25 ก.ย. 2021 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

เกิดอะไรขึ้นกับเครื่องบินทั้งสี่ลำ?

"มันรู้สึกเหมือนกับใครบางคนยกตึกไปแล้วก็เขย่า ก่อนจะเอามันมาวางกลับไว้ที่เดิม ฉันจับราวบันไดไว้แน่นมากเลยไม่ได้ตกลงมา แต่คนหลายคนล้มตกบันไดกันลงมา" หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ตึกถล่มกล่าวเอาไว้
17
คุณยังจำเหตุการณ์ในวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ไหม ย้อนรอย…เกิดอะไรขึ้นกับเครื่องบินทั้งสี่ลำ?
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 การโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ดำเนินการโดยกลุ่มหัวรุนแรง อัลไคดาหรืออัลกออิดะห์(al-Qaeda) นำโดย โอซามา บิน ลาเดน(Osama bin Laden) วางแผนการโจมตีนี้จากอัฟกานิสถาน ผู้วางแผนการโจมตี คาลิด ชีค โมฮัมเหม็ด
กลุ่มติดอาวุธ 19 คนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงอัลไคดาได้บุกจี้เครื่องบินสี่ลำและทำการโจมตีฆ่าตัวตายต่อเป้าหมายในสหรัฐอเมริกา
แต่ละทีมของผู้ก่อการร้ายมีสมาชิกที่ขับเครื่องบินเป็นหนึ่งคน โดยพวกเขาเรียนขับเครื่องบินในสหรัฐฯ
เครื่องบินลำแรก
เที่ยวบิน AA11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์บินออกจากสนามบินนานาชาติโลแกนในบอสตัน ออกจากสนามบิน 8.00 น. มุ่งหน้าไปลอสแอนเจลิสโดยมีผู้โดยสารเต็มความจุ มีนักบิน ผู้ช่วยนักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องอีก 9 คนและผู้โดยสารอีก 81 ชีวิต
ผู้ก่อการร้ายในเครื่องบินลำแรกนี้มีอยู่ 5 คน
การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 8.46 น. ตามเวลาตะวันออก เมื่อโบอิ้ง 767 เที่ยวบิน AA11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์พุ่งชนด้านข้างของอาคาร ลำแรกชนตึกฝั่งทิศเหนือของตึกทูเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์กซิตี้ ด้วยความสูง 110 ชั้น
แรงปะทะทำให้บันไดตั้งแต่ชั้น 92 ขึ้นไปไม่สามารถใช้การได้ ทำให้คนอีกหลายร้อยหนีลงมาข้างล่างไม่ได้
หลายคนที่อยู่บนนั้นพยายามหลบจากความร้อน ควันไฟ และเพลิงไหม้ น้อยลง นำไปสู่ภาพสยดสยองที่คนหลายคนที่ตกหรือกระโดดจากความสูง 300 เมตร ลงมาเสียชีวิต
2
ทันทีที่เครื่องบินลำแรกชน
ท่ามกลางความสับสน…
ระหว่างนั้น สื่อและหน่วยข่าวกรองคาดการณ์ว่าเครื่องบินดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุโดยบังเอิญ
แต่ทฤษฎีดังกล่าวทั้งหมดก็หายไปอย่างรวดเร็ว…
เมื่อ 17 นาทีหลังจากเครื่องบินลำแรกพุ่งชน เครื่องบินโบอิ้ง 767 ลำที่สอง ก็ปรากฏขึ้นจากท้องฟ้า เลี้ยวไปทางเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์อย่างรวดเร็วและตัดเข้าไปในตึกทางฝั่งทิศใต้ เมื่อเวลา 9.03 น.
เครื่องบินลำที่สอง
เที่ยวบิน UA175 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ออกบินโดยมุ่งหน้าไปยังลอสแอนเจลิส มีลูกเรือ 9 คน และผู้โดยสารอีก 56 คน
โดยมีผู้ก่อเหตุ 5 คนเช่นกัน
ลูกเรือ 2 คนถูกแทงโดยผู้ก่อเหตุที่น่าจะนั่งอยู่ที่นั่งระดับชั้นหนึ่ง จากนั้น โมฮัมเหม็ด อัตตา หนึ่งในผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นคนเดียวที่ขับเครื่องบินชนก็ค่อยๆ เดินจากที่นั่งระดับชั้นธุรกิจไปยังห้องนักบินโดยมีผู้ก่อเหตุอีกคนเดินไปด้วย
2
ลูกเรือและผู้โดยสารถูกไล่ไปท้ายเครื่อง ผู้ก่อการร้ายอัลไคดาใช้แก๊สที่ทำให้ระคายเคืองและขู่ผู้โดยสาร โดยอ้างว่ามีระเบิด
การโจมตีครั้งที่สองนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 9.03 น. เที่ยวบิน UA175 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ พุ่งชนตึกททางฝั่งทิศเหนือ…
ทั้ง 2 ตึกมีไฟลุกไหม้ ทำให้คนที่อยู่ส่วนบนของตึกไม่สามารถหนีลงมาได้ และนิวยอร์กก็ถูกปกคลุมไปด้วยควันไฟ ผ่านไปไม่ถึง 2 ชั่วโมง ทั้ง 2 ตึกก็ถล่มลง เกิดเป็นเมฆฝุ่นควันขนาดยักษ์
การปะทะกันทำให้เกิดการระเบิดขนาดใหญ่ที่โปรยซากเศษซากที่ไหม้เกรียมไปทั่วอาคารโดยรอบและบนถนนเบื้องล่าง
เวลา09:34 น. ตอนนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมที่วอชิงตันทราบแล้วว่ามีการจี้เครื่องบินลำที่สาม…
ทิศเหนือของตึกทูเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ตึกทิศใต้) ทันทีหลังจากถูกยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบิน 175 โจมตีก็ถล่มลงมา โดยใช้เวลาแค่ 11 วินาทีเท่านั้น(โรเบิร์ต เจ. ฟิช/วิกิมีเดียคอมมอนส์)
เครื่องบินลำที่สาม
เที่ยวบิน AA47 ของอเมริกันแอร์ไลนส์ ออกจากสนามบินนานาชาติวอชิงตัน-ดัลเลส ในกรุงวอชิงตันดีซี โดยมีลูกเรือ 6 คน และผู้โดยสาร 58 คน
มีผู้ก่อเหตุ 5 คน
เวลา 09:37 น. เครื่องบินลำที่ 3 พุ่งชนด้านหน้าของอาคารเพนตากอน ซึ่งเป็นที่ทำการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในรัฐเวอร์จิเนีย
เครื่องบินเที่ยวบิน AA47 พุ่งชนกำแพงฝั่งตะวันตกของอาคารเพนตากอน เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้สูงจากหลังคาถึง 60 เมตร ผู้โดยสารบินเครื่องทั้ง 64 คนเสียชีวิต รวมถึงคนอีก 125 รายที่สำนักงานใหญ่ของกระทรวงกลาโหม
การรายงานข่าวที่ตึกแฝดทำให้เหตุที่เกิดที่อาคารเพนตากอนถูกบดบังไป…
2
ขณะเดียวกัน เที่ยวบินต่าง ๆ ทั่วประเทศก็ยังออกบินตามปกติโดยที่ไม่ได้มีการแจ้งเตือน หนึ่งในนั้นคือเครื่องบินลำที่ 4 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำสุดท้ายที่จะถูกจี้ในวันนั้น
ผู้คน 125 ชีวิตในอาคารเพนตากอนต้องหมดลมหายใจ (ภาพbbc)
เครื่องบินลำที่สี่
เที่ยวบิน UA93 ของยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ ออกบินจากสนามบินนานาชาตินวร์ก ในนิวเจอร์ซีย์ มุ่งหน้าไปยังซานฟรานซิสโก
เครื่องบินนี้มีผู้ก่อเหตุแค่ 4 คน ไม่เหมือนกับอีก 3 ลำที่มีคนร้ายลำละ 5 คน
เที่ยวบินนี้มีกำหนดออกตอน 08.00 น. แต่การจราจรที่สนามบินทำให้เกิดความล่าช้า เครื่องลำที่สี่ออกเดินทางเวลา 08:42 น.เครื่องบินนี้ไปไม่ถึงจุดหมายที่วางแผนไว้ และคาดว่าความล่าช้าก่อนหน้านั้นเป็นปัจจัยหนึ่ง
เวลา09:42 น. หลังการโจมตีที่อาคารเพนตากอน ของเครื่องบินลำที่สาม องค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ ออกคำสั่งแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน นั่นคือสั่งให้เครื่องบินพาณิชย์ทุกลำลงจอดที่สนามบินที่ใกล้เคียงที่สุด
เวลา09:57 น. ถึงตอนนี้ ผู้โดยสารบนเครื่องบินที่สี่ เที่ยวบิน UA93 รู้แล้วว่าจะลงเอยอย่างไรถ้าไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง
เครื่องบินลำที่สี่โทรมาขอความช่วยเหลือ ในขณะนั้นมีเสียงนักบินหรือผู้ช่วยนักบินกำลังตะโกนท่ามกลางเสียงการต่อสู้ เจ้าหน้าที่จราจรทางอากาศในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เป็นผู้รับสายแต่ไม่มีอะไรที่พวกเขาสามารถช่วยได้ เพราะผู้ก่อเหตุได้ควบคุมเครื่องบินไว้ได้แล้ว
การก่อเหตุเริ่มขึ้นหลังจากเครื่องบินเที่ยวบิน UA93 ขึ้นไปได้ 46 นาที ไม่ใช่ครึ่งชั่วโมงเหมือนกับเครื่องบินลำอื่น ๆ โดยความล่าช้าก่อนเครื่องบินขึ้นเป็นตัวแปรสำคัญ
ตอนนี้ที่ท้ายลำผู้โดยสารเริ่มโทรศัพท์หาครอบครัวและคนรัก…หลายคนบอกว่าผู้ก่อเหตุไม่ได้ว่าอะไรที่พวกเขาคุยโทรศัพท์
3
ผู้โดยสารได้วางแผนกันต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย ทำให้เครื่องบินตกลงในทุ่งที่รัฐเพนซิลเวเนีย โดยสงสัยว่าจะมีการโจมตีในห้องนักบินที่มีเครื่องดับเพลิง จากนั้นเครื่องบินพลิกกลับและพุ่งไปที่พื้นด้วยความเร็ว 500 ไมล์ต่อชั่วโมง ก่อนจะตกที่ทุ่งนาในชนบทใกล้กับแชงค์สวิลล์ทางตะวันตกของเพนซิลเวเนียเวลา 10:10 น.
กันว่าผู้ก่อการร้ายของเครื่องบินลำที่สี่ ต้องการนำเครื่องบินพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี
เครื่องบินตกบริเวณทุ่งนาในชนบท ใกล้กับแชงค์สวิลล์ทางตะวันตกของเพนซิลเวเนีย
กว่า 100 นาทีผ่านไปหลังเครื่องบินเครื่องแรก เที่ยวบิน AA11 พุ่งชนตึกฝั่งทิศเหนือ ตึกนี้ทนอยู่ได้นานกว่าตึกทางฝั่นทิศใต้ตึกถึง 2 เท่าแต่ในที่สุดก็ถล่มลงทั้งหมดภายใน 9 วินาที
แม้ว่าเหตุไฟไหม้ในนิวยอร์กและ กรมตำรวจช่วยชีวิตผู้คนหลายพันคนจากตึกแฝด หอคอยทั้งสองพังภายในสองชั่วโมงหลังจากการโจมตีครั้งแรก
1
คร่าชีวิตทุกคนที่ยังติดอยู่ข้างใน ในท้ายที่สุด การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2,996ราย(รวมถึงผู้โดยสารที่เผชิญเหตุ 412 รายแรก และคนร้ายจี้เครื่องบิน) บาดเจ็บ 25,000 ราย และทรัพย์สินเสียหายหลายพันล้านเหรียญ
ผู้โดยสารบนเครื่องบิน 4 ลำ เสียชีวิตทั้งหมด…
ตึกตทูเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์กซิตี้ที่ถล่มลงมาทั้งหมด
ตอนที่เครื่องบินสองลำพุ่งชนตึก 2 ตึก คาดการณ์ว่ามีคนอยู่ในนั้น 17,400 คน ไม่มีใครในตึกทิศเหนือที่อยู่เหนือจากบริเวณที่เครื่องบินพุ่งชนรอดชีวิต ขณะที่ในตึกทิศใต้ มีคน 18 คนที่หนีลงมาจากชั้นที่อยู่เหนือจากเครื่องบินชนลงมาได้
1
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดประกอบไปด้วยคนจาก 77 ชาติด้วยกัน…
นักผจญเพลิง Gerard McGibbon จาก Engine 283 ใน Brownsville, Brooklyn สวดมนต์หลังจากที่อาคาร World Trade Center พังทลายลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 (ภาพ Mario Tama / Getty)
การค้นหาและกู้ภัยเริ่มต้นทันทีโดยแผนกดับเพลิงของนครนิวยอร์กเข้าสู่สิ่งที่กลายเป็น "Ground Zero" ด้วยความหวังที่จะหาผู้รอดชีวิต พวกเขาช่วยชีวิตคนได้ 18 คน โดยบางคนรอดชีวิตจากใต้ซากปรักหักพังได้มากกว่าหนึ่งวัน
มีคนอีกหลายพันที่ได้รับบาดเจ็บ หรือไม่ก็เริ่มมีอาการเจ็บป่วยที่เชื่อมโยงกับเหตุในครั้งนั้น อาทิ นักดับเพลิงที่ต้องทำงานท่ามกลางเศษซากและควันที่เป็นพิษ
นี่ยังเป็นปฏิบัติการกู้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศด้วย ในนิวยอร์กอย่างเดียว โดยนครนิวยอร์กเสียเจ้าหน้าที่กู้ภัยไป 441 รายด้วยกัน
ความร้อนที่แผดเผาและแรงที่รุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้เผชิญเหตุหลายคนจึงประสบกับผลข้างเคียง รวมถึงการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอย่างรุนแรง จากการสัมผัสกับโลหะหนักและสารพิษ เช่น แร่ใยหินระหว่างภัยพิบัติ
กว่า250 คนเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 9/11 และอีกหลายพันคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง…
กฎหมายที่เข้มขึ้น
มีการปรับมาตรการเพื่อความปลอดภัยบนเครื่องบินมากขึ้นทั่วโลกหลังจากเหตุก่อการร้ายในครั้งนั้น
ในความพยายามที่จะป้องกันการโจมตีในอนาคต กฎหมายชุดหนึ่งได้รับการติดตามอย่างรวดเร็วผ่านช่องทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกา เช่น พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งมาตุภูมิปี 2545 ที่สร้างขึ้น
ไม่ถึงเดือนหลังการโจมตี ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช สั่งกองทัพบุกอัฟกานิสถานซึ่งให้ที่พักพิงกลุ่มอัลไคดาอยู่ โดยได้รับความสนับสนุนจากนานาชาติ เพื่อกำจัดกลุ่มอัลไคดา และตามล่า บิน ลาเดน
การตอบสนองที่สำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกาต่อเหตุการณ์ 9/11 คือสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ติดอาวุธต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก ซึ่งส่งปฏิบัติการทางทหารของอเมริกาไปยังประเทศต่างๆ เช่น อิรัก ปากีสถาน และฟิลิปปินส์
สงครามในอัฟกานิสถานยาวนานถึง 20 ปี กลายเป็นความขัดแย้งที่ยาวนานที่สุดในสหรัฐอเมริกาทำให้ทหารอเมริกันกว่า 2,000 นายเสียชีวิตและบาดเจ็บเกือบ 20,000 คน
กองทัพสหรัฐฯ เพิ่งหาตัวและสังหาร บิน ลาเดน ได้ที่ปากีสถานเมื่อปี 2011 ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้วางแผนการโจมตี คาลิด ชีค โมฮัมเหม็ด ถูกจับกุมตัวในปากีสถานเมื่อปี 2003 ก่อนจะนำไปควบคุมตัวที่เรือนจำอ่าวกวนตานาโม ในคิวบา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และยังรอพิจารณาคดีอยู่
ตอนนี้ กลุ่มอัลไคดาก็ยังมีอยู่ และทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาคซับซาฮาราในแอฟริกา แต่ก็มีสมาชิกในอัฟกานิสถานด้วย
2 ทศวรรษผ่านไปหลังจากเหตุการณ์วันนั้น การถอนทัพของกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนวันครบรอบโศกนาฏกรรมในครั้งนี้นำไปสู่ความรุนแรงและความวุ่นวายอีกครั้ง
กลุ่มตาลีบันขึ้นครองอำนาจอีกครั้งหนึ่ง
ภารกิจของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2554 หลังบุกเข้าสังหารบิน ลาเดน ได้สำเร็จ…แต่ความรุนแรงและการนองเลือดอาจจะยังดำเนินต่อไป
ภาพผู้เสียชีวิตจากการโจมตีเมื่อ 11 ก.ย. 2001 ในพิพิธภัณฑ์ 9/11 ในนครนิวยอร์ก
ถ้าคุณอ่านแล้วได้ความรู้หรือข้อคิดต่างๆจากเรื่องราวเหล่านี้
ถ้าไม่อยากพลาดเรื่องราวข่าวสารดีๆที่น่าสนใจของทางเพจ ก็ขอฝากทุกท่านติดตาม กดไลค์ กดแชร์เพจ Stories around The World.(เรื่องราวรอบโลก) กันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา