26 ก.ย. 2021 เวลา 06:50 • ประวัติศาสตร์
ตรอก​ พื้นที่ลับสายตาเก่าแก่ที่เกิดจากความเจริญ​ของยุคสมัย
1.นโยบายของฝ่ายปกครองในสมัยรัชกาล​ที่5ได้ทฝมีการส่งเสริมให้มีการปลูกอาคารไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงามแก่พระนคร​ แต่ยังรวมไปถึงเพื่อป้องกันอัคคีภัย​ด้วย​ ดังที่เสนาบดีกระทรวง​โยธา​ธิการ​ที่ว่า​ "ตึกที่ราษฎร​ได้ออกทุนทรัพย์​เปนอันมาก​...... เปนการเจริญแก่บ้านเมือง​ แลไม่เป็นเชื้ออัคคีภัย​ด้วย"
การตัดถนนแพร่งภูธร
ด้วย​ "กรมพระคลังข้างที่" เป็นแหล่งทุน​ ชนชั้นชั้นนำสมัยนั้นจึงมีการสร้างตึกแถวอาคารมากมายด้วยอิฐ​ด้วยปูน
อาคารอิฐและปูน
อาคารเหล่านี้ถือเป็นสัญญลักษณ์​บ่งบอกความเจริญ​ของพระนครแต่อีกด้านหนึงทำให้เกิดพื้นที่ที่พ้นสายตาคนส่วนใหญ่​ ซึ่งเป็พื้นที่ด้านหลัวตึกแถวริมถนนสายต่างๆซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นตึกแถวสูงๆหรืออาคารบ้สนเรือนตั้งเป็นตระง่านเป็นป้อมปรากสรป้อวกันเงามืดจากสายตาคนภายนอก
จึงทำให้เกิดพื้นที่ว่างเวิ้งหรือตรอกซอกซอยอยู่ลึกเข้าทางด้านหลัง​ ลักษณะ​ทางกายภาพ​เช่นนี้จึงทำให้เกิด​ ตรอกเล็กซอกซอยอยู่ไปทั่ว
พื้นที่ส่วนนี้ส่วนมากเจ้าของที่จะใช้ประกอบกิจการส่วนตัว​ ไม่ว่าจะเป็นตลาด​ หรือโรงมหรสพ​ เช่น​ ตลาดนางเลิ้ง​ ตลาดท่าเตียน
ตลาดท่าเตียนปัจจุบัน
หรือ​ ใน​ ปี​ 2426 บริเวณ​ตรอกถั่วงอก​ ซอยข้าวต้มปลาริมถนนเยาวราช​ เช่น​ นายเฉยกับจีนทินสานแข่งขาย​ จีนแตกงเหมงปลูกถั่วงอกขาย
บางพื้นที่กลายเป็น​ที่ซุกซ่อนสิ่งสิ่งไม่เจริญ​หูเจริญ​ตาของเมืองไว้เช่น​ ตรอกอาจม​ ตรอกสุนัขเน่า​ ตรอกมูลฝอย
ตรอกบางตอกอาจซ่อนความสกปรกไว้เช่นตรอกใกล้วัดมหาธาตุสมัยนั้นมีศพคนตายทิ้งฝนตรอกประจำ
หรือบางตรอกอาจซุกซ่อน​แหล่งอบายมุข​ เช่น​ ตรอกวัดตึกเก่า​ ตรอกเต๊า ตรองโรงคราม
ข้อมูล​จาก​ บทความ​ อยู่ในตรอดเล็กศอกร้อยสถานอบายมุข​กัยแหบ่งบ่มเพาะนักเลงในกรุงเทพฯ​ในทศวรรษ​ 2460-2490
โฆษณา