13 ต.ค. 2021 เวลา 07:34 • ไลฟ์สไตล์
มารู้จัก "India Pale Ale (IPA)" เบียร์ที่เด่นด้วยฮ็อปส์และยีสต์ ที่แรงสะใจ (ฉบับมือใหม่)
ถ้าพูดถึงเบียร์ ที่ไม่ใช่ประเภท Lager
เราก็จะต้องนึกถึง Ale
และพอนึกถึง Ale ก็อดไม่ได้นี่จะนึกถึงเบียร์ IPA หรือ India Pale Ale
ซึ่งจุดนี้ อาจสะท้อนได้ตั้งแต่เรื่องราวของ Craft Beer ได้ถูกพูดถึงและเริ่มมีผู้ผลิตมือโปรเจ้าใหม่ ๆ มากมาย ได้สร้างสรรค์ผลงานคราฟต์เบียร์ขึ้นมา และ ผลงานชิ้นเอกของหลาย ๆ คน ก็คงจะเป็น IPA ในรูปแบบต่าง ๆ
คือ เบียร์ IPA เขาจะมีจุดเด่น ตั้งแต่การเลือกใช้ชนิดของฮ็อปส์ ที่มีความหลากหลายมาก
ลูกเล่นที่เราสามารถเพิ่มเติมได้จากมอลต์ และ ยีสต์
รวมถึงรูปแบบ ไม่ได้มีการกำหนดแบบตายตัว เหมือนเบียร์ประเภทอื่น ๆ
ทั้งหมดเหล่านี้คือสเน่ห์ของ IPA เขาเลยละ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ใช่คอ Beer หรือ Ale
พวกเราก็หวังว่า พวกเราสามารถมอบสาระเบาสมอง ตามสไตล์ฉบับมือใหม่ กับเรื่องราวแนะนำตัวเกี่ยวกับเจ้าเบียร์ที่มีสเน่ห์ตัวนี้ เพิ่มขึ้นมา ในซี่รี่ส์ของ “โลกของเบียร์ ฉบับมือใหม่” 🙂
สำหรับเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นมากของ IPA ก็ขอเชิญอ่านตรงนี้ได้เลยจ้า
1
เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่เป็นคอเบียร์ คงจะทราบดีอยู่แล้ว เกี่ยวกับที่มาของ India Pale Ale หรือ IPA
ที่ถึงแม้จะมีชื่อว่า India ที่หมายถึงประเทศ
แต่แท้จริงแล้ว ผู้ที่คิดค้นและเผยแพร่ กลับไม่ใช่คนอินเดีย…
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ใช่คอเบียร์ ก็คงจะถามว่า
“อ่าว… ถ้าไม่ใช่ แล้วจะไปตั้งชื่อให้มันสับสนทำไมละ ?”
คือเรื่องราวมันเป็นแบบนี้
ต้องเริ่มมากจากวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ในสมัยก่อนของชาวอังกฤษ (ตั้งแต่สมัยที่ยังมีอาณานิคมอังกฤษ จักรวรรดิ์อังกฤษ โน่นเลยละ) ที่เรียกได้ว่าพวกเขาแทบจะดื่มเบียร์แทนน้ำเปล่ากันเลย เพราะนอกจากจะให้ความผ่อนคลายแล้ว สำหรับผู้ใช้แรงงานหลายคน ยังทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นเหมือนรางวัลหลังจากการทำงานหนัก
ซึ่ง คนอังกฤษในสมัยนั้นจะนิยมดื่มเบียร์ Pale Ale หรือไม่ก็จะเป็นพวกแนวเบียร์ดำอย่าง Porter หรือ Stout ไปเลย
ตัวเบียร์ Lager อาจจไม่ได้เป็นที่นิยมมากในสมัยก่อน
และด้วยวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ Pale Ale แบบขาดไม่ได้นี่ละ ก็เลยเป็นตัวแปรสำคัญของเนื้อเรื่องเบียร์ IPA
เพราะอังกฤษในสมัยนั้น เป็นยุคที่ทำการขยายอาณานิคมไปทั่วโลก ด้วยกองทัพเรือ และ ดำเนินการผูกขาดทางการค้า
แน่นอนว่า อังกฤษจะไม่สามารถกระทำแบบนั้น หากขาดการส่งผู้คนออกไปยังประเทศต่าง ๆ
หนึ่งในอาณานิคมที่สร้างชื่อเสียงในเรื่องของอิทธิพลกองเรืออังกฤษ และ เรื่องของการผูกขาดการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ จากฝั่งเอเชียและตะวันออกกลาง
ก็คงจะไม่พ้น บริษัทที่มีชื่อว่า “British East India” ที่มีเบื้องหลังคือรัฐบาลอังกฤษ แต่จัดตั้งบริษัทประเทศอินเดีย (ตอนนั้นยังคงเรียกว่า “อนุทวีปอินเดีย” ซึ่งรวมไปถึงประเทษศรีลังกา เนปาล ด้วย)
กลับมาที่เรื่องของเบียร์กันต่อ คือ ด้วยทหารอังกฤษที่ต้องออกมาปฏิบัติภารกิจต่างแดนในบริษัท “British East India” แน่นอว่า สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ เบียร์ Pale Ale สุดโปรด
แต่จะให้ทำยังไงดีละ
เพราะกว่าที่เบียร์จะเดินทางจากอังกฤษ มาถึงอินเดีย เนี่ย
เบียร์เหล่านั้น ก็หมดอายุไปเสียก่อน หรือ ถ้าไม่หมดเนี่ย รสชาติกลับไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย
มันนานเกินไป…
ต่อมาในปี ค.ศ. 1815 ชาวอาณานิคมอังกฤษ จึงได้คิดหาวิธีในการที่จะส่งเบียร์จากอังกฤษ (ยังคงดื้ออยู่)
แต่ว่า ลองปรับด้วยการเพิ่มจำนวนของ “ฮ็อปส์” และ “ยีสต์” เข้าไปดู โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะยืดอายุของเบียร์ระหว่างเดินทางมาส่ง นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่า สิ่งที่ชาวอาณานิคมอังกฤษในอินเดียจะได้มาเนี่ย
อาจมากกว่าการถนอมเบียร์นะ แต่ได้ความอร่อยเป็นของแถมชิ้นสำคัญ
เพราะว่ารสชาติและกลิ่นหอมแบบผลไม้ กลับเป็นที่ถูกใจเอาซะมาก ๆ
รสชาติขมแบบร้อนแรงจากปริมาณ“ฮ็อปส์”
ส่วน “ยีสต์” ก็จะให้ความแรงจากปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้น
(ซึ่งสมัยก่อนนั้นจะขมจัด ๆ ว่ากันว่าขมมากกว่าตะบองเพชร เพราะเคยถูกวัดค่าความขม IBU (International Bitterness Units) ได้ที่ 120 IBU)
แล้วทีนี้ คนอังกฤษสมัยนั้น เขาก็ไม่รู้ว่าจะเรียกเบียร์ชนิดนี้ว่าอะไรดี.. ที่แน่ ๆ ไม่เรียกว่า Pale Ale แน่นอน
ไหน ๆ พวกเขาก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ต้องมาทำงานที่อินเดียแล้ว
งั้นก็ ตั้งชื่อมันเป็น “India Pale Ale” หรือ IPA ไปเลยก็แล้วกัน
หลังจากที่อาณานิคมอังกฤษ และ บริษัท British East India ได้ปิดตัวไปแล้ว
คนอังกฤษกลุ่มนั้น ก็ได้กลับมายังประเทศบ้านเกิด
และนำเจ้าเบียร์ IPA นี้ละ มาสานรสชาติความอร่อยต่อ
นั้นจึงเป็นที่มาของให้เบียร์ IPA ที่เรารู้จักหรือได้ชิมกันนั้น
มีรสชาติกลิ่น และ ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากกว่า และ สร้างความแตกต่างกับ Pale Ale ปกติ นั่นเองจ้า
ถ้าพูดถึงความขมแล้ว สมัยก่อนอาจจะไม่เหมือนกับในสมัยนี้ ที่ปรับให้มีความกลมกล่อมให้มากขึ้น ไม่ได้เน้นเรื่องการถนอมหรือยืดอายุของเบียร์แล้ว
แต่ปัจจุบัน IPA อาจเปรียบได้กับ งานศิลปะ นั่นเอง
พวกเราเองก็ไม่เคยลองให้ครบหมดทุกชนิดเลย มันมีเยอะมากก
แต่ก็สนุกทุกครั้งที่ได้ลอง โดยเฉพาะคราฟต์เบียร์ของคนไทย
ถึงแม้ว่าพวกเราจะเป็นเพียงแค่มือใหม่หัดดื่ม :):)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
-หนังสือ “Tasting Beers” โดย Randy Mosher
โฆษณา