน้าฐานผมสังเกตเห็นทหารไทยวิ่งกันสับสนไปมาอยู่ 2-3 กลุ่ม บางพวกก็จับกลุ่มยืนวิจารณ์กันอยู่ ผมเลยเกร่เข้าไปดูก็ปรากฏว่า ....
อะไรหรือครับ ?
เรื่องของเรื่องก็คือ พวกทหารพี่ไทยกําลัง “ซ้อมฟุตบอล” โดยมีเวียดกง “เป็น ๆ” สองคนเป็นลูกบอล ผมเลยต้องเข้าไปห้ามปรามเพื่อจะเก็บไว้ซักถามข่าวสาร (สําหรับพวกร่อแร่นั้นเพื่อน ๆ เสียบซะเรียบร้อยหมดแล้ว) แต่ก็ยังช้าไปอยู่ดีนะเอง เพราะคนหนึ่งได้กระอักออกมาเป็นเลือดและ “เรียบร้อย” ไปแล้ว คงรอดแบบร่อแร่เพียงหนึ่งคนซึ่งก็ยังดีและดีมากเสียด้วย เพราะภายหลังจากกรรมวิธีการซักถามเชลยศึกแล้ว พวกเราได้ “อะไรๆ” จาก เชลยเวียดกงผู้นี้มากมาย แต่ที่ร้าย
ที่สุดก็คือ ...
“โกลาง” แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวที่ลองถั่นและแฟนของ ทหารไทยหลาย ๆ คนก็มาถูกยิงเละอยู่หน้าฐานของพวกเราที่ลอคแอน เล่นเอาพวกเราหลายคนที่เคยไปทํา“กรรม” ไว้กับเจ้าหล่อนนอนผวาไปหลายคืน
สรุปผลการยุทธ “เลือดล้างเลือดที่ล็อคแอน” ครั้ง นี้ทําให้ กรมทหารราบของเวียดนามเหนือ โดยเฉพาะ กรม. 272 ถึงกับสิ้นลายเสือไปทันที หมดสภาพที่จะเป็นหน่วยรบเต็มขนาดไปเป็นเวลาหลายเดือนเพราะกรม 272 นี้เคยฝากชื่อและวีรกรรมอันลือลั่นไว้ทั่วยุทธภูมิเวียดนามตลอดจนภาคเหนือของประเทศลาว แต่ต้องมาดับแสงเพราะทหารไทยเพียงกองร้อยเดียวพร้อมด้วยการสนับสนุนของปืนใหญ่และ ฮ. ติดอาวุธที่ประ สานงานกันอย่างดีเยี่ยม
รวมนับศพข้าศึกที่ล้มหายตายจากอยู่รอบฐานในเช้าวันนั้นได้ทันที่ 212 ศพ ภายหลังจากติดตามกวาดล้างและเคลียร์พื้นที่ไปทางทิศตะวันออกก็พบศพอีก 40 กว่าศพทั้งที่นั่งอยู่ใต้ดินและโผล่อยู่บนดิน รวมแล้วพวกเราได้บอดี้เคานต์” หรือ “นับศพ” ได้เกือบสามร้อยศพ ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์นั้นไม่ต้องพูดถึง มากมายก่ายกองเสียเหลือจะนับ....
จนขนาดที่ว่า ถ้าผมมีเวลาพออาจจะเขียนเล่าอะไรสนุก ๆ ให้ท่านอ่านเกี่ยวกับ“สงครามแย่งอาก้า” อีกสักตอนสองตอนก็พอได้แต่ตอนนี้เป็น “พี่ไทย” ฟัดกันเองนะครับ อย่าเข้าใจผิด… ฮึ ! ฮึ ! ฮึ !
ส่วนผลลัพธ์ฝ่ายเราหรือครับ...เสร็จไปเจ็ด เจ็บทั้งสาหัสและไม่สาหัสก็สิบสามคนพอดีพวกเวียดกงที่ไม่ตายจากการรบเมื่อคืนนี้ ตอนเช้าก็แปลงร่างมาเป็นชาวบ้านธรรมดาเข้ามาหาข่าวใกล้ฐานถึงกับครางอ๋อย ๆ เลยว่า “คนไทยเลี้ยงผี” มีอย่างที่ไหนยิงกันทั้งวันทั้งคืน ขนาดกระป๋องเศษอาหารวางอยู่กับพื้นดินแท้ ๆ ยังพรุน ปานแว่นบีบขนมจีน ยางรถยนต์ทุกเส้นแตกระเบิดทั้งหมด เสาวิทยุทุกต้นหัก-ขาดกระจุยขึ้นไปติดค้างอยู่บนยอดยาง จนต้องใช้วิทย พี.อาร์.ซี-๒๕ เสาสูงธรรมดาพูดติดต่อกับ บก. แบร์แคทและพวกนักบิน ปรากฏว่า ทหารไทยตายเจ็ดคนเจ็บสิบกว่าคน ไม่เคยพบเคยเห็น
พวกเวียดนามถึงกับมีคําพังเพยสั่งสอนกันไว้เลยเชียวว่า “บ้านใครที่มีลูกสาวสวย ๆ แล้วไม่ยอมให้ทหารไทยจีบละก็ ระวังตัวให้ดี ทหารไทยเขาจะเสกหนังควายเข้าท้องให้ปวดจนตาย” ถึงขนาดนี้ก็มี
แต่ที่แน่ ๆ ผมเคยเห็นกะตาบ่อย ๆ ว่าทหารไทยสามารถ “เสกคาถา” ให้บุหรี่ซาเล็มหรือพอลมอนกลายเป็น “ดิน ได้ชงัดนัก ถ้าท่านไม่เชื่อลองไปถามพวกผ่านศึกเวียดนามดูเถอะครับ ฮึ ! ฮึ ! ฮึ ! .
นอกจากนี้ก็มี ฮ. พยาบาลของไอ้กันถูกยิงเสียหายต้องลงฉุกเฉินในฐานหนึ่งเครื่อง ผู้ช่วย ฝอ. 3 คือ ร.อ. เฉลิมชัย หิรัญอาจ ผมหงอกไปสิบกว่าเส้น นายสิบติดต่อฝรั่งซึ่งอยู่ช่วย ฝอ. 3 ซึ่งมีความกล้าหาญมากได้เหรียญกล้าหาญ “ซิลเวอร์สตาร์” ร้อยโทบุญเลิศ แก้ว ประสิทธิ์ ก็ได้เหรียญกล้าหาญ “ซิลเวอร์สตาร์” เหมือนกัน แต่ผมหงอกไปประมาณสิบห้าเส้น และบรรดาจ่าสิบเอกทั้งหลายซึ่งทําหน้าที่ผู้บังคับหมวดก็ได้เป็นนายทหารทั้งหมดในคราวเดียวกันนี้
สําหรับตัวของกระผมเองนั้นไม่ได้อะไรเลย เพราะว่าถึงจะรบเก่งหรือทํางานดีอย่างไรก็ตามแต่ถ้า “ปากปีจอ” เพราะ “พูดความจริง” แล้วละก็เป็น “เรียบร้อยโรงเรียนญวน” ทุกราย ถ้ายังติดอยู่กับระบบแบบ “พี่ไทย” เราอย่างนี้.
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (22)
“การรบที่บินห์สัน”
........ฝ่ายเวียดกงใช้กำลังมากกว่าฝ่ายไทยหลายเท่าตัวด้วยหวังที่จะทำลายกองร้อยทหารไทยทั้ง 2 กองร้อยให้ได้ก่อนรุ่งเช้าวันนั้น......
พล.ท.สาโรจน์ รบบำรุง ซึ่งไปปฏิบัติการรบใน กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 1 “กองพลเสือดำ” ได้เล่าถึงการรบที่บินห์สัน ซึ่งมีรายละเอียดในรายงานการปฏิบัติของ
กองพลอย่างเป็นทางการดังนี้...
การเข้าตีของเวียดกงครั้งที่ 1...
กองร้อยที่ 2 และกองร้อยที่ 3 ของ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณสนามบินบินห์สัน ภูมิประเทศเป็นป่าทึบและสวนยาง มีลำคลองเล็กๆหลายสายไหลผ่าน ซึ่งยากลำบากอย่างยิ่งต่อการระวังป้องกันจากการซุ่มโจมตีจากฝ่ายเวียดกง ส่วนเส้นทางคมนาคมสำหรับเคลื่อนย้ายกำลังสามารถใช้ได้ทั้งทางรถยนต์ เรือเล็ก และเฮลิคอปเตอร์
ในวันที่ 21 กันยายน 2511 เวลาประมาณ 03.00 น. กำลังเวียนกงประมาณ 1 กองพัน จากกองพันที่ 3 กรมที่ 274 ซึ่งเป็นกลุ่มกองโจรที่เข้มแข็งที่สุดของเวียดกงได้เข้าตีที่ตั้งหน่วยกองร้อยที่ 2 และกองร้อยที่ 3 กองพันทหารราบที่ 1 ของไทยที่บ้านบินห์สันแห่งนี้ โดยเริ่มโจมตีด้วยการยิงจรวด RPG และเครื่องยิงลูกระเบิดจากที่ตั้งยิงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าไปในฐานปฏิบัติการกองร้อย
ทหารไทยอย่างหนาแน่นก่อนเพื่อเปิดทาง
หลังจากนั้นได้ส่งกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีรอบฐานปฏิบัติการถึง 5 ทิศทางเป็น 2 ระลอก
ระลอกแรกเวียดกงได้ใช้กำลังส่วนน้อยเป็นหน่วยเข้าตีลวงก่อนจากทางด้านทิศใต้เพื่อลวงให้ฝ่ายไทยเข้าใจผิดว่าเป็นหน่วยเข้าตีหลัก แล้วจึงใช้กำลังส่วนใหญ่ซึ่งเป็นหน่วยเข้าตีหลักแยกกันเข้าตี 3 ทิศทางเป็นระลอกที่สองคือทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีพลปืนเล็กชุดยิงสนับสนุนจากทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
เมื่อถูกฝ่ายเวียดกงโจมตีรอบทิศทางเช่นนั้น ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 และผู้บังคับกองร้อยที่ 3 จึงต้องอำนวยการรบอย่างหนักแยกย้ายกำลังออกต้านทานด้วยอาวุธประจำกายและอาวุธประจำหน่วยพร้อมกับรายงานสถานการณ์ให้หน่วยเหนือทราบและขอการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่ของกองพลด้วย
กองพลทหารอาสาสมัครได้ใช้ปืนใหญ่ของกองพลทั้ง 4 กองร้อยจากฐานยิงปฏิบัติการยิงสนับสนุนและชุดเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธของทหารสหรัฐ (เฮลิคอปเตอร์แบบ AH-1 จำนวน 2 เครื่อง และแบบ scout 1 เครื่อง) ทุ่มกำลังยิงทั้งหมดสนับสนุนอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง
ฝ่ายเวียดกงใช้กำลังมากกว่าฝ่ายไทยหลายเท่าตัวด้วยหวังที่จะทำลายกองร้อยทหารไทยทั้ง 2 กองร้อยให้ได้ก่อนรุ่งเช้าวันนั้น
แม้ว่าฝ่ายเวียดกงจะระดมยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดเข้าไปในฐานปฏิบัติการของทหารไทยอย่างหนาแน่น แต่ปืนใหญ่ของกองพลก็ยังคงทำการยิงอย่างต่อเนื่องหนาแน่นและแม่นยำ โดยอาศัยผู้ตรวจการณ์หน้าทหารปืนใหญ่ที่ประจำอยู่กับกองร้อยทหารราบซึ่งปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจนปืนใหญ่สามารถยิงขัดขวางฝ่ายเวียดกงหน้าแนวที่มั่นทหารไทยในระยะเพียง 150 ถึง 200 หลา
จากอำนาจการยิงดังกล่าวสามารถสังหารพวกเวียดกงได้เป็นจำนวนมาก ฝ่ายข้าศึกจึงต้องประสบความล้มเหลวในการเข้าตีครั้งนี้
ปืนใหญ่ได้ยุติการยิงลงเมื่อเวลา 05.30 น.ต่อจากนั้น ทหารราบได้เข้าทำการรบประชิดเพื่อกวาดล้างฝ่ายเวียดกงโดยเด็ดขาดต่อไป
เวลาประมาณ 07.30 น. ฝ่ายเวียดกงได้ร่นถอยกลับไป กรมทหารราบที่ 1 จึงได้ส่งกำลังไล่ติดตามจนข้าศึกออกพ้นนอกพื้นที่ปฏิบัติการหมดสิ้น
ผลการสูญเสียฝ่ายไทยเสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บสาหัส 11 นาย บาดเจ็บไม่สาหัส 15 นาย
ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 65 ศพ ในจำนวนนี้เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนใหญ่ 54 ศพ คาดว่านำศพกลับไปได้ประมาณ 30 ศพ ยึดได้ปืนอาก้า 47 จำนวน 22 กระบอก จรวด RPG 8 กระบอก ปืนกลเบาผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน 1
กระบอกและยุทโธปกรณ์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
การเข้าตีครั้งที่ 2
หลังจากถูกเวียดกงบุกโจมตีครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2511 แล้วเหตุการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติการด้านนี้ก็สงบเรียบร้อยตลอดมา จนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2512 เวลา 01.00 น.กำลังเวียดกงจากหน่วยเดิมคือกรมที่ 274 ประมาณ 1 กองพัน มีหน่วยทหารช่างสังหาร(แซปเปอร์)เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักได้เข้าตีที่ตั้ง ซึ่งมีเพียงกองร้อยเดียว คือกองร้อยที่ 3 กองพันทหารราบที่ 3 ของไทยซึ่งเข้ามาสับเปลี่ยนกำลังกับ 2 กองร้อยเดิมของกองพันทหารราบที่ 1 ที่บ้านบินห์สันแห่งนี้
ครั้งนี้ข้าศึกได้เข้าตีเป็น 2 ทิศทางคือทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเฉียง
เหนือ แต่ฝ่ายไทยคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วจึงเตรียมวางกำลังต่อสู้ในทางลึกเพื่อให้สามารถทำลายเวียดกงได้ตั้งแต่ระยะไกลก่อนจะเข้าประชิด
นอกจากนั้นยังได้ให้ปืนใหญ่ของกองพลยิงสนับสนุนขัดขวางการบุกของข้าศึก สมทบด้วยการยิงของเครื่องบินสปุ๊กกี้พร้อมกับทิ้งพลุส่องสว่าง เป็นผลให้ฝ่ายเวียดกงประสบกับการสูญเสียเป็นจำนวนมาก กำลังส่วนที่เหลือไม่กล้าเข้าประชิดที่มั่นฝ่ายไทยและปราชัยไปในที่สุด
การสู้รบครั้งที่สองนี้ยุติลงในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเวลาประมาณ 03.00 น.พอดีกับเกิดพายุฝนตกอย่างหนัก เวียดกงจึงอาศัยเป็นฉากกำบังธรรมชาติในการร่นถอยกลับไปทำให้ฝ่ายไทยไม่สามารถไล่ติดตาม รวมทั้งตรวจผลการปฏิบัติได้อีกด้วย ต้องรอจนกระทั่งเช้าจึงได้สำรวจผลการรบ
ปรากฏว่าฝ่ายไทยเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บสาหัส 7 นาย บาดเจ็บไม่สาหัส 4 นาย
ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 41 ศพ ยึดปืนอาก้า 47 ได้ 17 กระบอก จรวด RPG 2 และ RPG 7 15 กระบอก กระสุน วัตถุระเบิด และสิ่งอุปกรณ์ต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก
ยังจะมีการเข้าตีอีกเป็นครั้งที่สาม ในวันรุ่งขึ้น...
กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (23)
“การรบที่บินห์สัน-2”
......การรบที่บ้านบินห์สันทั้งสามครั้งนี้ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตทิ้งศพไว้ในพื้นที่การรบรวมแล้วถึง 182 ศพ ขณะที่ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิตเพียง 6 นาย บาดเจ็บ 37 นาย....
การรบที่บินห์สันครั้งที่ 3 ....
หลังจากกองพันเวียดกงจากกรมที่ 274 เข้าตีฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2512 อีกเป็นครั้งที่สอง แต่ก็ไม่ประสบสำเร็จ
ต่อมา ในคืนวันรุ่งขึ้นที่ 13 พฤษภาคม 2512 เวลาประมาณ 00.25 น. เวียดกงจึงพยายามที่จะทำลายล้างที่ตั้งฐานปฏิบัติการของกองร้อยที่ 3 กองพันทหารราบที่ 3 กับหมวดทหารม้าที่ 1 กองร้อยที่ 1 ที่ขึ้นสมทบอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกำลังเข้าตีพร้อมกันเป็น 3 ทิศทาง คือด้านทิศเหนือ ใต้ และตะวันออก
การเข้าตีของเวียดกงครั้งนี้ กรมทหารราบที่ 1 ได้ใช้ปืนใหญ่ของกองพลและเครื่องบินสปุ๊กกี้สนับสนุนการรบเข้าทำลายเวียดกงอย่างได้ผลดีเช่นเดย
ฝ่ายเวียดกงได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ แต่ยังคงดำรงความมุ่งหมายหลักที่จะเข้าโจมตีที่ตั้งกำลังทหารไทยด้วยกำลังลาดตระเวนส่วนที่เหลือประมาณ 1 กองร้อยเข้าตีโอบรอบฐานปฏิบัติการกองร้อยที่ 3
ทหารไทยได้ต่อต้านการเข้าตีของเวียดกงด้วยอาวุธปืนทุกชนิดทั้งทางพื้นดินและกำลังทางอากาศตลอดจนปืนใหญ่ทั้งหมดของกองพลรวมกำลังยิงไปยังพื้นที่การรบ จนกระทั่งรุ่งเช้าฝ่ายเวียดกงจึงร่นถอยไป กำลังฝ่ายไทยได้ติดตามข้าศึกไปจนถึงป่าทึบแล้วจึงยุติการติดตามและกลับฐานที่มั่นเมื่อเวลา 07.00 น.
ผลการรบฝ่ายไทยทุกคนปลอดภัย ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 87 ศพ ยึดอาวุธปืนอาก้า 47 ได้ 3 กระบอกและยุทโธปกรณ์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
สรุปแล้ว ฝ่ายเวียดกงพยามเข้าตีทหารไทยที่บ้านบินห์สัน รวมแล้วถึงสามครั้งด้วยกัน ครั้งแรก วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2511 ครั้งที่สอง วันที่ 12 พฤษภาคม
พ.ศ.2512 และครั้งที่สามติดต่อกันในวันรุ่งขึ้น 13 พฤษภาคม พ.ศ.2512 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จทั้งสามครั้ง
การรบที่บ้านบินห์สันทั้งสามครั้งนี้ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตทิ้งศพไว้ในพื้นที่การรบรวมแล้วถึง 182 ศพ ขณะที่ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิตเพียง 6 นาย บาดเจ็บ 37 นาย
หลังจากนั้นเวียดกงก็ไม่พยายามปฏิบัติการขนาดใหญ่เช่นนี้กับทหารไทยที่บินห์สันอีกเลย
แต่ฝ่ายเวียดกงยังไม่ละความพยายามในการที่จะทำลายทหารไทยให้จงได้ จึงได้เปิดการรุกใหญ่ต่อที่ตั้งทหารไทยอีกครั้งหนึ่งในเดือนถัดมาแต่เปลี่ยนที่หมายเป็นกองร้อยทหารไทยที่หมู่บ้านล็อคอัน (Loc An) ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2512 ซึ่ง ร้อยโท สาโรจน์ รบบำรุง ได้เล่าประสบการณ์ของท่านในการรบครั้งนี้ไว้แล้วเป็นบางส่วน
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (24)
“การรบที่ล็อคอัน”
....การสูญเสียของฝ่ายไทย เสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บสาหัส 19 นาย บาดเจ็บไม่สาหัส 8 นาย
ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 116 ศพ จับเป็นเชลยศึกได้ 3 นาย…
ระหว่างที่ฝ่ายเวียดกงพยายามเข้าตีฝ่ายไทยที่บ้านบินห์สันตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2511 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2512 รวมทั้งสิ้นถึง 3 ครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จและต้องสูญเสียอย่างหนักทุกครั้งนั้น เวียดกงได้เปิดยุทธการเสริมด้วยการเข้าตีที่ตั้งกองร้อยทหารไทยที่หมู่บ้านล็อคอันเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2512 ซึ่ง พลโท สาโรจน์ รบบำรุง ได้เข้าร่วมในการรบครั้งนี้และได้เขียน
บันทึกไว้บางส่วน
ผลการรบตามรายงานของ กองพลทหารอาสาสมัคร เป็นดังนี้...
“ การรบที่ล็อคอัน ครั้งที่ 1”...
กรมทหารราบที่ 1 ได้รับคำสั่งจากกองพลอาสาสมัคร ให้จัดกำลังไปตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณหมู่บ้านล็อคอันเพื่อสกัดกั้นกองกำลังเวียดกงกองพันที่ 2 กรมที่ 274
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพันทหารราบที่ 3 จัดกำลัง 2 กองร้อยไปวางในพื้นที่ที่กำหนดและกองพันทหารราบที่ 3 ได้ส่งกองร้อยที่ 1 และกองร้อยที่ 2 ออกไปปฏิบัติการ
หมู่บ้านล็อคอันเป็นหมู่บ้านร้างทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอลองถั่น จังหวัดเบียนหว่า ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกองพล รอบพื้นที่เป็นที่ลุ่มป่าชายเลนนและสวนยาง มีลำห้วยหลายสายไหลผ่าน เส้นทางคมนาคมสำคัญคือถนน
สาย 15 นอกจากนั้นต้องใช้ทางเกวียนหรือใช้เรือเล็กไปตามลำน้ำกับเคลื่อนที่ทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์
ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2512 เวลาประมาณ 02.15 น. กำลังเวียดกง 1 กองพันเพิ่มเติมกำลังได้เริ่มเข้าตีกองร้อยทหารไทยทั้ง 2 กองร้อยโดยเริ่มจากการยิงเตรียมด้วยจรวด RPG และเครื่องยิงลูกระเบิดแล้วใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีเป็น 3 ทิศทาง คือทางเหนือ ใต้ และตะวันตกเฉียงใต้
กองร้อยทหารไทยได้ยิงโต้ตอบด้วยอาวุธยิงของหน่วยกับขอรับการสนับสนุนจากปืนใหญ่ของกองพลและชุดเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธของกองทัพสนามที่ 2 สหรัฐ
กองพลทหารอาสาสมัครได้สั่งให้หมวดทหารม้ายานเกราะที่ 1 กองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้ายานเกราะซึ่งปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนและซุ่มโจมตีตามเส้นทางบนถนนสาย 15 สมทบด้วยหมวดทหารราบจากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 ไปเสริมกำลังเมื่อเวลาประมาณ 04.30 น.
การรบดำเนินไปอย่างรุนแรงจนใกล้รุ่งสว่าง ฝ่ายเวียดกงไม่สามารถเข้าถึงที่หมายได้ จึงร่นถอยไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นป่าทึบ ฝ่ายได้ไล่ติดตามทำลายกำลังเวียดกงส่วนนี้ไปจนถึงบริเวณป่าทึบแล้วจึงยุติการติดตามเมื่อเวลาประมาณ 07.00 น.
ผลการรบ...
การสูญเสียของฝ่ายไทย เสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บสาหัส 19 นาย บาดเจ็บไม่สาหัส 8 นาย
ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 116 ศพ จับเป็นเชลยศึกได้ 3 นาย
ยึดปืนอาก้า 47 ได้ 31 กระบอก จรวด RPG -2 จำนวน 8 กระบอก จรวด RPG -7 อีก 4 กระบอกปืนกลเบา 2 กระบอก และยุทโธปกรณ์อีกเป็นจำนวนมาก
ถัดมาในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ฝ่ายเวียดกงจะทุ่มเทกำลังเข้าตีทหารไทยอีกครั้งหนึ่งหวังผลแตกหักที่จะทำลายทหารไทยให้ได้
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (25)
“การรบที่ล็อคอัน-2”
....ผลการรบ ฝ่ายไทยเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บสาหัส 9 คน บาดเจ็บไม่สาหัส 25 คน ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 215 ศพ คาดว่าเสียชีวิตแล้วนำศพกลับไป 40 ศพ จับเป็นเชลยศึกได้ 2 คนซึ่งคนหนึ่งบาดเจ็บและยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก....
ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2512 เวลาประมาณ 02.15 น. กำลังเวียดกง 1 กองพันเพิ่มเติมกำลังได้ตีกองร้อยทหารไทย 2 กองร้อย ที่หมู่บ้านล็อคอัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ฝ่ายไทย เสียชีวิตเพียง 2 นาย บาดเจ็บสาหัส 19 นาย บาดเจ็บไม่สาหัส 8 นาย
ขณะที่ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพในพื้นที่การรบได้ 116 ศพ ถูกจับเป็นเชลยศึก 3 คน
ฝ่ายเวียดกงยังคงไม่ลดละความพยายามที่จะบดขยี้กำลังทหารไทยที่หมู่ล็อคอันแห่งนี้ให้จงได้และอีก 3 เดือนต่อมา ก็ทุ่มเทกำลังเข้าตีกองร้อยทหารไทยที่หมู่บ้านล็อคกอันอีก
ครั้งนี้เพิ่มกำลังเป็น 3 เท่า จากเดิมใช้หน่วยระดับกองพัน แต่การเข้าตีครั้งใหม่นี้ใช้กำลังถึงระดับกรม
บันทึกการสู้รบที่หมู่บ้านล็อคอันครั้งที่ 2 ของกองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 มีดังนี้
“ การรบที่ล็อคอัน ครั้งที่ 2”...
กองร้อยที่ 1 และกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งฐานปฏิบัติการเพื่อรักษาและป้องกันพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณหมู่บ้านล็อคอัน
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2512 เวลาประมาณ 00.40 นกำ ลังเวียดกง 1 กรม หย่อนกำลัง จาก กรมที่ 274 ได้เข้าตีฐานปฏิบัติการของทหารไทยที่บ้านล็อคอันแห่งนี้ โดยเริ่มด้วยการยิงเตรียมด้วยจรวดอาร์พีจี และเครื่องยิงลูกระเบิดอย่างหนัก แล้วส่งกำลังเข้าตี 3 ทิศทาง
หน่วยเข้าตีรองซึ่งเป็นการเข้าตีลวงบุกเข้ามาทางด้านสวนยางทิศเหนือ
ส่วนหน่วยเข้าตีหลักแยกเป็น 2 ทาง ทางทิศใต้เหนือหมู่บ้านล็อคอัน กับทิศตะวันตกเฉียงใต้
หน่วยเข้าตีรองได้เข้าตีลวงก่อนเล็กน้อย แล้วหน่วยเข้าตีหลักได้เข้าตีพร้อมกัน
ฝ่ายเวียดกงพยายามใช้จรวดอาร์พีจีและลูกระเบิดขว้างเพื่อเจาะเข้าไปในที่มั่นตั้งรับของทหารไทย ผู้บังคับกองร้อยทหารไทยได้สั่งให้ใช้อาวุธทุกชนิดโต้ตอบพร้อมกับขอรับการสนับสนุนจากปืนใหญ่ของกองพล 6 กองร้อย นอกจากนั้นกองพลทหารอาสาสมัครยังได้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธกับเครื่องบินสปุ๊กกี้จากกองทัพสนามที่ 2 สหรัฐและการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด
เวียดกงพยายามเข้าตีที่ตั้งทหารไทยถึง 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ การปะทะได้เริ่มเบาบางลงเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. เวียดกงจึงเริ่มถอนตัวไปทางตะวันออกด้านที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยรบเฉพาะกิจออสเตรเลียซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน
กองพลทหารอาสาสมัครได้สั่งให้กองร้อยที่ 3 กองพันทหารราบที่ 2 สมทบด้วยกองร้อยทหารม้ายานเกราะที่ 1 เข้าเสริมกำลังและไล่ติดตามสกัดกั้นการถอนตัว
ของข้าศึกเมื่อเวลา 06.00 น.
การค้นหาและกวาดล้างฝ่ายข้าศึกเสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น.การปฏิบัติการรบครั้งนี้ทหารไทยสามารถยับยั้งและทำลายการเข้าตีของฝ่ายเวียดกงขนาด
1 กรมลงได้ทั้งๆที่มีกำลังและอาวุธน้อยกว่าหลายเท่าตัว
ผลการรบ ฝ่ายไทยเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บสาหัส 9 คน บาดเจ็บไม่สาหัส 25 คน
ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้ 215 ศพ คาดว่าเสียชีวิตแล้วนำศพกลับไป 40 ศพ จับเป็นเชลยศึกได้ 2 คนซึ่งคนหนึ่งบาดเจ็บและยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก”
การรวมกำลังเข้าตีทหารไทยครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายของฝ่ายเวียดกง หลังจากนั้นก็มีเพียงการรบขนาดย่อยและเกิดจากการกดดันกวาดล้างของทหารไทยเป็นส่วนใหญ่
จนกระทั่งกองพลทหารอาสาสมัครไทยผลัดสุดท้าย เสร็จสิ้นภารกิจใน 3 ปีถัดมา เมื่อ พ.ศ.2515.
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (26)
“จงอางศึกกับการรบที่ฟุกโถ”
.....เมื่อกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 เข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการที่นั่น (หมู่บ้านฟุกโถ) จึงเป็นการตัดเส้นทางยุทธศาสตร์และอิทธิพลของเวียดกงลงอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายเวียดกงต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับไม่สามารถขนส่งลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารได้อย่างสะดวกอีกต่อไป….
ก่อนหน้าที่กองพลทหารอาสาสมัครของไทย “กองพลเสือดำ” จะเดินทางเข้าสู่สนามรบเวียดนามใต้เมื่อ พ.ศ.2511 และได้ประกอบวีรกรรมในการรบตามที่ได้นำเสนอมาแล้วนั้น กองทัพบกไทยได้ส่ง “กรมทหารอาสาสมัคร” ที่รู้จักกันในนาม
“จงอางศึก”หรือ “Queen’s Cobra”เข้าสู่สมรภูมิแห่งนี้เมื่อกุมภาพันธ์ 2510 ซึ่งสามารถสร้างวีรกรรมจนเป็นตำนานเล่าขานและเป็นพื้นฐานความสำเร็จให้แก่กองพลทหารอาสาสมัครในเวลาต่อมาดังกล่าว
วีรกรรมของกรมทหารอาสาสมัครคือ “การรบที่หมู่บ้านฟุคโถ” ดังมีบันทึกของกองบัญชาการทหารสูงสุดดังนี้...
“การรบที่ฟุกโถวันที่ 20 - 21 ธันวาคม 2510” …
กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ได้รับคำสั่งจากกรมทหารอาสาสมัครตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2510 ให้เคลื่อนกำลังไปตั้งฐานปฏิบัติการเป็นการชั่วคราวที่บริเวณสุสานของชาว
เวียดนามในหมู่บ้านฟุกโถ ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร และในวันที่ 20 ตุลาคม 2510 ได้เคลื่อนย้ายไปตั้งฐานที่มั่นถาวรกลางสวนมะม่วงหิมพานต์เพื่อคุ้มครองเส้นทางถนนสาย 39 ซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญของฝ่ายเวียดกงที่ใช้ในการขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารจากชายฝั่งทะเลเข้าไปยังที่ตั้งฐานปฏิบัติการที่หลบซ่อนในป่าลึก
เมื่อกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 เข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการที่นั่นจึงเป็นการตัดเส้นทางยุทธศาสตร์และอิทธิพลของเวียดกงลงอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายเวียดกงต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับไม่สามารถขนส่งลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารได้อย่างสะดวกอีกต่อไปจึงเคียดแค้นทหารไทยเป็นอันมาก
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2510 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2510 กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ไม่เคยปะทะกับฝ่ายเวียดกงอย่างรุนแรงเลย แต่ก็ดำรงการเกาะติดเวียดกงมาโดยตลอด ทั้งการตรวจการณ์ การลาดตระเวน และการวางสายลับหาข่าวตามหมู่บ้านต่างๆ
ครั้นถึงต้นเดือน ธันวาคม 2510 กรมทหารอาสาสมัครได้ทราบข่าวจากแหล่งข่าวที่มีอยู่ในพื้นที่ทั้งหมดรายงานเข้ามาเป็นระยะๆว่า ฝ่ายเวียดกงกำลังเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติในพื้นที่รับผิดชอบของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 โดยมีการเตรียมกำลังและสะสมเสบียงอาหารในพื้นที่ใกล้เคียงหมู่บ้าน “ซอมบากี-Xom Baki” และหมู่บ้าน “ฟุกโถ”ซึ่งอยู่ทางตะวันออกและทางใต้ของที่บังคับการกรมทหารอาสา
สมัครตามลำดับ นับเป็นสิ่งบอกเหตุให้ทราบว่าเวียดกงจะปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อฐานที่ตั้งกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 อย่างแน่นอน
กรมทหารอาสาสมัครจึงเพิ่มการปฏิบัติการกวาดล้างเวียดกงมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาพวกเวียดกงในพื้นที่ลุ่มซึ่งทำให้ทหารไทยปฏิบัติการด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้นเพราะต้องบุกน้ำลุยโคลนพร้อมทั้งต้องคอยระวังข้าศึกที่ซุ่มโจมตีแต่ก็ไม่มีการปะทะกับเวียดกงเลย
“การวางกำลังของกรมทหารอาสาสมัคร”
ระหว่างการรบครั้งสำคัญที่หมู่บ้านฟุกโถ ฝ่ายไทยมีการวางกำลังดังนี้...
ที่บังคับการกรมส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน “อันเวียง”
กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของหมู่บ้านฟุกโถ
กองร้อยอาวุธเบาที่ 2 และ 3 กับกองร้อยทหารช่างสนาม ตั้งอยู่ที่เดียวกับที่บังคับการกรมส่วนหน้า ปฏิบัติหน้าที่เป็นฐานยิงสนับสนุนหน่วยลาดตระเวน
กองร้อยอาวุธเบาที่ 4 ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน “ดู่ดิ๋ว- Dhu Dieu” มีทางหลวงหมายเลข 357 ผ่าน
กองร้อยทหารปืนใหญ่สนาม ตั้งฐานยิงสนับสนุนอยู่ทางตอนใต้สวนยางอันเวียง ห่างจากกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ประมาณ 4 กิโลเมตร
หน่วยซุ่มโจมตีของกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน ตั้งอยู่ทางตอนใต้สวนยางอันเวียง ที่เดียวกับกองร้อยทหารปืนใหญ่สนาม.
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (27)
“จงอางศึกกับการรบที่ฟุกโถ-2”
.....ห่างจากกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ประมาณ 1 กิโลเมตร มีหมู่บ้าน “ดงลัน” ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่พลพรรคเวียดกงอาศัยอยู่ และพวกเวียดกงใช้เป็นที่ซุ่มซ่อนกำลังพล เสบียง และอาวุธสำหรับโจมตีกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ในคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2510….
ภูมิประเทศของหมู่บ้านฟุกโถ....
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง เมื่อน้ำลดจะเป็นโคลนตม
สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นทุ่งนา ป่า สวน แม่น้ำลำคลอง และหญ้าคาสูงท่วมศีรษะ ป่าส่วนมากเป็นป่าละเมาะ ป่าไผ่ ป่าชายเลน สวนยาง และสวนมะม่วงหิมพานต์ มีถนนสาย 319 ซึ่งเป็นถนนพื้นผิวอ่อนตัดผ่านฐานกองร้อยตามแนวทิศเหนือลงมาทิศใต้ หมู่บ้านใหญ่น้อยกระจายกันอยู่โดยรอบ
ลักษณะภูมิประเทศและเส้นทางคมนาคมบริเวณสถานที่ตั้งกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 เป็นดังนี้...
ทิศเหนือ สภาพพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5-10 เมตร เป็นเขตหมู่บ้านฟุคโถซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ถัดลงมาเป็นหมู่บ้าน “ซ่อมซุยคัน” และ “ซ่อมเบ๋าเหนา” ทั้ง 3 หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของลำน้ำ “เบ๋าเหนา” สาขาของแม่น้ำ “ทีไหว่”
หมู่บ้านทั้ง 3 ตกอยู่ในอิทธิพลของเวียดกงทั้งสิ้น โดยเฉพาะหมู่บ้านฟุกโถเป็นพื้นที่อันตรายที่สุด
ทิศใต้ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นทุ่งนา มีชาวบ้านกลุ่มเล็กๆตั้งบ้านเรือนห่างจากฐานของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 กรมทหารอาสาสมัค รประมาณ 100 เมตรชาวบ้านส่วน
ใหญ่เป็นชายชรา เด็ก และสตรีมีครรภ์ซึ่ งเป็นฝ่ายเวียดนามใต้ จึงได้รับอนุญาต
ให้เข้าไปในฐานกองร้อยได้ แต่ชายฉกรรจ์ทุกคนถูกเวียดกงบีบบังคับให้เป็นผู้ส่งเสบียงให้เวียดกง ซึ่งจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขาไม่ปรากฏตัวออกมาให้เห็น
เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 จึงต้องส่งทหาร 1 หมู่ออกไปช่วยเก็บเกี่ยวและให้ความคุ้มครองชาวบ้านเหล่านี้
ทิศตะวันออก พื้นที่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขังเต็มไปด้วยป่าแสมและโกงกาง ไม่มีบ้านเรือนราษฎร การคมนาคมโดยทั่วไปใช้เรือสัญจรไปตามแม่น้ำลำคลองซึ่งมีมากมายหลายสายและเป็นเส้นทางที่ฝ่ายเวียดกงขนส่งกำลังเสบียงและอาวุธ
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านคือแม่น้ำ “ที่ไหว่” และมีสาขาแยกออกไปหลายสาขาโดยสาขาหนึ่งคือลำน้ำ “เบ๋าเหนา” ไหลผ่านหมู่บ้านฟุกโถโถห่างประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้เป็นลำน้ำ “โสเด๋า” ที่ไหลลงใต้ผ่านหมู่บ้าน “โกด่าว” ตำบล
เฟือกอัน ไปบรรจบกับแม่น้ำ “งา” และลำน้ำ “เบนล่อน” ที่ไหลผ่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฐานปฏิบัติการกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 โดยเฉพาะลำน้ำ “โส่เต๋า” อยู่ห่างจากที่ตั้งหมวดปืนเล็กที่ 3 ประมาณ 1 กิโลเมตร
จึงใช้เป็นเส้นทางคมนาคมสำหรับลาดตระเวนด้วยเรือเผินลม (Hovercraft) ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองพลทหารราบที่ 9 สหรัฐ
ทิศตะวันตก สภาพพื้นที่เป็นป่าและสวนยางร้าง มีลำน้ำและคลองเล็กๆหลายสายไหลผ่านห่างจากกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ประมาณ 1 กิโลเมตร มีหมู่บ้าน “ดงลัน” ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่พลพรรคเวียดกงอาศัยอยู่ และพวกเวียดกงใช้เป็นที่ซุ่มซ่อนกำลังพล เสบียง และอาวุธสำหรับโจมตีกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ในคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2510.
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (28)
“จงอางศึกกับการรบที่ฟุกโถ-3”
.....กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 มี พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย....
“การจัดกำลัง กองร้อยอาวุธเบาที่ 1”
กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 มี พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย แบ่งออกเป็น 3 หมวดปืนเล็ก 3 หมู่ปืนกลเบา (ปืนกลแบบ เอ็ม 60) และ 3 ตอนเครื่องยิงหนักขนาด 81 มิลลิเมตร
กำลังพลทั้งสิ้น 200 คนเป็นพลรบ 150 คน คนขับและพลสูทกรรม 50 คน แต่เมื่อไปตั้งฐานอยู่ที่หมู่บ้านฟุกโถนั้น มีเพียงเฉพาะพลรบ 150 คน หมวดละ 50 คนเท่านั้น ไม่มีทหารช่างสนามไปสมทบ เนื่องจากทหารราบเหล่านั้นมีความรู้พื้นฐานทางทหารช่างอยู่บ้างแล้ว และในจำนวนนี้มีผู้ที่ทำหน้าที่พลขับและพลสูทกรรมได้ด้วยดังนั้นเมื่ออยู่ในที่ตั้งปกติจะทำหน้าที่เป็นพลขับและคนสูทกรรม แต่เมื่อถึงคราวรบก็มีขีดความสามารถทำการรบได้
การวางกำลัง…
ฐานที่ตั้งของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 คร่อมทับอยู่บนถนนสาย 319 ทางทิศใต้ของหมู่บ้านฟุกโถ อำเภอโนนทรัค จังหวัดเบียนหว่า วางแนวที่มั่นตั้งรับของหมวดปืนเล็กทั้ง 3 หมวดเป็นวงกลมล้อมรอบที่บังคับการกองร้อย โดยมีคูติดต่อถึงกันทั้ง 3 หมวดและที่บังคับการกองร้อย
คูติดต่อนั้นขุดได้ลึกเพียง 30 ถึง 40 เซนติเมตรพอบังศีรษะมิดขณะนอนยิงเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ลุ่ม หากขุดลึกลงไปกว่านี้น้ำจะซึมเข้าไปในคูติดต่อได้ ส่วนรั้วใช้ลวดหนามหีบเพลงเป็นเครื่องกีดขวางตลอดแนวที่มั่นตั้งรับ
ที่บังคับการกองร้อยอยู่กลางฐาน มีหมวดปืนเล็ก 3 หมวดล้อมรอบขุดคูติดต่อ
เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 เมตร ทางทิศตะวันตกของฐานที่มั่นเป็นหย่อมป่าไผ่ซึ่งเป็นเครื่องกำบังธรรมชาติอย่างดีต่อที่ตั้งกองบังคับการกองร้อย ทำให้พวกเวียดกงไม่สามารถตรวจการณ์เห็นที่ตั้งภายในฐานได้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นผลดีช่วยให้รอดพ้นจากการทำลายที่ตั้งเพราะความมืดและความไม่คุ้นเคยทำให้เวียดกงที่ตีเจาะเข้าไปในฐานได้ไม่ทราบที่ตั้งและแม้กระทั่งที่วางตัวของฝ่ายทหารไทย
หมวดปืนเล็กที่ 1 มี ร้อยโท สมพงษ์ อาจหาญ เป็นผู้บังคับหมวดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่บังคับการกองร้อยวางแนวจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปจดทิศตะวันตกเฉียง
ใต้
หมวดปืนเล็กที่ 2 มี จ่าสิบเอก สงัด ไทยรัฐเทวินทร์ รองผู้บังคับหมวดทำหน้าที่แทน ร้อยโท สมเกียรติ ยงประยูร ผู้บังคับหมวดที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่บังคับการกองร้อยวางแนวต่อจากหมวดปืนเล็กที่ 1 จากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปจรดทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
หมวดปืนเล็กที่ 3 มี ร้อยโท วิชัย ขันติรัตน์ เป็นผู้บังคับหมวด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่บังคับการกองร้อย วางแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปจรดกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ต่อกับหมวดปืนเล็กที่ 1
“กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง ( 29 )
“จงอางศึกกับการรบที่ฟุกโถ-4”
....ฝ่ายเวียดกงเชื่อมั่นว่า หากกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ถูกโจมตีละลายทั้งกองร้อยแล้วย่อมสามารถผลักดันกรมทหารอาสาสมัครของไทยออกไปจากพื้นที่ได้….
หนังสือ “ประสบการณ์ทหารไทยในสงครามเวียดนาม” จัดทำโดย “กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ.2541 ซึ่งส่วนสำคัญได้จากการสัมภาษณ์ผู้อยู่ในการรบได้บันทึกเหตุการณ์รบสำคัญครั้งนี้ต่อไปดังนี้....
“ แผนของเวียดกง…
จากเอกสารของเวียดกงที่ยึดได้หลังการรบและการซักถามเชลยศึกเวียดกงสองคน คนหนึ่งเป็นเด็กหนุ่มอายุประมาณ 20 ปี อีกคนหนึ่งอายุประมาณ 50 ปี เข้ามอบตัวหลังการรบยุติลงแล้วหลายวัน
ทั้งสองคนได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนและสะเก็ดระเบิดเกือบทั่วตัว บาดแผลเป็นหนองเน่าเฟะส่งกลิ่นเหม็น ซ่อนตัวอยู่ในกอหญ้าคาบริเวณทุ่งมี่โถ (Me Tho)ใกล้หมู่บ้านฟุกโถ
ที่ตัดสินใจมอบตัวเพราะเห็นว่าหนีไปไม่รอดแล้วและได้เปิดเผยให้ทราบถึงแผนของฝ่ายเวียดกง ดังนี้...
เวียดกงได้มีการวางแผนและเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนโดยมุ่งทำลายกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ให้หมดสิ้น เช่นเดียวกับที่ได้จัดการกับ กองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 39 กองพลทหารราบที่ 9 สหรัฐมาก่อนหน้านั้นแล้ว เพื่อจะได้กลับไปมีอิทธิพลบนถนนสาย 319 ตามเดิม
ฝ่ายเวียดกงเชื่อมั่นว่า หากกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ถูกโจมตีละลายทั้งกองร้อยแล้วย่อมสามารถผลักดันกรมทหารอาสาสมัครของไทยออกไปจากพื้นที่ได้
เวียดกงกำหนดเข้าตีในคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2510 เวลา 22.10 น. โดยใช้เครื่องยิงหนักระดมยิงทำลายอาวุธหนักของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 กับที่บังคับการกอง
ร้อยเพื่อตัดส่วนบังคับบัญชาและมุ่งสังหารผู้บังคับกองร้อยเป็นสำคัญ
หลังจากนั้นจะใช้กำลังส่วนใหญ่ที่เตรียมพร้อมเข้าตีพร้อมกันทุกจุดตามเวลาที่กำหนดเพื่อทำลายกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ของไทยให้จงได้
จากนั้นจะได้ขยายผลการรบต่อไปไปยังกองร้อยอื่นๆจนกระทั่งประสบชัยชนะอย่างสมบูรณ์ต่อกรมทหารอาสาสมัครไทยซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์การรบในสงครามเวียดนามมาก่อนเลย
“การเตรียมกำลังของเวียดกง”...
ในการเข้าตีกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 กรมทหารอาสาสมัครไทยครั้งนี้ ฝ่ายเวียดกงได้ใช้กำลังกองพันที่ 3 กรมที่ 274 ซึ่งเป็นหน่วยที่มีชื่อเสียงด้านการปฏิบัติการของฝ่ายเวียดกง มีทั้งกำลังทหารประจำการ กำลังประจำถิ่นซึ่งชำนาญภูมิประเทศแถบนี้เป็นอย่างดีกับกำลังกองโจรและ “หมวดทหารช่างสังหาร-แซปเปอร์” ที่ได้รับการฝึกจู่โจมมาเป็นอย่างดีเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ซึ่งเวียดกงได้เคลื่อนย้ายกำลังส่วนนี้จากเวียดนามเหนือมาทางกัมพูชาอย่างลับๆตามเส้นทางโฮจิมินห์
โดยส่งกำลังหลักเข้าไปในเวียดนามใต้ในลักษณะผู้เดินทางทยอยการเข้าสู่ฐานปฏิบัติการตามหมู่บ้านต่างๆโดยไม่เป็นที่น่าสงสัยหรือผิดสังเกตแก่ผู้พบเห็น
ส่วนล่วงหน้าของกองกำลังหลักส่วนนี้จะเตรียมสะสมและลำเลียงอาวุธเสบียง
อาหารมาทางเรือเล็กซุกซ่อนไว้ตามพื้นที่นัดหมายแต่ละแห่งที่จะใช้เป็นฐานปฏิบัติการไว้ก่อนแล้ว
เมื่อกำลังหลักส่วนนี้เดินทางถึงพื้นที่ก็กระจายกำลังเข้าประจำในพื้นที่นัดหมายล้อมรอบกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ไว้ 3 ด้าน
ทิศเหนือวางกำลังไว้ที่บริเวณทิวเขาด้านเหนือหมู่บ้านฟุกโถ
ทิศตะวันตกวางกำลังทางด้านตะวันตกของลำน้ำเล็กๆสายหนึ่งในเขตหมู่บ้านดงลัน
ทิศใต้วางกำลังอยู่ในหมู่บ้านโกด่าว
ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการฝ่ายเวียดกงได้เตรียมการหาข่าวสารเกี่ยวกับที่ตั้งฐานกอง
ร้อยอาวุธเบาที่ 1 ที่ตั้งที่บังคับการกองร้อย เครื่องยิงหนัก ที่เก็บกระสุนและวัตถุระเบิดตลอดจนรายละเอียดของความเข้มแข็งความแข็งแรงของที่มั่น”
การลำเลียงอาวุธและเสบียงทหารของเวียดกงเข้าไปในฐานที่ตั้งกระทำเป็นความ
ลับที่สุด กรมทหารอาสาสมัคร แม้จะได้ข่าวบ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ
จนกระทั่งในวันที่ 18 ธันวาคม 2510 ที่บังคับการกรมทหารอาสาสมัครจึงได้ข่าวว่าเวียดกงเคลื่อนย้ายกระสุนเข้าไปในพื้นที่รับผิดชอบของกรมทหารรักษาสมัครจึงแจ้งเตือนให้ทุกกองร้อยทราบเพื่อเตรียมรับสถานการณ์
หลังการสู้รบยุติลงแล้ว จึงทราบว่าฝ่ายเวียดกงได้เคลื่อนย้ายกำลัง 1 กองพันเพิ่มเติมกำลังเพื่อร่วมโจมตีกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 เพียงกองร้อยเดียว
โดยเตรียมพร้อมตั้งแต่คืนวันที่ 19 ธันวาคม 2510 เพื่อเข้าตีในคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2510 .
กองพันเสือดำ” พลโท สาโรจน์ รบบำรุง (30)
“จงอางศึกกับการรบที่ฟุกโถ-5”
.....ในวันที่ 20 ธันวาคม 2510 ซึ่งเป็นวันเข้าตีของเวียดกง กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 มีกำลังพลประจำฐานที่มั่นประมาณ 100 คน นายทหารสัญญาบัตร 3 คนคือ พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ ผู้บังคับกองร้อย ร้อยโท วิชัย ขันติรัตน์ ผู้บังคับหมวดปืนเล็กที่ 3 และ ร้อยโท กัมพล ผลผดุง ผู้ตรวจการณ์หน้าทหารปืนใหญ่ที่ขึ้นสมทบอยู่กับกองร้อยอาวุธเบาที่ 1….
“การเตรียมการตั้งรับของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1”...
ผู้บังคับกองร้อยได้สั่งการให้ดำรงการเกาะเวียดกงตลอด 24 ชั่วโมงทั้งการตรวจการณ์และการลาดตระเวน โดยให้รองผู้บังคับหมวดแต่ละหมวดนำกำลังในหมวดของตนหมวดละ 17 คนออกไปลาดตระเวนและซุ่มโจมตีหมุนเวียนกันทั้งกลางวันและกลางคืน
ผลัดกลางวันเรียกว่า “ชุดซุ่มโจมตี-Ambush” เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 06.00 น.กลับเข้าฐานเวลา 17.00 น.
ผลัดกลางคืนเรียก “ชุดเฝ้าตรวจ- Wactching Team” ปฏิบัติการต่อเนื่องกับชุดซุ่มโจมตีตั้งแต่เวลา 17.00 น.จนถึง 06.00 น.
และเมื่อทราบข่าวว่าเวียดกงเคลื่อนย้ายกำลังจำนวนมากไปซุ่มซ่อนอยู่ที่บริเวณทิวเขาด้านเหนือของหมู่บ้านฟุกโถด้านหมวดปืนเล็กที่ 3 จึงเพิ่มความระมัดระวังทางถนนสาย 319 มากขึ้นเป็นพิเศษ
และในวันที่ 17 ธันวาคม 2510 พันตรี ยุทธน าแย้มพันธุ์ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ได้ขอเครื่องจักรทำลายต้นไม้บนบกจากกองกองพลทหารราบที่ 9 สหรัฐไปตัดต้นไม้และถากถางด้านทิศเหนือ ตะวันตกและใต้ ออกไปอีกประมาณ 100 เมตร แต่ไม่ได้ตัดต้นไม้ใหญ่และหย่อมป่าไผ่ออก เพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องกำบัง
ส่วนทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นป่าชายเลน ได้ขอเครื่องจักรทำลายต้นไม้ในน้ำไปตัดต้นไม้เพื่อขยายพื้นที่ออกไปอีกประมาณ 100 เมตรเช่นกันจะได้มีพื้นที่การยิง
เพียงพอและไม่ให้เวียดกงใช้เป็นเครื่องกำบังการเคลื่อนที่เข้าไปใกล้สถานที่ตั้งกองร้อยมากจนเกินไปอีกด้วย
ในวันที่ 18 ธันวาคม 2510 ที่บังคับการกรมทหารอาสาสมัคร ได้แจ้งให้ทุกกองร้อยทราบถึงการลำเลียงกระสุนเพิ่มเติมของฝ่ายเวียดกงและขอให้เพิ่มความระมัดระวัง
กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 รับทราบและได้นำทุ่นระเบิดวงเดือน- Claymore Mine ทุ่นระเบิด และลวดสะดุดไปวางไว้ตลอดแนวรั้วลวดหนามด้านในรอบฐานปฏิบัติการ
พันโท ชวลิต ยงใจยุทธ ฝ่ายยุทธการ (ฝอ.3) กรมทหารอาสาสมัครได้เดินทางไปตรวจดูการเตรียมการตั้งรับของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ด้วยความห่วงใย และพักแรมในที่บังคับการกองร้อย 1 คืนแล้วจึงเดินทางกลับค่ายแบร์แคตในวันรุ่งขึ้นที่
19 ธันวาคม 2510
อาวุธของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ประกอบด้วย “อาวุธประจำหน่วย” ได้แก่เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบเอ็ม 72 ขนาด 40 มิลลิเมตร เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 79 และ 81 มิลลิเมตร ทุ่นระเบิดวงเดือน ปืนกลแบบ 60 วัตถุระเบิด เช่นพลุสะดุด เป็นต้น อาวุธประจำกายได้แก่ ปืนกลเอ็ม 16
สำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มิลลิเมตรนั้น โดยปกติจะตั้งไว้ในฐานที่ตั้งกองร้อย แต่เนื่องจากผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ทราบข่าวว่ายุทธวิธีในการเข้าตีของฝ่ายเวียดกงมักจะใช้เครื่องยิงทำลายอาวุธหนักเพื่อตัดรอนอำนาจการยิงของฝ่ายเราเสียก่อน จึงได้ย้ายที่ตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มิลลิเมตรทั้งหมดไปไว้ที่หมวดปืนเล็กที่ 3
ในวันที่ 20 ธันวาคม 2510 ซึ่งเป็นวันเข้าตีของเวียดกง กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 มีกำลังพลประจำฐานที่มั่นประมาณ 100 คน นายทหารสัญญาบัตร 3 คนคือ พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ ผู้บังคับกองร้อย ร้อยโท วิชัย ขันติรัตน์ ผู้บังคับหมวดปืนเล็กที่ 3 และ ร้อยโท กัมพล ผลผดุง ผู้ตรวจการณ์หน้าทหารปืนใหญ่ที่ขึ้นสมทบอยู่กับกองร้อยอาวุธเบาที่ 1
เช้าวันนั้นผู้บังคับกองร้อยได้ส่งกำลังพล 1 หมู่ออกไปคุ้มกันและช่วยชาวบ้านทางทิศใต้เกี่ยวข้าว กำลังพลส่วนที่เหลือคงปฏิบัติหน้าที่ประจำในฐานที่ตั้งตามปกติ ตรวจดูความเรียบร้อยและเสริมความแข็งแรงของที่มั่น เสริมรั้วลวดหนามหีบเพลงที่กั้นเส้นทางเข้าออกฐานนอกคูติดต่อที่มีอยู่เพียงแนวเดียวด้วยทุ่นระเบิดวงเดือน ทุ่นระเบิดที่ดัดแปลงจากลูกระเบิดขว้าง และพลุสะดุด
เมื่อใกล้เวลา 13.00 น.กองร้อยทหารม้าลาดตระเวนได้ส่งกำลัง 1 หมวดออกลาดตระเวนระหว่างฐานยิงสนับสนุนและที่ตั้งกองร้อยอาวุธเบาที่ 1
กำลังพลของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ส่วนหนึ่งเข้าเวรยามประจำฐานที่มั่น อีกส่วนหนึ่งไปคุ้มกันเครื่องจักรทำลายต้นไม้ในน้ำ และอีกส่วนหนึ่งออกไปปฏิบัติการลาดตระเวนซุ่มโจมตีบริเวณถนนสมเกียรติสาย 319
เวลาประมาณ 17.00 น.กำลัง 1 หมู่ที่ออกไปคุ้มกันชาวบ้านเกี่ยวข้าวได้กลับถึงฐานปฏิบัติการซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ จ่าสิบเอก สงัด ไทยรัฐเทวินทร์ ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดปืนเล็กที่ 2 นำกำลัง 17 คนออกไปปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนซุ่มโจมตีตามแนวถนนสมเกียรติเช่นกัน
พันตรี ยุทธน าแย้มพันธุ์ ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 ได้ให้พลขับและพลสูทกรรมของที่บังคับการกองร้อยไปเสริมกำลังให้กับแนวที่มั่นทางด้านหมวดปืนเล็กที่ 2 เนื่องจากขณะนั้นเหลือกำลังที่รักษาแนวที่มั่นอยู่ไม่ถึงครึ่งหมวด
ต่อมาเวลา 18.00 น.ชุดปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาที่เดินทางไปเยี่ยมเยียนกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ได้เตรียมฉายภาพยนตร์เรื่อง “ศึกคาร์ทูม” เพื่อบำรุงขวัญ ทหารในกองร้อยต่างยินดีที่จะได้ชมภาพยนตร์เพราะต้องอยู่ประจำในฐานปฏิบัติการฝังตัวและอยู่ในคูติดต่อและที่กำบังเป็นเวลานานถึง 2 เดือนแล้ว
อย่างไรก็ตามผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ได้กำชับเวรยามทุกคนให้ปฏิบัติ
หน้าที่โดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันเหตุร้ายระหว่างที่ฉายภาพยนตร์
กำลังบางส่วนที่ไม่ไปชมภาพยนตร์นอนหลับด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการปฏิบัติภารกิจมาตลอดวัน
ทหารที่ชมภาพยนตร์คืนนั้นจึงมีเพียง 30 คนเท่านั้น
ขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉายอยู่นั้นหน่วยคุ้มกันเครื่องจักรทำลายต้นไม้ในน้ำและหน่วยลาดตระเวนซุ่มโจมตีตามแนวถนนสมเกียรติต่างรายงานให้ทราบว่าเหตุการณ์ปกติ
คืนวันนั้นเป็นคืนเดือนหงาย แสงจันทร์ส่องสว่างไปทั่วบริเวณช่วยให้การตรวจการณ์ดีขึ้นนอกจากนั้นกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ยังยิงระเบิดส่องแสงไปรอบๆสถานที่ตั้งเพิ่มความสว่างในการตรวจการณ์ยิ่งขึ้น
3 บันทึก
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย