5 ต.ค. 2021 เวลา 08:40 • ไลฟ์สไตล์
ไขข้อสงสัย "Ketchup" กับ "Tomato Sauce" แตกต่างกันยังไง ?
พวกเราอาจเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ที่สงสัยอยู่ตลอดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เวลาที่เราเรียกซอสมะเขือเทศในภาษาอังกฤษเนี่ย เอะ... ตกลงมันใช้คำว่าอะไรกันแน่นะ
สารภาพว่าพวกเราก็มึนๆ เรียกมันไปทั้ง 2 อย่าง สลับไปมาบ้าง
ซึ่งโชคดีหน่อยที่บ้านเรา จะไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ เพราะทุกคนเหมือนจะเข้าใจว่า เรากำลังต้องการ "ซอสมะเขือเทศ" ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่บ้าง
แต่ว่า... พวกเราก็มาคิดกันเล่น ๆ ว่า
เออ ตอนที่พวกเราไปเที่ยวยุโรปกันเนี่ย
ก็ดูเหมือนว่า เรื่องการเรียกซอสมะเขือเทศเนี่ย แอบจะเป็นปัญหาเบา ๆ กับพวกเรา เพราะดูเหมือน ชาวฝรั่ง เขาจะมีความเข้าใจว่า กับการที่เราเรียกซอสทั้ง 2 แบบ ที่มีความแตกต่างกันไปเลย
ถ้างั้นวันนี้ พวกเรา InfoStory ขอหยิบเกร็ดความรู้เบาสมอง เกี่ยวกับซอสมะเขือเทศ ทั้ง 2 แบบ ที่มีชื่อเรียกและความหมาย ที่แตกต่างกัน มาให้เพื่อน ๆ อ่านกัน
ไปดูกันเลย !
ต้นกำเนิด "Ketchup" มันเป็นอย่างไรนะ ?
หากอ้างอิงความเป็นมา จากตามนิตยสาร National Geographic
คือ ผู้คนมักจะคุ้นเคยว่า "Ketchup" มีต้นกำเนิดที่แรกเลยจากชาวอเมริกัน ในชื่อของ American Ketchup (ตามความเชื่อจากบริษัทผลิตซอสที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอย่าง "Heinz")
แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว Ketchup เนี่ย เขาถูกคิดค้นแรกเริ่มมาจากชาวอังกฤษ ในสมัยศตวรรษที่ 17
ซึ่งว่ากันว่า ชาวอังกฤษจากบริษัท British East India ได้มาทำงานอยู่ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับประทานปลากระป๋องที่มาจากประเทศจีนตอนใต้ และ เวียดนาม จนติดใจ
แต่ว่า สิ่งที่คนอังกฤษเหล่านี้รู้สึกชอบใจ กลับไม่ใช่ตัวเนื้อปลา
แต่ว่าคือ ตัวซอสที่อยู่ในปลากระป๋องตะหากละ ซึ่งน้ำซอสนี้ มีชื่อเรียกว่า kê-tsiap หรือ koechiap ที่มีรสชาติหวานเค็มเข้มข้น นั่นเอง
ต่อมา เมื่อชาวอังกฤษกลุ่มนี้ ได้เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของตัวเอง ก็ได้ทำการผลิตซอสทีมีลักษณะเหมือนกับ ซอส koechiap
ซึ่งในขณะนั้น ส่วนผสมของมัน กลับไม่ได้มีมะเขือเทศเลยนะ
เพราะในซอสนั้นมี หอยนางรม, เห็ด, วอลนัท และ แอนโชวี
เอาง่าย ๆ คือ ส่วนประกอบอะไรที่ทำให้ได้ซอสหน้าตาดำๆ รสชาติแบบนั้น ก็เลยจับมาทดลอง
kê-tsiap หรือ koechiap ก็คือซอสสีดำหน้าตาเหมือนน้ำมันหอยทางซ้าย
เรื่องราวนี้ก็ยังปรากฎอยู่ในหลักฐานการบันทึก "Ketchup in Paste”ของ Richard Bradley นักโบราณคดีชาวอังกฤษ อีกด้วยนะ
ว่าแต่ ทำไม Ketchup ถึงกลายมาเป็นสูตรมะเขือเทศได้ ?
คือ ต้องบอกว่า เจ้า Ketchup สูตรมะเขือเทศแบบในปัจจุบันเนี่ย ถูกบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1812 ว่า เกิดมาจาก นักพฤษศาสตร์ที่ชื่อว่า James Mease ต้องการที่จะเก็บถนอม
"มะเขือเทศ" ไว้ได้นานที่สุด เพราะว่า ฤดูกาลปลูกมะเขือเทศในสมัยนั้น มันช่างสั้นเหลือเกิน
วิธีการที่ดีที่สุดคือ การถนอมโดยการแปรรูปให้มาอยู่ลักษณะของซอส ซึ่งสามารถจะเก็บได้เป็นปีเลยละ
James Mease จึงเลือกที่จะนำมะเขือเทศมาผสมเข้ากับซอสที่มีชื่อเสียงอย่าง Ketchup จึง ได้สูตรใหม่ในชื่อของ "Tomato Ketchup" แต่เขาต้องการให้ มะเขือเทศ เนี่ย เป็นส่วน
ประกอบหลัก และมีส่วนประกอบอื่นๆ ของ Ketchup เช่น น้ำตาล น้ำส้มสายชู และ เครื่องเทศ
James Mease
จริงๆแล้ว เรื่องราวของซอสมะเขือเทศ ฉบับ Ketchup มันมีเรื่องต่อยาวกว่านี้เลยนะ
ยาวจนไปถึง Henry J. Heinz ผู้ก่อตั้งบริษัทไฮนส์ ในปัจจุบันกันเลยละ
แต่ พวกเราจึงขอพักแค่ เรื่องของจุดเริ่มต้นนี้กันก่อนดีกว่า กลัวเพื่อน ๆ จะเบื่อเอาก่อน
ปล. ข้อมูลที่พวกเราค้นหา จะเป็นในรูปแบบความเข้าใจของชาวยุโรป
แต่หากว่า เราอ้างอิงเรื่องของซอสมะเขือเทศของบริษัท Heinz ก็อาจจะได้ข้อมูลได้รูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ดี พวกเราเข้าใจว่า ข้อมูลเกี่ยวกับซอสทั้ง 2 แบบ อาจไม่มีผิด ไม่มีถูก หากเราจะนำมาเรียกใช้ภายในประเทศไทย เพราะยังไงเราก็จะได้ซอสมะเขือเทศแบบที่เราต้องการมาอยู่ดี
ซึ่งสำหรับชาวฝรั่งเองแล้ว พวกเราก็แอบไปอ่านคอมเม็นต์มาเหมือนกัน พวกเขาก็มีการเถียงกันนะว่า ไอเจ้าซอสมะเขือเทศ ที่ไม่ได้ประกอบไปด้วย มะเขือเทศ เป็นหลัก ยังจะสามารถเรียกได้ว่า เป็นซอสมะเขือเทศ อีกเหรอ...
(อันนี้คงต้องนานาจิตตังนะ แห่ะๆ..)
ก็ถือว่าเป็นความรู้รอบตัวกันไปแทน
:)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา