29 ก.ย. 2021 เวลา 04:24 • ประวัติศาสตร์
The Admiral: Roaring Currents: เมื่อเรือเต่าพิฆาตกองเรือญี่ปุ่น
โปสเตอร์ภาพยนตร์ The Admiral: Roaring Currents
ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีผู้ที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาตินั้นมีเพียงไม่กี่คน และหนึ่งในนั้นคือนายพลอีซุนยิน ผลงานที่ทำให้ทำอีซุนชินได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษคือการที่เขาสามารถนำกองเรือของโชซอนในการเอาชนะกองเรือของญี่ปุ่นที่จำนวนมากกว่าได้ในสงครามอิมจิน (ค.ศ. 1592-1598) โดยภาพยนตร์ The Admiral: Roaring Currents จะมีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องสงครามอิมจินครั้งที่ 2 เป็นหลัก
ช่วงเวลาใน The Admiral: Roaring Currents จะเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ในซีรีย์ Kingdom ถ้าระบุให้แน่ชัดคือ 3 ปีหลังจากที่สงครามอิมจินสิ้นสุดลง สังเกตจากฉากย้อนอดีตของอันฮยอนที่เล่าถึงตอนที่ญี่ปุ่นบุกโชซอน และทหารของโชซอนมีไม่พอที่จะรับมือกับพวกญี่ปุ่น โจฮักจูจึงเสนอแผนงานใช่สมุนไรคืนชีพในการจัดการกับพวกญี่ปุ่น
เรือเต่าระหว่างสงครามอิมจินครั้งที่ 1
อย่างที่ที่บอกก่อนหน้าว่า Admiral: Roaring Currents จะเล่าเฉพาะเพียงสงครามอิมจินครั้งที่ 2 แต่เพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมของสงครามอิมจินทั้งหมด บทความตอนนี้จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงจะต้องมาบุกโชซอน
ความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับโชซอนเริ่มมาจากการในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เกาหลีควบคุมการค้าจากญี่ปุ่นโดยที่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่นการค้าตกไปอยู่ที่โชซอนทำให้ญี่ปุ่นได้ก่อความวุ่นวายบริเวณท่าเรือทั้งสามแห่งของโซซอน ทางโชซอนส่งก่อทหารมาปราบจลาจล หลังจากความวุ่นวายจบลงเกาหลีได้ลดจำนวนเรือของญี่ปุ่นที่จะเข้ามาค้าขายรวมทั้งปริมาณสินค้าที่แลกเปลี่ยนโดยเฉพาะข้าวและถั่ว
สาเหตุที่โชซอนลดทั้งจำเรือและการค้าขายกับญี่ปุ่นเนื่องจากโชซอนเล็งเห็นว่าญี่ปุ่นนั้นต้องการขยายอิทธิพลเข้ามายังโชซอน ผ่านการค้าโดยจำนวนเรือและผู้คนของญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีจำนวนมาก ถ้าไม่จำกัดสิทธิในการค้า ญี่ปุ่นอาจจะเข้ามาควบคุมการค้าทางทะเลของโชซอน
โจรสลัดญี่ปุ่น
ผลที่ได้จากการลดสิทธิทางการค้าทางทะเลกับญี่ปุ่นคือการโจมตีจากโจรสลัดญี่ปุ่นบริเวณรอบ ๆ ชายฝั่งของโซซอน แต่โชซอนสามารถขับไล่โจรสลัดออกไปได้
ในส่วนของสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1590 โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi) ได้กลายเป็นผู้มีอำนาจมากทีสุดนเกาะญี่ปุ่น หลังจากที่เขาสามารถปราบโชกุนตระกูลต่าง ๆ จนรวมญี่ปุ่นเป็นหนึ่งเดียวได้ ด้วยความที่ฮิเดโยชิต้องการแสดงถึงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของตัวเอง เขาจึงตัดสินใจที่จะบุกโจมตีราชวงศ์ของจีนโดยใช้โชซอยเป็นทางผ่าน
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ
ทางโซซอนเมื่อได้ทราบเรื่องที่ฮิเดโยชิจะบุกหมิง ทางโชซอนจึงส่งทูตสองคนเพื่อไปสืบว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นความจริงหรือแค่ข่าวลือ ทูตทั้งสองกลับมาถึงโชซอนในปี ค.ศ. 1591 แต่ความคิดของทูตทั้งสองคนนั้นต่างกัน โดย ออก Hwang Yun-gil ยืนยันว่าข่าวนั้นเป็นความจริงและสงครามกำลังใกล้เข้ามา ในขณะที่ Kim Song-il บอกว่าเรื่องที่ฮิเดโยชิจะมาทำสงครามกับหมิงเป็นเรื่องหลอกหลวง เมื่อทูตทั้งสองคนให้ข้อมูลที่ต่างกันราชสำนักโชซอนก็ความวุ่นวายเพราะตัดสินใจไม่ถูกว่าควรจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร
ในปี ค.ศ. 1592 กองกำลังของญี่ปุ่นจำนวนกว่า 150,000 คนหรือบางแหล่งบอกว่ามีจำนวนมากถึง 250,000 คน นับเป็นการทำสงครามนอกบ้านญี่ปุ่นที่ใช้ทหารมากที่สุดก่อนที่สงครามมหาเอชียบูรพาญี่ปุ่นจะใช้กำลังมากกว่านั้น กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีเมืองปูซานเป็นที่แรก ญี่ปุ่นรุกคืบขึ้นไปบนแผ่นดินของโชซอนได้อย่างง่ายดาย เนื่องด้วยทหารราบของญี่ปุ่นที่ใช้ปืนคาบศิลาได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ทำให้กองทัพโชซอนไม่สมารถที่จะรับมือได้ เพียงสามสัปดาห์กองทัพญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองฮันยางเอาไว้ได้ ทำให้โชซอนต้องถ่อยร่นขึ้นไปทางเหนือ
สาเหตุที่โชซอนล้มเหลวในการรับมือการบุกของญี่ปุ่นเนื่องด้วยความสับสนในเรื่องข้อมูล และที่สำคัญที่สุดคือโชซอนอยู่อย่างสงบสุขมานานหลายปี ทำให้ทหารไร้ประสบการณ์ในการทำสงครามไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียบวินัยในกองทัพ การฝึกฝนที่ไม่เข้มข้น รวมถึงทหารกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ผิดกับญี่ปุ่นที่ทำสงครามกลางเมื่องมาหลายปีทำให้กองทัพญี่ปุ่นประกอบด้วยทหารที่มีความชำนาญในการทำสงคราม
พลปืนคาบศิลาของกองทัพญี่ปุ่น
หลังจากยึดฮันยางกองทัพญี่ปุ่นได้แบ่งกำลังออกเป็นสองส่วนเพื่อไปยึดเมืองอื่น ๆ ต่อ โดยกองกำลังแรกเป็นของ โคนิชิ ยูกินากะ (Konishi Yukinaga) รับหน้าที่ให้ไปยึดเปียงยาง กองกำลังที่สองของ คาโต้ คิโยมาสะ (Kato Kiyomasa) รับหน้าให้เคลื่อนกองทัพบนยังบริเวณชายฝั่งตะวันออกไปยังแม่น้ำตูเมน ซึ่งอยู่ทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือของโชซอน
โคนิชิ ยูกินากะ (Konishi Yukinaga)
สถานการณ์สงครามบนภาคพื้นดิน โชซอนตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเมื่อกองทัพญี่ปุ่นพบเห็นชาวโชซอนที่ใดก็จะทำฆ่าจนหมด และทำการตัดหูและจมูกจนรวบรวมได้มากพอจนสร้างขึ้นเป็นเนินขนาดใหญ่ ซึ่งมีหูและจมูกกว่าจำนวนอย่างน้อย 38,000 ชิ้นถูกดองและส่งกลับไปญี่ปุ่นเพื่อเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จในสงคราม โดยชิ้นส่วนเหล่านั้นถูกฝังอยู่ที่เนินมิมิซึกะ (Mimizuka) ในเกียวโต
เนินมิมิซึกะ (Mimizuka) ในเกียวโต
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกองทัพญี่ปุ่นของคือยึดครองพื้นที่บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของโชซอนด้วยกองกำลังภาคพื้นดิน และกองทัพเรือจะยึดครองบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวของเมืองชอลลา เพื่อการันตีว่ากองกำลังภาคพื้นดินจะมีเสบียงที่เพียงพอระหว่างทำสงคราม แต่แผนการที่วางไว้ของญี่ปุ่นต้องล้มเหลวเมื่อการรบทางทะลกองทัพเรือญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือโชซอนที่บัญชาการโดยนายพลอีซุนชิน
คาโต้ คิโยมาสะ (Kato Kiyomasa)
กองทัพเรือของโชซอนภายใต้การนำของนายพลอีซุนชินสามารถจมเรือขอญี่ปุ่นไปได้หลายร้อยลำ โดยสิ่งที่ทำให้กองเรือญี่ปุ่นต้องแตกพ่ายไปคืออาวุธชนิดใหม่ที่ทางโชซอนนำออกมาใช้ สิ่งนั้นคือ “เรือเต่า” (Geobukseon) ซึ่งเป็นเรือหุ้มเกราะลำแรกของโลกอีกด้วย โดยเรือเต่าลำนี้ต่อเสร็จเพียงไม่กี่วันก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกที่ปูซาน เรือเต่านั้นถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อการถูกยิงด้วยปืนใหญ่ และหน้าที่สำคัญของเรือเต่าคือการทะลวงกองเรือของญี่ปุ่น อีกทั้งเรือเต่ายังบรรจุปืนใหญ่ถึง 28 กระบอกซึ่งสามารถยิงได้รอบทิศทาง เมื่อกองเรือญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้าต่อสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยพบเห็นทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะรับมือได้ เป็นเหตุให้กองเรือของญี่ปุ่นถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก และในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1592 นายพลอีซุนชินได้ยึดครองพื้นที่ทางทะเลโดยสมบูรณ์ อันเป็นการตัดเสบียงที่จะส่งมาจากญี่ปุ่นให้กับกองกำลังภาคพื้นดิน
เรือเต่าระหว่างสงครามอิมจินครั้งที่ 1
ในส่วนของสงครามภาคพื้นดินชาวโชซอลที่โกรธแค้นกองทัพญี่ปุ่นได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นหลากหลายกลุ่ม เพื่อร่วมกันขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากโชซอน อีกทั้งในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1593 หมิงได้ส่งกองกำลัง 40,000 คนภายใต้การนำของนายพล Li Rusong เพื่อช่วยโชชอน เพราะหมิงรู้ดีว่าถ้าปล่อยให้โชซอนถูกยึดกองทัพญี่ปุ่นจะใช้โชซอนเป็นฐานส่งกำลังเพื่อรุกรานหมิง
ภาพวาดนายพลอีซุนชิน
เมื่อญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะที่ขาดเสบียงและยังต้องทำสงครามกับหมิงและโชซอนไปพร้อม ๆ กันทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมากทำให้ญี่ปุ่นเปิดการเจรจาสงบศึกกับพวกหมิง แต่การเจรจาก็เป็นการพูดคุยที่ยืดเยื้อ โดยทางฝั่งญี่ปุ่นยืนยันว่าพวกเขาชนะสงคราม แต่หมิงบอกว่าญี่ปุ่นกลายเป็นรัฐบรรณาการของหมิงแล้ว ซึ่งการเจรจายืดเยื้อกว่าสามปีโดยที่หาข้อสรุปไม่ได้ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1597 ฮิเดโยชิได้ส่งกองเรือระลอกที่ 2 มาบุกโชซอนอันเป็นการเปิดฉากสงครามอิมจินครั้งที่ 2
กองทัพญี่ปุ่นที่ยกมาทำสงครามอิมจินครั้งที่ 2 มีจำนวนกว่า 140,000 คน และการบุกครั้งนี้ฮิเดโยชิรู้ว่าโชซอนจะต้องเตรียมรับมือมาเป็นอย่างดี รวมทั้งถ้านายพลอีซุนชินยังคงเป็นผู้บัญชาการกองเรือของโชซอนก็เป็นการยากที่ญี่ปุ่นจะเอาชนะโชซอนในการรบทางทะเล และทางญี่ปุ่นได้ทราบว่าในราชสำนักโชซอนมีการแบ่งฝักเป็นแบ่งฝ่าย ญี่ปุ่นจึงใช้กลอุบายสายสับสองหน้าโดยส่งสายลับที่มีนามว่าโยชิระเข้าไปแผงตัวในโชซอนในชื่อของคิมอุงซู
กองเรือของญี่ปุ่นในสงครามอินจินครั้งที่ 2 ภาพจากภาพยนตร์ The Admiral: Roaring Currents
เมื่อคิมอุงซูได้แฝงตัวข้าไปราชสำนักโชซอนได้สำเร็จเขาได้ทำการรายงานข้อมูลผิด ๆ ให้กับทางโชซอนซึ่งทางโชซอนนั้นก็เชื่อในสิ่งที่คิมอุงซูรายงานโดยสนิทใจ เมื่อได้เวลาที่จะกำจัดอีซุนชิน คิมอูงซูได้รายงานแม่ทัพคิมของโชซอนว่ากองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของ Kato Kiyomasa ที่มีกำลังหมาศาลจะโจมตีโชซอน โดยเขารายงานถึงรายะเอียดที่ว่าจะโจมตีวันเวลาเท่าไร และสถานที่ใด รวมถึงยุยงระบุว่าผู้เหมาะสมที่จำกองเรือโชซอนออกรบต้องเป็นนายพลอีซุนชินเท่านั้น
ซึ่งแม่ทัพคิมหลงเชื่อและนำเรื่องดังกล่าวไปรายงานต่อนายพลคอน ยูลซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ของโชซอน และรายงานดังกล่าวก็ไปถึงพระเจ้าซอนโจ ด้วยความที่พระเจ้าซอนโจกระหายในชัยชนะ พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำการโจมตีในวันดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามนายพลอีซุนชินปฏิเสธพระบรมราชโองการของพระเจ้าแทโจ เนื่องจากเขาทราบดีว่าสถานที่ดังกล่าวรวมถึงคลื่นลมนั้นไม่เหมาะสมกับการรบ และเขาเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากสายลับของญี่ปุ่น
จากการที่นายพลอีซุนชินปฏิเสธพระบรมราชโองการ และถูกใส่ร้ายจากขุนนางและนายทหารที่อิจฉา ทำให้นายพลอีซุนชินถูกปลดออกจากตำแหน่ง และถูกนำไปจองจำและลงทัณฑ์ที่ฮันยาง ภายหลังจากปลดนายพลอีซุนชิน โชซอนได้แต่งตั้งให้นายพลวอน กยูนเป็นผู้นำกองเรือเข้าต่อสู้กับกองเรือญี่ปุ่น ด้วยความที่นายพวอน กยูนไร้ความสามารถเขาได้นำกองเรือของโชซอนไปสู่ความพินาศชิลซองลยอง ทำให้กองเรือของโซชอน 157 ลำจากจำนวนทั้งหมด 169 ลำถูกทำลาย
หลังจากที่กองทัพเรือโชซอนได้พ่ายแพ้อย่างยับเยินทางโชซอนจึงได้คืนตำแหน่งให้กับนายพลอีซุนยิน นายพลอีซุนยินได้เข้ามาจัดระเบียบกองทัพเรือใหม่ทั้งหมด และด้วยจำนวนเรือที่เหลือเพียง 12 ลำและทหารเรือเพียง 200 คน นายพลอีซุนชินจึงต้องใช้กลยุทธ์ที่รัดกุมที่สุด โดยกลยุทธ์ที่เขาใช้สู้กับกองเรือญี่ปุ่นคือการชักนำให้กองเรือญี่ปุ่นเข้ามาโจมตีกองเรือโชซอนที่ช่องแคบเมียงยาง ซึ่งในจุดนี้นายพลอีซุนชินได้ใช้ประสบการณ์ในการอ่านกระแสน้ำ ทำให้กองเรือโชซอนสามารถเอาชนะกองเรือญี่ปุ่นที่จำนวนมากกว่าได้ และโชซอนก็กลับมาควบคุมพื้นที่ทางทะเลได้อีกครั้งในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1957
นายพลอีซุนชิน จากภาพยนตร์ The Admiral: Roaring Currents
สงครามดำเนินมาถึงเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1958 และญี่ปุ่นกำลังเผชิญความเสียหายอย่างหนัก ฮิเดโยชิได้เสียชีวิตอย่างกระทันหัน ทำให้กองทัพของญี่ปุ่นทั้งหมดถอนทัพออกจากโซซอน และระหว่างที่กองเรือญี่ปุ่นกำลังถอยกองเรือโซซอนได้ไล่ตามทำลายกองเรือญี่ปุ่นไปตลอดการหนี และในระหว่างการไล่โจมตีกองเรือญี่ปุ่นนายพลอีซุนชินได้ถูกยิงเสียชีวิตในการรบนอร์ยาง ซึ่งการรบที่นอร์ยางญี่ปุ่นสูญเสียเรือรบไปมากกว่า 250 ลำจาก 500 ลำ
เรือของนายพลอีซุนชินกำลังรับมือกับกองเรือญี่ปุ่นที่ช่องแคบเมียงยาง
สงครามอิมจินแม้ซซอนจะเป็นฝ่ายชนะ แต่สงครามได้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อโชซอนในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก โดยผลกระทบที่โชซอนได้รับคือการที่ประชาชนล้มตายระหว่างการรุกรานไปเป็นจำนวนมาก พื้นที่ไร่น่าเสียหาย เครื่องมอทางการเกษตรถูกทำลาย และการละทิ้งถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงครามทำให้เกิดภาวะอดอยากไปทั่วโชซอน
อีกทั้งระหว่างการรุกรานเอกสารการลงทะเบียนที่ดินถูกทำลาย เนื่องด้วยสถานที่ราชการถูกเผาทำลาย ทำให้ช่วงหลังสงครามขุนนาง ผู้มีอำนาจหรือแม้กระทั่งชาวนาใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อเข้าถือครองที่ดิน ปัญหานี้ส่งผลต่อราชสำนักโชซอนเป็นอย่างมาก เพราะทางโชซอนจะเก็บภาษีที่ดินได้น้อยลงเก็บได้เพียง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสงคราม แม้ทางโชซอนจะทำการสำรวจและจัดการที่ดินใหม่แต่ก็ไม่อาจที่จะป้องกันการเบียดบังที่ดินของรัฐโดยเอกขนได้
ความอดอยากในโชซอนจากซีรีย์ kingdom ซึ่งเนื้อเรื่องในซีรีย์คือเหตุการณ์สามปีหลังจากสงครามอิมจินได้จบลง
ผลกระทบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือหลังจากสงครามโชซอนมีความอ่อนแอลงและมีความจำเป็นที่จะต้องรีบฟื้นฟูบ้านเมือง ทำให้ปัญหาเรื่องชายแดนที่มองข้ามไป ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นชาวหนีว์เจินหรือที่รู้จักกันในนามชาวแมนจูที่อาศัยบนที่ราบสูงแมนจูเรียได้เสริมความเข้มแข็งและก่อความวุ่นวายด้วยการปล้นสะดมบริเวณชายแดนโซซอนอยู่เป็นประจำ เป็นเหตุให้โชซอนต้องตัดความสัมพันธ์กับหมิงและผูกไมตรีกับชาวหนีว์เจินแทน ในภายหลังชาวหนีเจินนี้จะโค่นล้มราชวงศ์หมิงและก่อตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น
ในปัจจุบันเพื่อยกย่องวีรกรรมทางเกาหลีใต้สร้างอนุสาวรีย์ของนายพลอีซุนชินไว้ที่จัตุรัสควางฮวามุน ซึ่งจั้งอยู่เบื้องหน้าอนุสาวรีย์ของพระเจ้าเซจงและพระราชวังเคียงบก และความยิ่งใหญ่ที่นายพลอีซุนชินได้ทำไว้ส่งผลภาพยนตร์ The Admiral: Roaring Currents เป็นภาพยนตร์เกาหลีที่ทำเงินสูงสุดเป็นอันดับ 1 ได้ถึง 6 ปีก่อนจะถูกโค่นลงด้วย Extreme Job ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าชาวเกาหลีรุ่นหลังยังจดจำสิ่งที่นายพลอีซุนชินทำเพื่อประเทศชาติไว้ได้ อีกทั้งเพื่อเป็นการระลึกถึงนายพลอีซุนชินรัฐบาลเกาหลีได้สร้างแบบจำลองเรือเต่าไว้ที่ท่าเรือคังกูอัน ในเมืองทงยอง จังหวัดคยองซังใต้ โดยเปิดนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมกันได้
อนุสาวรีย์นายพลอีซุนชิน
อ้างอิง
Jinwung Kim (2012). A history of Korea: from “Land of the Morning Calm” to states in conflict. United States of America: Indiana University Press.
Michael J. Seth (2011). A history of Korea: from antiquity to the present. United States of America: Published by Rowman & Littlefield Publishers, Inc.
วิกิพีเดีย สารากุกรมเสรี (ไม่ปรากฎวันที่พิมพ์). อี ซุน-ชิน. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อี_ซุน-ชิน.
วิเชียร อินทะสี (2561). เกาหลีในช่วงอลหม่าน ค.ศ. 1864-1953 : การรุกรานจากต่างชาติ การตกเป็นอาณานิคมการแบ่งแยกและสงครามเกาหลี. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิลปวัฒนธรรม (23 กรกฎาคม 2564). ปมสงครามญี่ปุ่นบุกเกาหลี ภูมิหลังอิงเรื่องจริงใน Kingdom สู่ภัย “ซอมบี้” ที่ถูกเติม. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_46871.
โฆษณา