ตำแหน่งแรก คือ Conjugate pad คือ ส่วนที่ติดกับจุดที่เราหยด sample ลงไปบนชุดตรวจ แอนติบอดีใน pad นี้ คือ แอนติบอดีต่อ N ที่มีสารทองคอลลอยด์ติดไว้อยู่
ถัดมาจะเป็นส่วนที่เป็นตัว T (Test line) จะมีแอนติบอดีต่อ N ปกติ ไม่มีการใส่สารมีสีวางไว้ในเส้นนั้น ดังนั้น เราจะไม่เห็นสีอะไรใน ATK ในสภาวะปกติ
และส่วนที่เป็นตัว C (Control line) จะมีแอนติบอดีที่ไว้จับกับแอนติบอดีที่เราใส่ไว้ใน Conjugate pad เช่น ถ้าใน Conjugate pad เป็นแอนติบอดีต่อ N ที่สร้างจากหนู ในส่วน T จะเป็นแอนติบอดีที่จำเพาะต่อแอนติบอดีของหนู (ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับโปรตีนของไวรัสโควิด-19 ในส่วนนี้)
เวลาใช้งานเราจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างที่มีไวรัส และใส่ลงไปในสารละลายที่ชุดตรวจให้มาด้วย ซึ่งจะทำให้ไวรัส "แตก" และ ปล่อย N ออกมาให้เยอะที่สุด ดังนั้นการปล่อยเวลาให้ตัวอย่างอยู่สัมผัสกับสารละลายปริมาณและเวลาเพียงพอจึงมีความจำเป็น เมื่อหยดสารละลายที่มี N ลงบนชุดตรวจแล้ว ของเหลวจะพา N ไปที่ Conjugate pad ซึ่ง N จะจับกับแอนติบอดีที่มีทองคอลลอยด์ในนั้น แล้วพากันเดินทางต่อไปกับของเหลว
จุดหมายแรกที่เจอคือ T line ถ้าตัวอย่างเรามี N ติดอยู่กับแอนติบอดีทองคอลลอยด์ N นั้นก็จะถูกแอนติบอดีใน T line จับไว้ทันที ทำให้เกิดสีของทองคอลลอยด์บนแถบ T line นั้น แอนติบอดีที่เหลือที่ไม่มี N ติดอยู่ก็จะเดินทางต่อไปถึง C line ซึงจะถูกจับโดยแอนติบอดีตรงนั้นเช่นกัน ซึ่งจะเกิดเป็นแถบสีที่บริเวณนั้น เป็นอันจบกระบวนการ แสดงว่าของเหลวเดินทางไปถึงจุดหมายที่ต้องการแล้ว
เส้นในแถบ T จะเข้มมากเข้มน้อยขึ้นอยู่กับ N ที่หยดใส่ชุดตรวจ ถ้าจางมากๆ ก็แสดงว่ามีไวรัสน้อย หรือไม่มีขีด T เลย คือไวรัสอาจจะไม่มีในตัวอย่างหรือน้อยเกินจะตรวจวัดได้ แต่ทั้งนี้อาจขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่าง การทำให้ไวรัสแตกตัว และคุณภาพของแอนติบอดีที่นำมาใช้ทำ ATK ด้วย