Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mandala
•
ติดตาม
30 ก.ย. 2021 เวลา 01:29 • ประวัติศาสตร์
๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระอนุชาธิราช(บุญมา) เสด็จกลับ กรุงธนบุรี
ตามหลักฐานพงศาวดารฉบับต่างๆ มีข้อมูลตรงกันว่า พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ได้สร้างหลักเมืองกรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เพราะเชื่อตามที่โหราจารย์ และ การเข้าทรงเชิญดวงวิญญาณเจ้านครอินทร์ มาประทับร่าง เจ้าอาวาสมอญ วัดคอกกระบือ(วัดยานนาวา) ให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันกองทัพพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งอาจจะยกกองทัพเข้าตีกรุงธนบุรี เพราะเชื่อว่า ระหว่างวันที่ ๑๖ ถึง ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ มีโอกาสที่ พระเจ้าตากสินฯ มีโอกาสนำกองทัพเข้ายึด กรุงธนบุรี กลับคืน มากที่สุด จึงเสนอให้มีการสร้างหลักเมือง และให้ พระอนุชาธิราช(บุญมา) อยู่ที่เมืองเสียมราฐ เพื่อนำกองทัพเขมร และ เวียตนาม ไปช่วยเหลือ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก หากพระเจ้าตากสินฯ นำทัพยึดกรุงธนบุรี กลับคืน จนกว่าการสร้างหลักเมืองจะสำเร็จ ตามที่พระโหราจารย์กำหนด
หลังจากการสร้างหลักเมืองสำเร็จเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ได้มีพระราชสาส์นไปเรียก พระอนุชาธิราช(บุญมา) ที่ตั้งทัพอยู่ที่ เมืองเสียมราฐ รับสั่งให้นำกองทัพเดินทางกลับมายัง กรุงธนบุรี ได้แล้ว เพราะพ้นเขตอันตรายตามคำทำนายของพระโหราจารย์ เรียบร้อยแล้ว โหราจารย์ต่างๆ ได้กำชับ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ว่า อย่าประกาศสงคราม กับ พระเจ้าตากสินฯ อย่างเด็ดขาด เพราะการประกาศสงคราม กับ พระเจ้าตากสิน เช่น การนำกองทัพไปปราบปราม เมืองต่างๆ ที่กระด้างกระเดื่องต่อราชสำนักจักรี เมืองหนึ่งเมืองใด จะเกิดสงครามต่อเนื่องทันที ทำให้พระเจ้าตากสินฯ จะอ้างเป็นเหตุยกกองทัพเข้ายึด กรุงเทพฯ และจะต้องพ่ายแพ้ กองทัพพระเจ้าตากสินฯ อย่างแน่นอน จึงต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ใช้การประนีประนอม ให้ผ่าน ๗ ปีไปให้ได้ ราชสำนักจักรี จึงจะไปรอด ปลอดภัย
การลงโทษแม่ทัพนายกองที่คัดค้านการก่อกบฏ ที่ร่วมทัพไปเขมร
ตามหลักฐานพงศาวดารเขมร และ พงศาวดารของไทย ต่างบันทึกตรงกันว่า พระอนุชาธิราช(บุญมา) ได้ยกกองทัพจาก เมืองเสียมราฐ ถึง กรุงธนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระอนุชาธิราช(บุญมา) จึงเริ่มออกว่าราชการร่วมกับ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก โดยได้นำเชลยศึก กรมขุนอินทรพิทักษ์(จุ้ย) และพวก ๗ คน คือ 1-กรมขุนอินทรพิทักษ์ , 2-พระองค์เจ้าน้อย , 3-พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศ , 4-พระยากำแหงสงคราม(ขุนชนะ) , 5-พระยาธรรม , 6-พระยาอนุรักษ์ภูธร , 7-(ไม่ทราบนาม) มาถึงกรุงธนบุรี รับสั่งให้นำไปขังคุกไว้เพื่อนำมาพิจารณาโทษ ในภายหลัง
วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ซึ่งนำยาสมุนไพรไปส่งให้พระเจ้าตากสินฯ ที่กรุงธนบุรี แต่ถูก พระยาสรรค์ จับกุมขังคุก ต่อมาถูกปล่อยตัวออกจากคุก ให้นำทัพไปทำสงครามปราบปราม พระยาสุริยอภัย แต่พ่ายแพ้ ถูกจับขังคุกไว้ ได้ถูกเบิกตัวมาประหารชีวิตในวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ด้วย
๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระอนุชาธิราช แต่งตั้งขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายวังหน้า
ในวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๗ เมื่อ พระอนุชาธิราช(บุญมา) เสด็จมาถึงกรุงธนบุรี จึงเร่งรัดดำเนินการจัดตั้งขุนนางอำมาตย์ฝ่ายวังหน้า พระอนุชาธิราช(บุญมา) ผู้รับผิดชอบฝ่ายวังหน้า ได้นำขุนนางอำมาตย์ ที่ใกล้ชิดกับตนเอง ให้มารับราชการในฝ่ายวังหน้า ดังนี้
พระยาพลเทพ เป็น สมเด็จเจ้าพระยาพลเทพ
พระชัยบูรณ์(ปลัดเมืองพิษณุโลก) เป็น พระยากลาโหมราชเสนา
พระพลเมืองพิษณุโลก เป็น พระยาจ่าแสนยากร
หม่อมสด(ทนายข้าหลวงเดิม) เป็น พระยามณเฑียรบาล
นายทองอิน เป็น พระยาเสน่หาภูธร จางวางมหาดเล็ก
๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก และ พระอนุชาธิราช(บุญมา) พิจารณาโทษฝ่ายใน
วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ร่วมกับ พระอนุชาธิราช(บุญมา) ได้พิจารณาโทษฝ่ายใน ดังนี้
กรมพระราชวังบวรฯ กราบทูลให้นำ บุตรชายหญิงน้อยๆ ของ พระเจ้าตากสินฯ ขอรับพระราชทานนำไปใส่เรือ ไปล่มน้ำเสียให้สิ้น เพราะคำโบราณกล่าวว่า “..ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก.., ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ได้ จะเป็นเสี้ยนหนามในภายหน้า
พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ทรงอาลัยต่อ พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าสุพันธ์วงศ์(เจ้าฟ้าเหม็น) พระราชนัดดา จึงตรัสแก่ พระอนุชาธิราช(บุญมา) กรมพระราชวังบวรฯ ขอชีวิตเด็กๆ ทั้งสิ้น ไว้ทั้งหมด
๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ การสำเร็จโทษ กรมขุนอินทรพิทักษ์ และพวก
พงศาวดารแทบทุกฉบับ บันทึกตรงกันว่า ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระอนุชาธิราช(บุญมา) กรมพระราชวังบวร ได้นำเชลยศึกที่นำมาจากเขมร คือ กรมขุนอินทรพิทักษ์ และ พวก ๗ คน ประหารชีวิต คือ บุคคลดังต่อไปนี้ 1-กรมขุนอินทรพิทักษ์ , 2-พระองค์เจ้าน้อย , 3-พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศ , 4-พระยากำแหงสงคราม(ขุนชนะ) , 5-พระยาธรรม , 6-พระยาอนุรักษ์ภูธร , 7-(ไม่ทราบนาม)
วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ได้มีพระราชสาส์น เรียก พระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย) มาพบรายงานตัวที่ กรุงธนบุรี หลังจาก พระอนุชิตราชา(พระยาสุรสีห์) กลับมาจาก เมืองเสียมราฐ ประเทศเขมร ถึงกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก เล็งเห็นว่า พระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย) เป็นขุนศึกที่มีความสามารถ มีฝีมือและซื่อสัตย์ เดินทางมาถึง กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ จึงชวนพระยาพิชัย ซึ่งไม่ทราบเรื่องจริง ให้เข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ ให้เหตุผลว่าเพราะ พระเจ้าตากสินฯ เป็นบ้า และถูกประหารชีวิตแล้ว
1
วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระอนุชิตราชา ขอรับ พระยาพิชัยดาบหัก มาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่พระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย) ซึ่งไม่พอใจพระอนุชิตราชา(พระยาสุรสีห์) มาก่อน จึงไม่ขอรับตำแหน่งด้วย พระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย) เป็นคนจงรักภักดี และ ซื่อสัตย์ต่อ พระเจ้าตากสินฯ มากและถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้า บ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก สำเร็จโทษตน เป็นการถวายชีวิตตายตาม พระเจ้าตากสินฯ ตามข่าวลือ
วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก หวั่นเกรงที่ พระเจ้าตากสินฯ ซึ่งสามารถหลบหนีไปได้ เกรงว่าจะกลับมายึดอำนาจกลับคืน จึงสั่งประหารชีวิต ขุนนางอำมาตย์ เจ้าเมืองต่างๆ ที่จงรักษ์ภักดี ต่อ พระเจ้าตากสินฯ ประมาณ ๑๕๐ คน ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕
๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ การวางศิลาฤกษ์ ตั้งพระราชวังใหม่ ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำเจ้าพระยา
พระเจ้าตากสินฯ ได้เคยออกแบบแปลน พระราชวังหลวงแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นพระราชวังหลวงตามแผนปฏิรูปการปกครอง โดยจัดหาวัสดุ และเงินทุน หลายสิบล้านบาท มาใช้ในการก่อสร้างไว้พร้อม แต่ถูก พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก วางแผนปล้นสะดมไปสิ้น ซ้ำได้เปลี่ยนแปลงแบบผัง ทั้งหมดให้เป็นไปตามคำแนะนำ ของ ดวงวิญญาณ เจ้านครอินทร์ ที่มาอาศัย เจ้าอาวาสมอญ วัดคอกกระบือ(วัดยานนาวา) เป็นร่างทรง ซึ่งเป็นที่มาของการรื้อกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกรื้อมาจาก กำแพงพระราชวังศรีเวียงไชย กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มาสร้างกำแพงพระราชวังหลวง กรุงเทพฯ ซึ่งเต็มไปด้วย คำสาปแช่ง
ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ได้วางศิลาฤกษ์ การตั้งพระราชวังหลวงใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วน พระอนุชาธิราช(บุญมา) กรมพระราชวังบวร ได้วางศิลาฤกษ์ สร้างพระราชวังหน้า จึงเริ่มมีการก่อสร้างพระราชวังทั้งสอง ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ ด้วยเงินที่ได้มาจากการปล้นสะดม เรือคณะราชทูต ทั้งสิ้น
๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก เริ่มออกว่าราชการ ที่พระราชวังหลวง กรุงเทพฯ
หลักฐานพงศาวดารต่างๆ บันทึกตรงกันว่า ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จโดยนั่งเรือพระที่นั่งศรีสักหลาด จาก กรุงธนบุรี ข้ามฟากไปฝั่งตะวันออก ขึ้นนั่งพระที่นั่งบุษบกมาลา เพื่อว่าราชการเป็นปฐมฤกษ์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย