6 ต.ค. 2021 เวลา 00:30 • ปรัชญา
“งานที่ดี คืองานที่สร้างความหมายให้กับชีวิตได้”
ว่าด้วยปรัชญาการทำงานที่ไม่ได้มีแค่ตัวเงินมาเกี่ยวข้อง
2
“Work gives you meaning and purpose, and life is empty without it” – Stephen Hawking
13
โควตคำพูดข้างต้น คือคำแนะนำที่สตีเฟน ฮอว์กิง นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกเคยให้คำแนะนำกับลูกๆ ของเขาไว้ เพราะเชื่อเหลือเกินว่า งานที่เราจะอยู่กับมันได้ทั้งชีวิตต้องเป็นงานที่ทรงคุณค่า ทำให้มองเห็นเป้าหมายในชีวิตชัดเจนขึ้น ซึ่งฮอว์กิงเชื่อว่า หากขาดพร่องซึ่งสิ่งเหล่านี้ไปชีวิตก็รังแต่จะว่างเปล่า
12
อ่านดูแล้วคำว่างานที่สร้างความหมายให้กับชีวิตอาจจะฟังดูใหญ่และห่างไกลสำหรับใครหลายคน นั่นอาจจะเป็นเพราะธรรมชาติของมนุษย์มีการมองทุกอย่างในชีวิตด้วยการ ‘segmentation’ ออกจากกัน เรามองชีวิต การทำงาน ไลฟ์สไตล์ ความรื่นรมย์บันเทิง หรือกระทั่งความสุขออกจากกันในหลายๆ ครั้ง
4
สำหรับบางคนงานอาจจะช่วยสร้างความสุขได้ การทำงานช่วย ‘fulfilled’ ชีวิตมากขึ้น เพราะเมื่อไรที่งานสำเร็จุล่วงตามเป้าหมาย ค่าพลังความสำเร็จก็จะพุ่งสูงตามไปด้วย
2
นั่นเป็นเพราะคนเหล่านี้ผูกโยงชีวิตกับงานเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ได้มองงานกับชีวิตแบบแยกส่วน ขณะที่บางคนแบ่งงานไว้อีกกล่อง แยกกับ ‘ชีวิต’ ออกไป คล้ายกับงานเข้ามาเติมเต็มคุณในสัดส่วนของรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตก็เท่านั้น
1
ซึ่งวิธีการมอง ‘way of working’ แบบฮอว์กิงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคนที่ประสบความสำเร็จระดับโลกเท่านั้นนะคะ แต่ปรัชญาการทำงานข้อนี้ยังได้รับการแนะนำจากศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรจาก University of Oxford ด้วย
3
เธอบอกว่า ถ้าเรารักในสิ่งที่ทำ ปัญหาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจะไม่ชวนให้เรารู้สึกแย่หรืออยากล้มเลิก ทว่า ขณะเดียวกัน หากคุณปักจิตปักใจกับงานจนถึงจุดที่งานกลายเป็นหัวใจสำคัญของตัวคุณเอง มันก็อาจจะสร้างความเสียหายให้กับเราได้ด้วย
3
เธอยกตัวอย่างอาสาสมัครทำงานด้านสัตว์ป่าและการจัดการทรัพยากร โดยพบว่า แม้คนกลุ่มนี้จะเข้ามาทำงานด้วยใจรักอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เพราะรู้สึกกับมันมากจนอยากทำให้ดีสุดความสามารถ เมื่อเกิดปัญหาติดขัดเข้า บ่อยครั้งเข้าก็ทำให้หลายคนหมดไฟ และเลิกล้มกลางทางไปในที่สุด
2
นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า แม้ปรัชญาการทำงานของฮฮว์กิงจะถูกต้อง แต่ถ้าเกิดสิ่งไม่คาดฝันนอกแพลนขึ้นมา เราเองก็ต้องใจเย็น มีสติ และเขียนแผนขึ้นมาจัดการทั้งตัวงานและความรู้สึกของตัวเองกันใหม่อีกครั้ง เพราะความผิดพลาดเพียงไม่กี่ครั้งไม่ได้เป็นตัวพิสูจน์ว่าคุณไม่เหมาะกับงานนี้ คุณไม่ได้รักงานนี้จริงๆ หรือคุณด้อยความสามารถไปเลย
6
ในทางกลับกัน หากคุณผ่านบททดสอบนี้ไปได้ก็ไม่ได้เท่ากับว่านี่จะเป็นความผิดพลาดครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน มากไปกว่านั้น ตราบใดที่คุณยังต้องใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ ไม่วันใดวันหนึ่งคุณก็ย่อมจะเจอปัญหาใหม่ๆ ผุดขึ้นมาให้แก้อีกไม่รู้จบ เพราะหลายครั้งชีวิตก็ไม่ได้มีตัวแปรเดียวแต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็เพราะเหตุผลเหล่านี้แหละที่ทำให้แพลนเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ
2
ส่วนคนที่ยังอยู่กับงานที่ไม่ชอบ ไม่รู้ว่าจะตามหางานที่สร้างความหมายให้กับชีวิตได้ยังไง เอมี่ ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กร มหาวิทยาลัยเยล แนะนำว่าให้ลองใช้ ‘the art of crafting’ คือลองดึงบางส่วนจากงานที่ทำอยู่มาเกลี่ยดูก่อนก็ได้ค่ะว่า ภายในตัวงานที่เราไม่ได้รู้สึกกับมากๆ มีสักเศษเสี้ยวไหมที่เราจะนำมาต่อยอดและอยู่กับมันได้ มีส่วนไหนบ้างที่ตัวเราเชื่อมต่อกับงานได้เป็นอย่างดี
2
ถ้ายังหาไม่เจอไม่ต้องพยายามเค้นมากเกินไปนะคะ เพราะนั่นอาจจะกลายเป็นการกดดันจนคุณเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาได้ ค่อยๆ ตามหาไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้ยังเป็นการลองผิดลองถูกอยู่ค่ะ
1
แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณเจอมันแล้ว เจอในสิ่งที่รักและได้ทำมันเป็นอาชีพ การทำงานจะไม่ใช่แค่การรอจดสินค้าโปรโมชันที่อยากได้ หรือลิสต์บิลที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนเท่านั้น แต่การทำงานยังเป็นเหมือนพลังงานดิบที่ช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปให้กับชีวิตด้วย
.
ตามหามันให้เจอนะคะ 🙂
2
เขียนโดย Piraporn Witoorut
.
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
.
.
“Knowledge is the only way to success”
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
ติดตามคอนเทนต์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จจาก Future Trends ได้ที่
(อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ใหม่ในทุก ๆ วัน)
#FutureTrends #KnowledgeforSuccess
โฆษณา