28 ก.ย. 2021 เวลา 08:24
- 97/100 -
‘บทคัดย่องานวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพของตัวดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชใช้แล้ว’
จากการศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบตัวดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังเหลือทิ้งและเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบตัวดูดซับในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว การทำวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของต้นแบบตัวดูดซับในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ได้แก่ ปัจจัยด้านกรรมวิธีการผลิตตัวดูดซับ และปัจจัยทางด้านเวลา
โดยจะศึกษาผลของปัจจัยดังกล่าวต่อปริมาณสารประกอบโพลาร์ ปริมาณสาร conjugated dieneและปริมาณกรดไขมันอิสระในน้ำมันพืชที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วเปรียบเทียบกับน้ำมันที่ไม่ผ่านการปรับปรุง โดยในวิธีการดำเนินการวิจัยได้นำตัวอย่างเปลือกมันสำปะหลังน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาตากแดดและอยให้แห้ง จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด แล้วเอาไปพัฒนาเป็นตัวดูดซับแบบต่างๆ โดยที่ A1 จะเผาอุณหภูมิที่ 600 องศาเซลเซียส A2 จะเผาอุณหภูมิที่ 200 องศาเซลเซียส ในเวลา 2 ชั่วโมงเท่ากัน แล้วจากนั้นนำไปวัดปริมาณสารประกอบ , วัดปริมาณสาร CD และปริมาณ FFA ต่อไป
สรุปผลงานวิจัยนี้ทำการพัฒนาตัวดูดชับจากเปลือกมันสำปะหลังและทดสอบประสิทธิภาพของตัวดูดชับในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืช โดยพบว่าตัวดูดชับ A3 ที่ผลิตโดยการนำเปลือกมันสำปะหลังไปบดและเผาที่ 200 องศาเซลเซียส แล้วนำมาย่อยด้วย 1 N NaOH มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสารประกอบโพลาร์ในน้ำมันพืชให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 20% และลดปริมาณ FFA ได้ถึง 43.36 % เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันพืชใช้แล้วที่ไม่ผ่านกระบวนการดูดซับ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าตัวดูดชับ A3 ไม่สามารถลดปริมาณสาร CD ในน้ำมันพืชใช้แล้วได้
*ใช้เวลาทั้งหมด 46 นาที*
โฆษณา