24 ก.ย. 2021 เวลา 10:30 • ความคิดเห็น
วันมหิดล “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ”
2
“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ”
หากย้อนไปเกือบ100 ปี มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่งนามว่า ‘สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์’ แม้ทรงมีฐานะเป็นถึงพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
 
เเต่กลับทรงเลือกร่ำเรียนเเละประกอบอาชีพ ’’เเพทย์’’
และพระองค์ยังมีคู่ชีวิตที่เป็นสามัญชนผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดีแบบ "สมเด็จย่า"
1
เมื่อทรงพระเยาว์มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ร่ำเรียนวิชาการหลากหลายทั้งประเทศอังกฤษ อเมริกา และเยอรมัน เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร พระองค์ทรงประกอบกรณียกิจด้านการแพทย์แผนปัจจุบันในสยาม และยังทรงอุปถัมภ์ศาสตร์อีกหลากหลาย ดังนี้
1
๑. พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ พยาบาล และปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช
- ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ทำความตกลงกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิฯ ได้ให้ความช่วยเหลือรากฐานสำคัญต่อการเรียนการสอนวิชา"แพทย์" ดังนี้
(ป้าย่อความมาพอสังเขปรายละเอียดอ่านได้ในอ้างอิง)
1
- ส่งศาสตราจารย์มาช่วยจัดหลักสูตรและปรับปรุงการสอนวิชาพรีคลินิคและคลินิค ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มูลนิธิและรัฐบาลสยามร่วมกันออกทุนก่อสร้างและซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา "แพทยศาสตร์" และให้ความช่วยเหลือในรายละเอียดการเรียนการสอน การดูแลครูอาจารย์ ซึ่งพระราชบิดาทรงช่วยเหลือในทุกขั้นตอน
- ส่งศาสตราจารย์เข้ามาปรับปรุงหลักสูตร และทำการสอนในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อวิชาแพทย์ และยังให้
ทุนอาจารย์ไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
- ปรับปรุงโรงเรียนพยาบาล และส่งอาจารย์พยาบาลเข้ามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาล
๒. พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชบิดาในด้านต่อไปนี้
- พระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ ให้แพทย์และพยาบาล
- พระราชทานทุนสร้างตึกมหิดลบำเพ็ญ สร้างตึกอำนวยการ ทรงซื้อโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และพระราชทานเงินซ่อมแซม แล้วพระราชทานให้เป็นโรงเรียนพยาบาล และที่พักพยาบาลของศิริราช
- พระราชทานเงินสำหรับจ้างพยาบาลชาวต่างประเทศ มาช่วยสอน และปรับปรุงโรงเรียนพยาบาล
- พระราชทานเงินทุนสอนและค้นคว้าในคณะแพทย์
- พระราชทานเงินแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นทุนวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทรงทำพินัยกรรมให้ทายาทสมทบเงินเป็นทุน"พระราชมรดกฯ" เพื่อส่งอาจารย์ทั้งวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิชาแพทย์ ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์ต่อไป
- ทรงหาทุนสำหรับศิริราชโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึก 2 หลังคือ “ตึกตรีเพชร” และ “ตึกจุฑาธุช”
1
- กราบทูลขอความช่วยเหลือจากพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผลให้
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานเงินสร้างท่อประปาข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างท่อระบายน้ำและพระราชทานทุนให้นิสิตแพทย์และพยาบาล
1
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเงินสร้างตึกพระองค์หญิงซึ่งเป็นตึกผู้ป่วยเด็กตึกแรกของศิริราช(ซึ่งถูกระเบิดทำลายหมดในสงครามโลกครั้งที่ 2)
- สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานที่ดินสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์
๓. พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่นๆ
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
- ทรงเป็นประธานอำนวยการวชิรพยาบาล ดำเนินการปรับปรุงโรงพยาบาลและพระราชทานทุนให้แพทย์ไปเรียนวิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาเพื่อกลับมาประจำโรงพยาบาล โดยทรงวางแผนให้เป็นโรงพยาบาลสำหรับแม่และสตรี(ข้อ ๕)
โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
- พระราชทานทุนจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศและซื้อเครื่องเอ็กซเรย์ประจำโรงพยาบาล
โรงพยาบาลสงขลา
- พระราชทานเงินรายปีให้โรงพยาบาลสงขลา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2468 จนสวรรคต
๔. พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการสาธารณสุข
- ทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้องและความขัดแย้งต่างๆ จนลุล่วงไปด้วยดี
* นับว่าเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรกของไทย
๕. ทรงส่งเสริมการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยทรงวางโครงการให้ดัดแปลงวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลคลอดบุตร เป็นศูนย์อบรมศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และหมอตำแย เพื่อจะได้มีผู้ทำงานด้าน มารดาและทารก
๖. ทรงช่วยในการอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑล ในปี พ.ศ. 2467 โดยทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาลทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม
๗. ทรงสนับสนุน ม.จ. พูนศรีเกษม เกษมศรี ในการรับนิสิตแพทย์หญิง เป็นการเริ่มต้นแพทย์สตรีในไทยเป็นครั้งแรก
๘. ทรงมีพระดำริสร้างโรงเรียนสาธารณสุขและด้านอื่น ๆ เช่นได้พระราชทานทุนศึกษาทันตแพทย์(ภายหลังเป็นบุคคลสำคัญในด้านการสร้างคณะทันตแพทยศาสตร์-ป้ายังไม่ได้ค้นต่อ)
- และมีรับสั่งกับนายแพทย์วาด แย้มประยูร ซึ่งเป็นผู้สำเร็จทั้งแพทย์และทันตแพทย์ว่าจะพระราชทานทุนในการตั้งโรงเรียนทันตแพทย์(อ้างอิง3.นายแพทย์วาด)
- ด้านการประมง พระราชทานเงินทุนให้กรมประมงส่งคนไปเรียนวิชาการประมง
- กรมสามัญศึกษา พระราชทานทุนให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จ้างครูชาวต่างประเทศ เป็นต้น
🙏🏻24 กันยายน พ.ศ. 2472 วันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”
1
ขอถวายความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระองค์ ผู้ซึ่งวางรากฐานระบบสาธารณสุขเเละการเเพทย์ไทยยุคใหม่
จากสยาม ประเทศที่ไม่มีอะไรเลยสู่ความทัดเทียมอารยะประเทศอื่นได้ในปัจจุบัน
1
🙏🏻ป้าพา
ขอบคุณภาพจากwww.hatyaifocus.com(อ้างอิง2)
อ้างอิง
1. พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฉบับสมบูรณ์
2. สืบสานปณิธานพระราชบิดา
3. 80 ปีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16 พฤษภาคม 2483 – 2563
โฆษณา