Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
STORY ON FILM
•
ติดตาม
24 ก.ย. 2021 เวลา 15:14 • การเมือง
D.P. กับการเกณฑ์ทหารเกาหลีใต้ (1)
โปสเตอร์ซีรีย์ D.P.
D.P. หรือในชื่อไทยคือหน่วยล่าทหารหนีทัพ เป็นมินิซีรีย์ที่ฉายทาง NETFLIX ซึ่งดัดแปลงจากการ์ตูนในชื่อ D.P. Dog’s Day ที่ลงใน Webtoon ของคุณ Kim Bo Tong โดย D.P. เป็นซีรีย์ที่เล่าผ่าน 2 ตัวละครหลักคือ Ahn Jun-Ho และ Han Ho-yeol สองนายทหารเกณฑ์ที่ต้องทำหน้าที่ตามตัวทหารหนีทัพกับเข้ามายังกองทัพ โดยระหว่างการดำเนินเรื่องซีรีย์จะทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองชีวิตทหารเกณฑ์เกาหลีใต้ ซึ่งยังไม่มีหนังหรือซีรีย์เรื่องใดเคยนำเสนอมาก่อน
D.P. ย่อมาจาก Deserter Pursuit Unit ถ้าแปลเป็นไทยก็ได้ชื่อตามชื่อของซีรีย์คือหน่วยล่าทหารหนีทัพ
เมื่อซีรีย์เรื่องนี้มีเนื้อหาทหารเกณฑ์ บทความชิ้นนี้จะพาไปทำความรู้จักกับระบบการเกณฑ์ทหารของเกาหลีใต้ให้มากยิ่งขึ้น
เกาหลีใต้เป็นเพียงประเทศไม่กี่แห่งบนโลกที่ผู้ชายทุกคนจะเข้ารับการเกณฑ์ทหารเมื่อมีอายุระหว่าง 18-28 ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร มาตรา 3 ของเกาหลีที่บอกว่า ผู้ชายทุกคนในสาธารณรัฐเกาหลีต้องเข้ารับราชการทหารตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งในส่วนของรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ได้อ้างอิงหน้าที่ส่วนนี้ไว้ในมาตราที่ 39 ที่ว่า พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ป้องกันประเทศตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ในส่วนของผู้หญิงนั้นอาจทำหน้าที่ส่วนนี้ในฐานะอาสาสมัครได้
ผู้ชายเกาหลีใต้ที่มีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงพอจะปฏิหน้าที่ได้(ได้รับการประเมินจากองทัพ)ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารในระยะเวลา 21 เดือนถ้าใครผ่าฝืนจะมีโทษจำคุก 10 ปี ส่วนผู้ชายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารจะต้องมีเงื่อนไขตามที่รัฐบาลอนุโลมไว้ดังนี้ สภาพร่างกายไม่แข็งแรงหรือทุพลภาพ บุคคลที่มีสองสัญชาติและเลือกที่จะสละสัญชาติเกาหลีใต้ และผู้ที่ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในระดับชาติ อย่างเช่น ได้เหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์ อันดับ 1-4 ในการแข่งขันฟุตบอลโลก เหรียญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเหรียญใดก็ได้
ชายชาวเกาหลีใต้มาเข้ารับการเกณฑ์ทหาร
คำถามที่หลายคนสงสัยคือทำไมผู้ชายเกาหลีทุกคนต้องทหาร คำตอบของคำถามดังกล่าวต้องย้อนไปในช่วงที่เกาหลีได้รับเอกราชจากญี่ปุ่นหลังจากที่ญี่ปุ่นได้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผู้รับหน้าที่มาปลดอาวุธญี่ปุ่นออกจากดินแดนเกาหลีคือสหรัฐอเมริกาและรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้น โดยทั้งสองประเทศใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นส้นแบ่งภารกิจในการปลดอาวุธญี่ปุ่น อเมริกาจะรับหน้าที่ในพื้นที่ที่อยู่ในเส้นขนานที่ 38 ลงมา ส่วนโซเวียตจะรับหน้าที่ในพื้นที่ที่เหนือเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไป
เส้นขนานที่ 38
ที่สำคัญภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกได้เข้าสู่ยุคของสงครามเย็นซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างสองมหาอำนาจคือเมริกาและโซเวียต ในส่วนนี้ทำให้ทั้งสองมหาอำนาจได้เผยแพร่อุดมการณ์ของตนเองเข้าไปยังประเทศบริวาร ส่งผลให้เกาหลีที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนต่างมีอุดมการณ์ที่ต่างกันคือเกาหลีส่วนเหนือนั้นมีอุดมการณ์ไปทางคอมมิวนิสต์ เกาหลีส่วนใต้มีอุดมการณ์ในแนวทางเสรีประชาธิปไตย ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างความเป็นเกาหลีเหนืออีกฝ่าย จนเหตุการณ์ปานปลายไปเป็นสงรามในปี ค.ศ. 1950 เมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองทัพข้ามเส้นขนานที่ 38 เข้าบุกโจมตีเกาหลีใต้ สงครามดำเนินไปจนถึงปี ค.ศ. 1953 ยังไม่มีผู้ที่ชนะที่เด็ดขาดทั้งสองฝ่ายจึงทำสนธิสัญญาหยุดยิง
ภาพบางส่วนจากสงครามเกาหลี
หลังจากการทำสนธิสัญญาหยุดยิงในปี ค.ศ. 1957 เกาหลีใต้ก็เริ่มให้มีการเกณฑ์ทหารครั้งแรกขึ้น เมื่อทำความใจสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีเราก็จะทราบว่าแม้สงครามเกาหลีจะยุติลงไปแล้ว ได้ทั้งสองเกาหลีอาจทำสงครามกันได้ทุกเมื่อ เนื่องจากการสนธิสัญญาหยุดยิงเป็นเพียงแค่การพักรบเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายครอบคลุมไปถึงว่าผู้ใดได้เปรียบในข้อตกลงหรือเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จึงต้องเตรียมความพร้อมในการทำสงครามไว้อยู่ตลอดเวลาจึงทำให้การเกณฑ์หทารจึงเป็นหน้าที่ที่ผู้ชายเกาหลีต้องแบกรับไว้
เพื่อให้เข้าการที่เกาหลีใต้ต้องให้ความสำคัญกับการที่ผู้ชายต้องเกณฑ์ทหารทุกคน ต้องไปพิจารณาในฝั่งของเกาหลีเหนือด้วยเพื่อที่ได้เห็นมุมมองเพิ่มเติม หลังจากสงครามเกาหลีจบลงเกาหลีเหนือได้พัฒนากองทัพมาโดยตลอดจนในปัจจุบันเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีทหารกว่า 6 ล้านคนแต่ในจำนวนนี้มีทหารอาชีพเพียง 9 แสนคนที่เหลืออีกว่า 5.5 ล้านคนคือทหารกองประจำที่มาจาการเกณฑ์ทหาร โดยการเกณฑ์ทหารของเกาหลีเหนือนั้นจะมีการเกณฑ์ทั้งชายและหญิง ผู้ชายจะต้องเข้ามาเป็นทหาร 10 ปีส่วนผู้หญิงนั้นหลังจากจบมัธยมปลายต้องเข้ามารับใช้กองทัพจนอายุ 23 ปี
ในส่วนของเกาหลีใต้มีทหารของประจำการอยู่ประมาณ 550,000 คน และทหารกองประจำการอีก 2.7 ล้านคน ส่วนผู้หญิงเกาลีใต้ไม่ได้เข้ากองทัพเต็มรูปแบบเหมือนเกาหลีใต้ แต่จะทำหน้าที่ในเชิงของอาสามัครกองทัพ ในแง่ของกำลังพลจะเห็นได้ว่าเกาหลีใต้เป็นรองเกาหลีเหนืออยู่มาก แต่ทั้งนี้ที่เกาหลีใต้ยังมีฐานทัพสหรัฐ ฯ ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ประมาณ 28,500 คน การที่ฐานทัพสหรัฐฯอยู่ที่เกาหลีใต้มีผลทำให้เกาหลีเหนือตัดสินใจไม่ทำสงครามกับเกาหลีใต้ต่อ เนื่องด้วยจะเป็นการเปิดแนวรบกับสหรัฐฯ
กองทัพเกาหลีเหนือระหว่างพิธีส่วนสนาม
ทหาร(หญิง)เกาหลีเหนือกับคิมจองอึน
ทหารเกาหลีใต้
ทีนี้หลาย ๆ คนคงจะเข้าใจถึงระบบการเกณฑ์ทหารของเกาหลีใต้และเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลของเกาหลีใต้จึงให้ความสำคัญกับการเกณฑ์หทาร
กลับมาที่ซีรีย์ D.P. หลังจากที่ซีรีย์ได้ออนแอร์ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านได้มาทำให้เกิดการถกเถียงในสังคมเกาหลีใต้เป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องการเกณฑ์ทหาร เพราะใครที่ดูซีรีย์เรื่องนี้มาก็จะเห็นว่าซีรีย์ได้ดีแผ่ชีวิตของทหารเกณฑ์ในกองทัพว่าเป็นอย่างไร ซึ่งส่วนมากจะออกมาในแง่ที่ทหารเกณฑ์ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในกองทัพโดยทางโฆษกของกระทรวงกลาโหมได้ออกมาชี้แจงว่าตอนนี้สภาพแวดล้อมในกองทัพได้เปลี่ยนไปแล้ว (ซีรีย์อ้างอิงเวลาในช่วงปี ค.ศ. 2014) และกระทรวงพยายามขจัดการละเมิดและการกระทำที่รุนแรง
ในส่วนของความเห็นของทหารเกณฑ์เกาหลีใต้ที่มีต่อซีรีย์เรื่องนี้มีหลายหลายความเห็นที่สะท้อนออกมา บางคนบอกว่าทางซีรีย์นั้นถ่ายทอดเรื่องการละเมิดมากเกินไป บางคนก็หลีกเลี่ยงที่จะแสดงความคิดเห็นเพราะไม่อยากให้ความทรงจำที่แย่มากระทบกระเทือนจิตใจ อย่างไรในกรณีของลี จุน แท ชายอายุ 24 ปีเขาบอกว่าระหว่างที่ประจำการอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 2017-2019 เขาไม่เคยมีประสบการณืหรือได้ยินเรื่องของเพื่อนเขาที่ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างประจำการ “ไม่มีการกระทำที่รุนแรงระหว่างที่ผมประจำการ” ลี จุน แทกล่าว
ในแง่ของปฏิกิริยาของรัฐบาลนาย ลี แจมยองผู้ว่าราชการจังหวัดคยองกีซึ่งเป็นคนของฝ่ายรัฐบาลกล่าวว่าซีรีย์เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์อันป่าเถื่อนของเกาหลีใต้ ส่วนนาย Hong Joon-pyo ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านกล่าวว่าเขาอดทนต่อความโหดร้ายในฐานะทหารและให้คำมั่นสัญญาว่าจะพิจารณาให้การเกณฑ์ทหารไปใช้ระบบแบบสมัครใจ
ภาพบางส่วนจากซีรีย์ D.P.
อีกทั้งซีรีย์ D.P. ได้ออกฉายในช่วงเวลาเดียวกันกับที่สังคมเกาหลีใต้กำลังถกเถียงถึงอนาคตของการเกณฑ์ทหาร โดยเฉพาะกับผู้ชายเกาหลีใต้ส่วนใหญ่บ่นว่าเขาต้องเสียโอกาสหลาย ๆ อย่างไปกับการรับใช้กองทัพแทนที่จะทำการศึกษาต่อหรือทำงาน
จากซีรีย์ D.P. สำหรับคนที่ดูมาแล้วก็ว่าความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศในกองทัพนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งสองเหตุผลก็หนึ่งในสาเหตุที่ทำใหมีทหารหนีทัพ ในส่วนนี้จะพาไปดูสถิติที่ไม่ค่อยดีที่เกิดขึ้นระหว่างที่ชายเกาหลีต้องเข้ามาประจำการ มีการเปิดโปงว่าระหว่างปี ค.ศ. 2004-2014 มีทหารเกณฑ์ฆ่าตัวตายไปกว่า 820 คนและ 15 เปอร์เซ็นเป็นคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ในตอนท้ายของซีรีย์ที่ทหารเกณฑ์กราดยิงทหารด้วยกันนั้นสามารถอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014 ที่ทหารเกณฑ์วัย 22 ปีกราดยิงเพื่อนร่วมหน่วย 5 ศพ ใกล้กับพรมแดนที่ติดเกาหลีเหนือ ในครั้งนั้นกองทัพเกาหลีต้องใช้กำลังถึง 4,000 คนในการระงับเหตุ และอพยพชาวบ้าน 500 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุออกนอกพื้นที่ โดยก่อนหน้านั้นปี ค.ศ. 2011 ทหารเกณฑ์วัย 19 ปี กราดยิงเพื่อนร่วมหน่วยเสียชีวิตที่เกาะกางฮวา ใกล้กับชายแดน ปี ค.ศ. 2005 ทหารเกณฑ์วัย 22 ปี ขว้างระเบิดและระดมยิงใส่เพื่อนร่วมหน่วนที่นอนหลับอยู่ ที่ด่านพิทักษ์ชายแดนทางเหนือของกรุงโซล ทำให้ทหาร 8 คนเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสอีก 2 คน
การปิดล้อมทหารเกณฑ์ผู้ก่อเหตุกราดยิงในปี ค.ศ. 2014
การอพยพผู้สูงอายุให้ออกจากพิ้นที่ระหว่างการปิดล้อมจับกุมทหารเกณฑ์ที่ก่อเหตุกราดยิงในปี ค.ศ. 2014
อ้างอิง
KLRI (n.d.). CONSTITUTION OF THE REPUBLIC OF KOREA. Retrieved September 24, 2021, from
https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do?lang=ENG&hseq=1
.
KLRI (n.d.). MILITARY SERVICE ACT. Retrieved September 24, 2021, from,
https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do?lang=ENG&hseq=25744
MGR ONLINE (23 มิถุนายน 2557). กองทัพเกาหลีใต้ “รวบตัว” ทหารเกณฑ์มือ “กราดยิง” เพื่อนร่วมหน่วย 5 ศพ. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก
https://mgronline.com/around/detail/9570000070407
.
Sangmi Cha (15 September 2021). Popular Netflix series sparks new debate over S.Korea's military conscription. Retrieved September 24, 2021, from
https://www.reuters.com/business/media-telecom/popular-netflix-series-sparks-new-debate-over-skoreas-military-conscription-2021-09-14/
.
True ID (9 เมษายน 2564). เกาหลีใต้และสหรัฐฯ ทำข้อตกลงสนับสนุนฐานทัพสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก
https://news.trueid.net/detail/KnP1g6K0W2KN
.
VOICE online (1 เมษายน 2561). สำรวจประเทศไหนบ้างยังคงมีระบบการเกณฑ์ทหาร. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564, จาก
https://voicetv.co.th/read/Sy0u7ZR9G
.
บันทึก
1
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย