28 ก.ย. 2021 เวลา 01:58 • ข่าวรอบโลก
“อังเกลา แมร์เคิล” นายกฯ หญิงเหล็กแห่งเยอรมนีที่โลกจารึก
กับ 16 ปี 4 สมัย ผู้กำหนดทิศทางอินทรีย์เหล็กบนเวทีโลก
แม้การเลือกตั้งเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมาแล้ว พรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตย (CDU) ของนายกรัฐมนตรี "อังเกลา แมร์เคิล" หญิงเหล็กแห่งยุโรปจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคสายกลางซ้าย สังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) ซึ่งมี "นายโอลาฟ โชลซ์" เป็นหัวหน้าพรรค และมีการประกาศชนะเป็นที่เรียบร้อย นั่นเท่ากับว่าการเมืองของเยอรมนีได้เปลี่ยนขั้วหลังจากที่พรรค CDU ครองอำนาจมายาวนานถึง 16 ปี กับการเป็นนายกรัฐมนตรี 4 สมัย
1
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งแมร์เคิล เป็นผู้นำประเทศที่มีคนรู้จักและจดจำเธอได้มากที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคปัจจุบัน และผลงานที่ผ่านมาก็สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของยุโรปมากมายหลายเรื่อง และเธอยังครองตำแหน่งสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกถึง 8 สมัยจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส (Forbes)
🔵 ประเดิมบริหารประเทศครั้งแรกด้วยการแก้โจทย์หิน เศรษฐกิจตกต่ำ ว่างงานพุ่ง
ปี 2005 เป็นปีแรกที่แมร์เคิลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนักหน่วงสำหรับเยอรมนี เนื่องจากช่วงนั้นประเทศประสบปัญหาวิกฤตว่างงาน และวิกฤตเศรษฐกิจจากที่ต้อง “เตี้ยอุ้มค่อม” เยอรมันตะวันออกมานานเกือบ 40 ปี หลังจากการรวมทั้งสองฝั่งของเยอรมนีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งจากกการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ และการสุดสิ้นลงของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ที่แบ่งแยกประเทศออกเป็นสองฝั่งตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
การที่เยอรมันตะวันตกต้องแบกเยอรมันตะวันออกมายาวนาน เพราะการพัฒนาที่เหลื่อมล้ำกันในอดีต ส่งผลกระทบมาจนถึงช่วงเวลาที่แมร์เคิลเริ่มดำรงตำแหน่ง เศรษฐกิจของเยอรมนีไม่ได้สู้ดีนัก อัตราการว่างานสูงถึง 16% แต่ด้วยนโยบายเศรษฐกิจ และการเพิ่มความต้องการแรงงานในภาคต่างๆ ทำให้อัตราการว่างงานในปีถัดไปลดลงเหลือเพียง 9.4% และยังคงลดลงเรื่อยๆ ทุกปีจนมีอัตราการวางงานของประชากรเพียง 3.3% เท่านั้น
เอาจริงๆ จะว่าไปแมร์เคิลก็จับพลัดจับผลูเข้าสู่วงการการเมือง เนื่องจากเดิมทีเธอทำงานในสายวิทยาศาสตร์ เพราะเรียนจบด้านฟิสิกส์เคมี จนมีดีกรีถึงระดับด็อกเตอร์ แล้วก็ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์
เธอก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองจากการชักชวนของอดีตนายกรัฐมนตรี เฮลมุท โคห์ล ช่วงปี 1991 – 1994 โดยประเดิมนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงครอบครัวและเยาวชน ก่อนที่จะย้ายไปตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ธรรมชาติและความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ควบตำแหน่งเลขาธิการพรรค CDU
หลังจากการเสียชีวิตของนายกรัฐมนตรีโคห์ล เธอถูกวางตัวเป็นผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งผู้นำเยอรมนี ซึ่งเอาจริงแล้วในตอนนั้นสายตาของทั้งสื่อมวลชน และผู้สมัครพรรคอื่นมองเธอเป็นเพียงไม้ประดับ ไม่ได้โดดเด่นอะไร เป็นผู้หญิงที่มีรูปลักษณ์เชยๆ บ้านนอกมาจากเมื่อต่างจังหวัดฝั่งตะวันออกของประเทศ
แต่หารู้ไม่ว่าผู้หญิงเชยๆ คนนี้แหละที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2005 และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของยุโรปได้ และกลายเป็นนายกฯ หญิงคนแรกของเยอรมนีที่ครองตำแหน่งยาวนานถึง 16 ปี
ที่ผ่านมาตลอด 4 สมัยแมร์เคิลเจอทั้งกระแสบวกและลบมากมายระหว่างการดำรงตำแหน่ง แต่สิ่งที่เป็นผลงานชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการวางแนวทางด้านเศรษฐกิจของเยอรมนี โดเฉพาะช่วงปี 2006 ที่เศรษฐกิจทั้งยุโรปตกต่ำ อัตราการวางงานสูงอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า แต่แมร์เคิลสามารถผลักดันการดำเนินนโยบายภาคเศรษฐกิจที่ส่งผลทำให้เยอรมนีโตสวนกระแสประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้
ไม่เพียงเท่านั้นยังเพิ่มสัดส่วนส่งออกสินค้า และลดอัตราการว่างงานลงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานที่โดดเด่นนี้ทำให้หลังการเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ได้เพียงแค่ 2 ปีกว่าๆ ในปี 2007 เธอได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน
อย่าลืมว่าการเป็นประธานอียูนั้น ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อทั้งภูมิภาคและทั้งโลก เพราะในอียูมีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมากมายเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี รวมทั้งสเปน ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค การที่ผู้หญิงคนหนึ่งสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นนำสูงสุดในสหภาพยุโรปในระยะเวลาอันสั้นมันคงไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ และการที่เธอสามารถพลิกเศรษฐกิจเยอรมนีให้โตสวนทางกับประเทศอื่นในภูมิภาคที่เจอวิกฤตเดียวกัน ก็คงไม่ใช่แค่ฟลุ๊กอย่างแน่นอน
อีกหนึ่งวิกฤตครั้งสำคัญของยุโรปก็คือ วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2008 ที่หลายคนคงจะทราบว่าเกิดจากการที่ประเทศกรีซ ประเทศลูกหนี้รายใหญ่ของยุโรปประสบปัญหาด้านการผลิดนัดชำระหนี้จำนวนมหาศาล ก่อนจะลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคทั้งอิตาลี สเปน โปรตุเกส และอีกหลายๆ ประเทศ
1
การที่กรีซก่อหนี้สาธารณะสูงลิบ เพราะการใช้จ่ายเงินเกินตัว แถมยังเป็นเงินกู้จากธนาคารกลางยุโรป เพื่อนำมาใช้จ่ายในภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์เมื่อปี 2004 ทำให้กรีสเกือบเข้าขั้นล้มละลาย กระทบต่อค่าเงินยูโร ซึ่งในยุโรปเริ่มมีการเสียแตกออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งหนึ่งก็คือให้ทำการช่วยเหลือต่อกรีซ เพราะถ้าไม่ช่วยยุโรปทั้งภูมิภาคอาจล้มเป็นโดมิโนตามกันอย่างแน่นอน และหนี้สินที่กรีซกู้ยืมไปอาจกลายเป็นศูนย์ และภาคระต่างๆ ก็จะตกกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่ต้องมารับกรรมช่วยกันแบกหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ
อีกฝั่งหนึ่งก็สนับสนุนให้ตัดกรีซออกจากยุโรปไปเลย เพราะถือว่าเป็นภาระ และให้กรีซยกเลิกการใช้สกุลเงินยูโรแล้วกลับใช้สกุลเงินท้องถิ่นแทน
2
แต่สิ่งที่แมร์เคิลและฝรั่งเศสที่เวลานั้นดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปร่วมกันทำก็คือ ยืนยันว่าจะต้องช่วยเหลือกรีซ แต่มีเงื่อนไขที่โหดแสนโหด จนเรียกได้ว่าใจจืดใจดำเลยก็ไม่ผิด เพราะมีการสั่งให้ยกเลิกการอุดหนุนเงินช่วยเหลือแก่ประชาชน ขูดภาษีเพิ่มอีกเพิ่มนำมาใช้หนี้ รัฐบาลกรีซต้องรัดเข็มอันจนเอวจะขาดตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ได้มากที่สุด แน่นอนว่ามารตการโหดนี้ถูกประเทศลูกหนี้ด่าเละเทะ เพราะประเทศก็ลำบากอยู่แล้วดันโดนประธานอียูกดดันหนักแบบนี้อีก แต่สุดท้ายก็ต้องทำตาม ซึ่งใช้เวลาไม่กี่ปียุโรปก็ผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้
1
🔵 ไม้เบื่อไม้เมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์”
เรื่องราวระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ กับแมร์เคิลถือว่าเป็นมวยต่างมุมที่มีเรื่องกระทบกระทั่ง และความคิดเห็นไม่ค่อยจะลงรอยกันบ่อยๆ โดยเฉพาะนโยบายการรับมือผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลางและการทหารในอัฟกานิสถาน เพราะทรัมป์ถือว่าเป็นคนหนึ่งที่แทบจะต่อต้านการรับผู้อพยพลีภัยจากต่างแดนเข้าประเทศ และพยายามกีดกันทุกวิถีทาง แต่เยอรมนีกลับมีนโยบายเปิดรับผู้ลี้ภัย และยังเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปทำแบบเดียวกั
2
ซึ่งเป็นผลทำให้ทุกวันนี้ยุโรปเต็มไปด้วยผู้คนพลัดถิ่นนับล้านที่อพยพจากทั้งตะวันออกกลาง และแอฟริกาเข้ามาในภูมิภาค ซึ่งประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็ไม่ได้พอใจอะไรมากนัก เพราะต้องยอมรับว่าการรับผู้ลี้ภัยเข้ามาจะนำปัญหาต่างๆ เข้าสู่ภูมิภาคทั้งเรื่องของความขัดแย้งด้านศาสนา การที่ประเทศเหล่านี้ต้องนำเงินภาษีไปช่วยเหลือ ความสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และปัญหาสังคมอื่นๆ มากมาย ซึ่งเป็นจุดที่พรรคฝ่ายค้านใช้โจมตีนางแมร์เคิลตลอด
แต่กลับกลายเป็นว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ แต่ในเยอรมนีที่รับผู้ลี้ภัยมากเป็นอันดับต้นๆ ของยุโรปกลับเกิดปัญหาน้อยกว่ามาก และได้รับเสียงชื่นชมจากประชาคมโลกในด้านสิทธิมนุษยชน
ส่วนการที่เธอไม่สนับสนุนนโยบายทางทหารกองทัพสหรัฐฯ ต่อปฏิบัติการในอัฟกานิสถานก็เป็นเหมือนกับการตั้งป้อมอยู่ฝั่งตรงข้ามกับทรัมป์แล้ว และทรัมป์ก็มักโจมตีนางแมร์เคิลบ่อยครั้ง รวมทั้งเรื่องปัญหาโรคระบาดครั้งนี้ที่เธอก็มักโจมตีทรัมป์กลับเป็นกัน โดยเฉพาะการที่ทรัมป์ชอบให้ข้อมูลผิดๆ มั่วๆ เกี่ยวกับไวรัส จนเกิดเป็นสงครามน้ำลายกันบ่อย
ไหนจะเรื่องที่ท่าทีของแมร์เคิลสนับสนุนการเข้ายึดแคว้นไครเมียของยูเครน โดยกองทัพรัสเซีย รวมทั้งการไปญาติดีกับประเทศจีนในช่วงที่ทรัมป์มีนโยบายกีดกันทางการค้า และการตั้งกำแพงภาษีเพื่อโจมตีจีนจนเป็นที่มาของสงครามการค้า ทำให้สหรัฐฯ ยิ่งไม่พอใจท่าทีของนางแมร์เคิลที่ไปสานสัมพันธ์กับมหาอำนาจเอเชีย เพื่อยุทธศาสตร์ทางการค้าและผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเธอก็โดนโจมตีจากประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ อีกด้วย
🔵 ต่อให้ดีบ้าง พลาดบ้าง แต่เธอก็คือผู้นำหญิงที่โลกต้องจารึก
แมร์เคิลก็เหมือนผู้นำทุกคนบนโลกใบนี้ที่มีทั้งด้านที่ประสบความสำเร็จและด้านที่ผิดพลาด โดยเฉพาะการรับมือกับโรคระบาดที่นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในครั้งนี้ ซึ่งหลายครั้งที่การดำเนินนโยบายไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือเกิดการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมาจนต้องมีการประกาศคำสั่งต่างๆ ที่เข้มงวดกับประชาชน ทำให้คะแนนความนิยมของเธอตกต่ำลง
อีกทั้งประเด็นการเปิดรับผู้ลี้ภัยก็ใช่ว่าคนในประเทศจะเห็นด้วยกับนโยบายของเธอ เพราะก็เกิดการประท้วง เกิดกระแสต่อต้าน บางครั้งเกิดการใช้ความรุนแรงกับผู้ลี้ภัย และชุมชนมุสลิม ซึ่งนั่นทำให้พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนี หรือ AFD ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาที่ต่อต้านผู้อพยพ ได้ชัยชนะครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งปี 2017 ได้ 94 ที่นั่ง จากเดิมเพียง 17 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า กลายเป็นพรรคอันดับ 3 รองจากพรรค CDU ที่แมร์เคิล เป็นหัวหน้า และพรรคประชาธิปไตยสังคมที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคกรีนในตอนนี้
ส่วนมุมที่ได้รับการสนับสนุนและชื่นชมก็คงเป็นเรื่องนโยบายความเท่าเทียมความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียม ที่ผลักดันนโยบายสมรสเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ จนกฎหมายนี้ผ่านการลงมติของสมาชิกสภาเยอรมนี รับรองสิทธิการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ที่ในตอนแรกจะมีแค่การจดทะเบียนแบบคู่ชีวิตเท่านั้น และยังทำให้กลุ่ม LGBTQ สมรสได้เท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศ และการรับรองเรื่องการมีบุตรอีกด้วย
1
แม้ว่านางแมร์เคิล และพรรค CDU ของเธอจะไม่ได้ไปต่อในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าเธอเป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และการที่เธอออกมาพูดอะไรก็ตามคนทั้งโลกต้องฟังเธอ ไม่ต่างจากผู้นำประเทศใหญ่ๆ ที่เป็นมหาอำนาจโลก ชื่อของอังเกลา แมร์เคิล คงถูกจารึกไว้บนทำเนียบผู้นำโลกเพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวของเธอ ที่สำคัญที่สุดคือใครที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแห่งดินแดนอินทรีย์เหล็กนี้ คงจะมีความกดดันไม่น้อยว่าจะทำได้ดีกว่าที่เธอเคยทำมาหรือแย่กว่าหรือไม่
1
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
โฆษณา