28 ก.ย. 2021 เวลา 10:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม
ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม
ระบบการทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน
(อ่านบทความ วงจรการทำความเย็นแบบพื้นฐานได้ที่ : http://www.coldersolution.co.th/posts/2021/07/Refrigerant-Cooling-System/)
ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากขึ้น
ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุดคืออุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกการทำความเย็นตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้
1. ห้องเย็น (Cold Room) เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร ห้องเย็นถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับสินค้า เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ก่อนจะถูกผลิต จัดจำหน่ายตามลูกโซ่ความเย็น
2. ห้องแช่แข็ง (Frozen Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิของสินค้าในระยะเวลาอันสั้นที่สุดตามหลักการถนอมรักษาอาหาร หรือใช้กับวัตถุดิบที่ต้องการความเย็นสูง
การลดอุณหภูมิของสินค้าหรือวัตถุดิบ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้ในการทำความเย็น สำหรับหลักการทำความเย็นโดยใช้เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น (Evaporator) สามารถแบ่งได้ดังนี้
(Direct Expansion)
1. แบบขยายโดยตรง (Direct Expansion)
เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับห้องเย็นที่มีค่าการทำความเย็นไม่สูงมากนัก โดยสารทำความเย็นจะไหลจากฝั่ง คอยล์ร้อน (Condenser)
เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นและไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เข้าสู่คอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยตรง
Flooded Coil
2. แบบท่วมคอยล์ (Flooded Coil)
เป็นระบบสารทำความเย็นที่ส่งจากคอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นที่มีความดันสูง และไหลผ่านวาล์วลดความดันไปสู่ถังเก็บสารทำความเย็นความดันต่ำก่อน
ก่อนจะไหลเข้าคอยล์เย็น โดยอาศัยการที่ของเหลวไหลไปแทนที่ก๊าซ จุดแตกต่างสำหรับระบบนี้ คอยล์เย็นหรือ Condenser จะต้องมีปริมาตรของท่อที่บรรจุสารทำความเย็นมากกว่าแบบแรก เพราะต้องใช้พื้นที่สำหรับให้ก๊าซของสารทำความเย็นแยกตัวออกและลอยตัวขึ้นด้วย
Pump Recirculation
3. แบบปั๊มหมุนเวียน (Pump Recirculation)
มีความคล้ายคลึงกับแบบที่ 2 มาก แต่แตกต่างกันที่สารทำความเย็นจากถังความดันต่ำจะถูกปั๊มเข้าสู่คอยล์เย็น หรือ Evaporator
อัตราการไหลของสารทำความเย็นผ่านคอยล์เย็นจะอยู่ในช่วง 3-5 เท่า
ของปริมาตรการกลายเป็นไอ โดยคำนวนจากปริมาณความเย็นที่ต้องการ
ทำให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบทำความเย็น 3 ข้อด้านบน เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการผลิต เพื่อทำความเย็นให้กับวัตถุดิบ
หลักการออกแบบห้องเย็นควรคำนึงถึงอุณหภูมิของสินค้า ไปถึงอุณหภูมิห้อง การคำนวนระยะเวลาการจัดเก็บ การหมุนเวียนอากาศ ความดัน ความชื้นให้แม่นยำ รวมถึงสารทำความเย็น ให้เหมาะกับระบบทำความเย็น หรือเครื่องทำความเย็นที่เลือกใช้ในอุตสาหกรรมของคุณ
หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับระบบทำความเย็น รวมถึงเลือกสารทำความเย็นให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เพื่อคุณภาพสูงสุด
ปรึกษาเราได้ที่ Line id : @Colder
หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจำหน่าย น้ำยาแอร์และสารทำความเย็น รวมถึงอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นอื่นๆ
#สารทำความเย็น #น้ำยาแอร์ #ท่อเดินสารทำความเย็น #ท่อสารทำความเย็น #ท่อน้ำยาแอร์ #Refrigerant #น้ำยาแอร์R22 #น้ำยาทำความเย็น #ระบบปรับอากาศ #เครื่องทำความเย็น #ระบบทำความเย็น #อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง #สารทำความเย็นอุตสาหกรรม #ระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมอาหาร #ประเภทการทำความเย็น #ความรู้เครื่องเย็น
โฆษณา