1 ต.ค. 2021 เวลา 13:26 • ประวัติศาสตร์
JFK: ปมปริศนาการลอบสังหารจอห์น เอฟ เคเนดี้
โปสเตรอ์ภาพยนตร์ JFK
เมื่อพูดถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่เป็นที่จดจำของคนทั้งโลกมีอยู่หลากหลายคนด้วยกัน และหนึ่งในนั้นคือจอห์น เอฟ เคนเนดี (John F. Kennedy) หรือที่รู้จักกันในชื่อ JFK ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐฯ และเป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดที่มาจากการเลือกตั้งด้วยอายุ 43 ปี (ในส่วนธีโอดอร์ โรสเวลต์นั้นเป็นประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุดที่ของสหรัฐฯ ขณะที่อายุ 42 ปี แต่ธีโอดอร์ โรสเวลต์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากประธานาธิบดีในขณะนั้นคือวิลเลียม แมคคินลีย์ถูกลอบสังหาร ทำให้รองประธานาธิบดีขณะนั้นคือโอดอร์ โรสเวลต์ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน) อีกทั้งเขายังเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (คนอเมริกันส่วนใหญ่นับถือนิกายโปรเตสแตนท์)
สิ่งหนึ่งที่ทำให้จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ เป็นที่จดจำของคนทั้งโลกคือวลีเด็ดของเขาที่พูดว่า “จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ” (Ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country) โดยวลีดังกล่าเกิดขึ้นขณะที่จอห์น เอฟ.เคเนดี้ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1961
ประธานาธิบดีเคนเนดี้สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1961
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้จอห์น เอฟ เคนเนดี้ เป็นที่จดจำคือสิ่งที่เขาได้ทำให้กับสหรัฐฯ อย่างที่สำคัญที่สุดคือการวางรากฐานโครงการอวกาศ ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐฯยังคงเป็นรองโซเวียต แต่หลังจากที่จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ไม่ถึง 10 สหรัฐฯได้พลิกขึ้นนำโซเวียตโดยการเป็นชาติแรกในโลกที่สามารถไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ และอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญของการหยุดวิกฤตการณ์คิวบาไม่ให้ลุกลามจนเกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 ด้วยการเจรจากับครุสซอฟด้วยการที่สหรัฐจะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีและโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา นอกจากนี้เขายังได้ส่งเสริมความเท่าเทียมทางสีผิว ด้วยการยกเลิกกฎหมายจ่ายค่าแรงจากการพิจารณาสีผิว รวมทั้งแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2
ประธานาธิบดีเคนเนดี้(ซ้ายมือ)ดีน รัค รัฐมนตรีต่างประเทศ(คนกลาง)และโรเบิร์ต แมคนามารา รัฐมนตรีกลาโหม (คนขวา) กำลังหารือกันเรื่องวิกฤตการณ์คิวบา
อย่างไรก็ดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ได้เป็นประธานาธิบดีเพียงแค่ 3 ปี ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 จอห์น เอฟ เคนเนดี้ได้ไปเยื่อนเมืองแดลลัส มณรัฐเท็กซัส เพื่อมาหาเสียงในการเลือกตั้งในสมัยหน้าเนื่องจากที่เมืองแดลลัสในการเลือกตั้งคราวที่แล้วจอห์น เอฟ เคนเนดี้ได้คะแนนไม่มากนัก ในเวลา 12.30 ขณะที่รถเคนเนดี้และคณะกำลังแล่นผ่านดีลีย์ พลาซ่า และเลี้ยวขวาจากถนนใหญ่ไปถนนฮุสตัน และขบวนรถก็เลี้ยวซ้ายผ่านตึกที่เป็นคลังเก็บหนังสือของโรงเรียนเรียนเท็กซัส ซึ่งมีเจ็ดชั้น เสียงปืนได้ดังขึ้น !!!
ประธานาธิบดีเคนเนดี้ระหว่างการเยือนแดลลัส(ก่อนเกิดเหตุลอบสังหาร)
กระสุน 3 นัดได้พุ่งไปยังรถลีมูซีนของเคนเนดี้ โดยกระสุน 2 จากสามนัดถูกเคนเนดี้ ซึ่งนัดที่สังหารเขาคือนัดที่ยิงที่ศรีษะทำให้กะโหลกเปิดออกและตามด้วยความตกใจของแจ็กเกอลีน เคนเนดี้ (Jacqueline Kennedy) ภรรยาของเคนเนดี้ ส่วนอีกนัดหนึ่งถูกเข้าที่หลังของจอห์น คอนเนลลี ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส ซึ่งนั่งอยู่ข้างคนขับ และในเวลา 13.00 หรือครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นเคนเนดี้ได้ถูกรายงานว่าเสียชีวิตอย่างเป็นทางการ ขณะที่เขาอายุได้ 46 ปี
ประธานาธิบดีเคนเนดี้หลังจากถูกกระสุนนัดที่ 3 ที่ศรีษะซึ่งแจ็คเกอลีน เคนเนดี้กำลังอื้มมือไปหบิบเศษกระโลกของประธานาธิบดีเคนเนดี้
ในตอนบ่ายของวันเดียวกันนั้น ทางตำรวจได้จับผู้ต้องสงสัยชื่อลี ฮาร์วีย์ ออสวัลด์( Lee Harvey Oswald) อายุ 24 ปีได้ที่โรงหนัง หลังจากก่อนหน้านี้เขาได้ยิงนายตำรวจเจ.ดี. ทิปพิต เสียชีวิตก่อนที่จะนั่งแท็กซี่มาที่โรงหนังโดยที่ไม่ได้จ่ายเงินค่าตั๋วหนัง ทำให้พนักงานขายตั๋วโทรเรียกตำรวจ ประวัติโดยย่อของออสวัลด์ เขาเป็นอดีตนาวิกโยธินของสหรัฐฯ แต่เป็นผู้ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1959 เข้าได้ย้ายไปอยู่เมืองมินส์(เบลาลุสในปัจจุบัน)พร้อมทั้งสละสัญญาติอเมริกา และในปี ค.ศ. 1952 เขาย้ายกลับที่สหรัฐฯ เพราะโซเวียตไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคิดและออสวัลด์หันไปเชื่อในฟิเดล คาสโตรแทน
ลี ฮาร์วีย์ ออสวัลด์
ภายหลังจากถูกจับออสวัลด์ได้ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้เป็นคนทำ แต่ตกเป็นแพะรับบาป ทั้งที่มีการค้นพบไรเฟิลที่สั่งซื้อภายใต้นามแฝงของเขาที่ชั้น 6 ของคลังเก็บหนังสือโรงเรียนเท็กซัส อีกทั้งมีผู้เห็นเหตุการณ์ยืนยันว่าเห็นออสวัลด์อยู่ตรงหน้าต่างของคลังเก็บหนังสือโรงเรียนเท็กซัสตอนที่เคนเนดี้ถูกยิง ทางตำรวจได้แจ้งรูปพรรณของออสวัลด์ระหว่างกัน ทำให้เจ. ดี. ทิปพิต นายตำรวจที่กำลังลาดตระเวนอยู่แถวนั้นได้เห็นออสวัลด์แล้วขอตรวจค้น เลยถูกออสวัลด์ยิงเสียชิวิต ก่อนที่ออสวัลด์จะมาถูกจับได้ที่โรงหนัง
เมื่อจับออสวัลด์ได้ในวันที่ 24 พฤศจิกายนหรือสองวันหลังจากเกิดเหตุ ทางตำรวจได้นำเขามาคุมขังในคุกที่อยู่ใกล้สถานีแดลลัส เนื่องจากมีจดหมายขู่ฆ่ามาถึง ระหว่างที่ตำรวจกำลังคุมตัวเขาลงมาจากลิฟต์ที่ชั้นจอดรถใต้ดิน ซึ่งในขณะนั้นได้มีสื่อมวลชนจำนวนมากมารอทำข่าว แจ็ค รูบี้ (Jac Rube) เจ้าไนต์คลับในย่านนั้นได้ฝ่าวงล้อมสื่อมวลชนเข้าไปยิงออสวัลด์ โดยในเวลานั้นได้มีการถ่ายสดทำให้ชาวอเมริกานับล้านได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว
แจ๊ค รูบี้ฝ่ากลุ่มสื่อมวลชนเข้าไปยิงออสวัลด์ที่ลานจอดรถสถานีตำรวจอแดลลัส
หลังจากถูกยิงออสวัลด์บาดเจ็บสาหัสและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุที่นายแจ็ค รูบี้อ้างว่าที่เขายิงออสวัลด์เพราะว่าเพื่อระบายความแค้นที่ออสวัลด์ได้ยิงประธานาธิบดีอันเป็นที่รักของเขา แจ็ค รูบี้ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ต่อมาศาลลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่ก่อนที่แจ็ค รูบี้จะถูกขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดีเขาได้ป่วยเป็นมะเร็งและเสียชีวิต ทำให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่นายแจ็ค รูบี้สังหารออสวัลด์ไม่ได้ถูกสอบสวนเพิ่มเติม ทำให้ชาวอเมริกาจำนวนมากต่างสงสัยว่าต้องมีผู้เบื้องหลังแจ็ค รูบี้ในการฆ่าปิดปากออสวัลด์อย่างแน่นอน จึงเป็นที่มาของทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลังจากนี้
แจ็ค รูบี้
เคนเนนี้นั้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 4 ที่ถูกลอบสังหาร โดยการหน้านั้นมีประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอร์น (ประธานาธิบดี Abraham Lincoln) ที่ถูกนาย จอห์น วิลค์ส บูธ (John Wilkes Booth) นักแสดงละครเวที ยิงที่ศรีษะ ที่โรงละครในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี ค.ศ. 1865
ประธานาธิบดีเจมส์ กาฟิลด์ (James Garfield) ถูกนาย Charles Jules Guiteau ยิงใส่ถึง 2 นัด ระหว่างรอรถไฟที่สถานีบัลติมอร์และโปโตแมคในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1881 แต่ประธานาธิบดีกาฟิลด์ไม่ได้เสียชีวิตในขณะนั้น เขาถูกส่งตัวไปรักษาด้วยอาการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตด้วยภาวะเลือดเป็นพิษในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1881
ประธานาธิบดีวิลเลียม แมคคินลีย์ (William McKinley) ถูกนาย Leon F. Czolgosz ลอบสังหารขณะเยี่ยมชมงาน Pan American Exposition ที่เมืองบัฟฟาโล ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1901 เช่นเดียวกับประธานาธิบดีกาฟิลด์ คือประธานาธิบดีแมคคินลีย์ไม่ได้เสียชีวิตในขณะนั้น เมื่อถูกส่งไปโรงพยาบาลแพทย์ไม่สามารถระบุตำแหน่งของกระสุนปืนและนำออกมาได้ ทำให้อาการของประธานาธิบดีแมคคินลีย์แย่ลงและเสียชีวิตในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1901 ด้วยภาวะที่ผนังกระเพาะอาหารเน่าและเลือดเป็นพิษอย่างรุนแรง
ด้วยความที่การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ มีปริศนามากมาย ทำให้โอลิเวอร์ สโตน (William Oliver Stone) ผู้กำกับชื่อดังได้นำเหตุการณ์ลอบสังหารมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ขื่อ JFK (ฉายในปี ค.ศ. 1991) โดยเนื้อเรื่องของภาพยนตร์จะเล่าผ่านมุมมองของจิม แกริร์ลิสัน (Jim Garrison) อัยการเมืองนิวออร์ลีนที่ได้ตามขุดคุ้ยหาเบื้องหลังการลอบสังหารเคนเนดี้ ในภาพยนตร์เราจะเห็นว่าแกร์ริลิสันนั้นเชื่อว่าออสวัลด์นั้นไม่ได้ก่อนเหคุเพียงคนเดียว แต่มีผู้ร่วมก่อนเหตุคนอื่นอีก
จิม แกร์ริสัน
ในภาพยนตร์เราจะเห็นแกร์ริสัน ทำการเชื่อมโยงว่าออสวัลด์มีความเกี่ยวข้องกับกับกลุ่มบุคคลที่ต้องการให้ออสวัลด์นั้นมาเป็นแพะรับบาป โดยบุคคลเหล่านั้นต่างมีความเกี่ยวข้องกับเอฟบีไอ ซีไอเอ ไปจนถึงแก็งมาเฟีย ซึ่งแกร์ริสันได้พยายามนำบุคคลเหล่านั้นมาขึ้นศาลแต่ก็ถูกขัดขวางจากคนของรัฐบาล ส่วนพยานต่าง ๆ ก็ถูกขมขู่ไม่ให้มาให้ปากคำ หรือไม่ก็ถูกฆ่า ส่วนคนที่สามารถนำขึ้นศาลได้ก็หลุดรอดไปได้อย่างน่าสงสัย
จิม แกร์ริสันที่รับบทโดยเควิล คอสเนอร์ในภาพยนต์ JFK
แกร์ริสันเชื่อว่าออสวัลด์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้ที่สังหารเคนเนดี้นั้นไม่ได้มีคนเดียวแต่ทำงานร่วมกันเป็นทีม อีกทั้งจุดที่ยิงก็ไม่ใช่หน้าต่างชั้น 6 ของคลังหนังสือของโรงเรียนเท็กซัส แต่ยิงมาจากเนินที่มีหญ้าปกคลุมซึ่งใกล้กับขบวนรถของเคนเนดี้ หลังจากที่ภาพยนตร์ JFK ได้ฉายก็ประสบความสำเร็จในแง่ของรายได้และรางวัลที่สามารถเข้าชิงออสการ์ได้ถึง 8 สาขา อีกทั้งยังยังทำให้ชาวอเมริกากลับมาถกเถียงกันเรื่องปมลอบสังหารเคนเนดี้กันอย่างกว้างขวาง ทำให้ทฤษฎีสบคบคิดต่าง ๆ ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก
ภาพบางส่วนจากภาพยนตร์ JFK
อย่างไรก็ดีภาพยนตร์ JFK นั้นเป็นเพียงมุมมองด้านเดียวที่มาจากตัวแกร์ริสัน ซึ่งตัวโอลิเวอร์ สโตนก็โดนโจมตีจากหลายฝ่ายถึงการนำหลักฐานที่สรุปไม่ได้อย่างแน่ชัดมานำเสนอในภาพยนตร์
ภายหลังจากที่ JFK ฉายไปได้ 1 ปีสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า JKF Record Act (1992) ซึ่งกฎหมายนี้จะผลให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยเอกสารการลอบสังหารประธานธิบดีเคนเนดี้ทั้งหมดภายใน 25 ปี เว้นแต่ประธานาธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งเดดไลน์ของ JKF Record Act คือวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 ตรงกับช่วงที่โดนัล ทรัมป์ (Donald Trump) เป็นประธานาธิบดี
พิธีศพประธานาธิบดีเคนเนดี้มีบุคคำสำคัญจากทั่วโลกกว่า 100 คนมาร่วมงาน
ทรัมป์ได้ยื่นยันมาตลอดว่าเขาจะทำการเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ JFK อย่างไรก็ตามทรัมป์ถูกดันจากทั้ง CIA และ FBI อย่างหนักในการไม่ให้เปิดเผยเอกสารทั้งหมด จนทำให้ทำยอมถอยและไม่เปิดเผยเอกสารบางส่วน โดยอ้างถึงเรื่องเหตุผลความมั่นคงแห่งชาติ เอกสารที่ถูกเปิดเผยนั้นได้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของกองจดหมายเหตุแห่งชาติกว่า 2,800 ฉบับ
อาคารคลังหนังสือโรงเรียนเท็กซัสที่คาดว่าเป็นออสวัลด์ใช้เป็นจุดสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้
เอกสารที่เปิดเผยออกมามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้อยู่ 5 ประเด็นด้วยกันคือ หนึ่ง FBI กังวลคนเชื่อทฤษฎีสมคบคิด บันทึกของเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ผู้อำนวยการของ FBI ในขณะนั้น เขียนขึ้นในวันที่ออสวัลด์ถูกยิงเสียชีวิต โดยบันทึกดังกล่าวระบุว่าเขาเป็นกังวลที่ทฤษฎีสมคบคิดแพร่ไปหมู่ชาวอเมริกาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่าออสวัลด์ไม่ใช่คนร้ายตัวจริง “สิ่งที่ผมหวังว่าเราจะต้องออกข่าวอะไรซักอย่าง เพื่อให้คนเชื่อว่าออสวัลด์เป็นผู้ก่อเหตุตัวจริง” ฮูเวอร์กล่าว
สอง ออสวัลด์ติดต่อกับ KGB (หน่วยข่าวกรองของโซเวียต) บันทึกของ CIA ที่ได้จากการดักฟังทางโทรศัพท์ได้เคยพบและพูดคุยกับ KGB ที่สถานทูตรัสเซียในกรุงเม็กซิโกซิตี้ เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1963 หรือ 2 เดือนก่อนการลอบสังหาร KGB คนดังกล่าวคือวาเลอรี วลาดิมิโรวิช คอสติคอฟ ซึ่งทางสหรัฐฯ ยืนยันว่า KGB ฝ่ายบ่อนทำลายและการลอบสังหาร บันทึกดังกล่าวยังระบุว่า ในว่าต่อมาออสวัลด์ได้โทรศัพท์ไปยังสถาทูตดังกล่าวโดยพูดเป็นภาษารัสเซียในทำนองที่ว่า “มีอะไรเข้ามาใหม่เรื่องโทรเลขถึงกรุงวอชิงตันไหม”
สาม FBI เตือนตำรวจให้คุ้มกันออสวัลด์ อย่างที่เล่าไปก่อนหน้าว่าตำรวจได้จับกุมและตั้งข้อหาออสวัลด์อย่างรวดเร็ว แต่ต่อมาในระหว่างคุมตัวที่สถานีตำรวจแดลลัสออสวัลด์ได้ถูกแจ็ค รูบี้บุกมายิงจนเสียชีวิต ทำให้มีการเปิดเผยว่าทาง FBI ได้มีคำเตือนไปทางตำรวจแดลลัสว่าให้คุ้มกันออสวัลด์ให้ดี เพราะมีจดหมายขู่ฆ่า “เราได้แจ้งกับทางผู้บังคับการตำรวจเมืองให้ทราบทันที และเขารับปากว่าจะคุ้มกันออสวัลด์อย่างแน่นหนา แต่อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าพวกเขาไม่ได้ทำอย่างนั้น” ฮูเวอร์กล่าว
สี่ การเสียชีวิตของประธานาธิบดีเคนเนดีทำให้โซเวียตกังวล บันทึกฉบับหนึ่งของทางการสหรัฐระบุว่า เจ้าหหน้าที่ระดับสูงของโซเวียตแสดงความกังวลว่า ในภาวะที่สหรัฐฯไร้ผู้นำ นายพลที่ไร้ความรับผิดชอบบางคนจะใช้ฉวยโอกาสยิงขีปนาวุธโจมตีโซเวียตได้ อีกทั้งยังระบุว่าหลายคนในโซเวียตเชื่อว่าการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้ไม่ใช่การกระทำของคนคนเดียว แต่เป็นการกระทำที่เป็นทีมและมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี
ห้า หนังสือพิมพ์ได้รับแจ้ง “ข่าวใหญ่” ก่อนเกิดเหตุ 25 นาที มีชายนิรนามได้โทรไปหาบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เคมบริดจ์นิวส์ ในสหราชอาณาจักรก่อนเกิดเหตุ 25 นาที ว่าจะมีข่าวใหญ่เกดขึ้นที่สหรัฐฯ และหนังสือพิมพ์ดังกล่าวควรโทนหาสถานทูตสหรัฐฯที่ลอนดอน ก่อนที่จะวางสายไป
จากข้อมูลที่เปิดเผยออกมาใหม่นั้นก็ยังไม่ช่วยคลี่คลายปริศนาการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้มากนัก ถึงแม้บางข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนก็ตาม โดยข้อมูลสำคัญน่าจะอยู่ในข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา ดังนั้นแล้วแม้หอจดหมายเหตุจะเผยแพร่เอกสารออกมาเป็นจำนวนมากแต่ปริศนาก็ยังไม่คลี่คลาย และการเสียชีวิตของประธานาธิบดีเคนเนดี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงต่อไป
ในส่วนของทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าใครอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้มีทฤษฎีที่น่าสนใจดังนี้ หนึ่ง CIA อยู่เบื้องหลังการสังหารเนื่องจากหลังปฏิบัติการที่อ่าวหมูหรือที่รู้จักในชื่อ Bay of pig ที่คิวบาสหรัฐฯล้มเหลวไม่สามารถโค้นล้มคาสโตรได้ เคนเนดี้ต้องการลดอำนาจของ CIA โดยการปลดผู้บริหารระดับสูง และให้กองทัพทำงานปฏิบัติการลับแทน CIA
สอง ความพยายามของประธานาธิบดีเคนเนดี้ในการถอนทหารออกจากเวียดนามในปี ค.ศ. 1965 ทำให้ขัดผลประโยชน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธและบรรดาทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งก่อนหน้าในการยุติวิกฤตการณ์คิวบาอย่างสันติ ทำให้กลุ่มคนพวกนี้ไม่พอใจ อีกทั้งเคนเนดี้ยังมุ่งเน้นไปที่เรื่องสันติภาพ ต้องการยุติสงครามเย็น ซึ่งเป็นไปได้ว่ารองประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) จะรู้เห็นในเรื่องนี้ด้วย เพราะหลังจากที่เขาได้ขึ้นประธานาธิบดี สหรัฐฯได้ประกาศมติอ่าวตังเกี๋ยและทำการส่งทหารเข้าไปยังเวียดนามหรือก็คือสหรัฐฯได้ทำสงครามเวียดนามเต็มรูปแบบ
ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน
สาม แก๊งมาเฟียที่สูญเสียผลประโยชน์จากการยึดอำนาจคาสโตรที่ไม่สำเร็จในปฏิบัติการ Bay of pig ทำให้แก๊งมาเฟียเหล่านั้นโกรธเป็นอย่างมาก
สี่ พวกคิวซึ่งอาจจะเป็นพวกคิวบาที่พลัดถิ่นที่โกรธแค้นเคนเนดี้ที่ไม่ช่วยเหลือพวกเขาในปฏิบัติการ Bay of pig หรืออาจจะเป็นฝีมือของคาสโตรที่ต้องการจะล้างแค้น หลังจากที่สหรัฐฯได้พยายามลอบสังหารคาสโตรมาหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ
ห้า เป็นผีมือของครุสชอฟและพวกผู้นำหัวรุนแรงในโซเวียต โดยทฤษฎีนี้มีความเชื่อถือน้อยที่สุดเพราะครุสชอฟเองนั้นมองว่าเคนเนดี้เป็นคนที่สามารถตกลงกันได้ อีกทั้งเคนเนดี้ยังถูกมองว่าโอนอ่อนให้กับโซเวียต จนมีคนตั้งทฤษฎีว่าตัวเคนเนดี้เองนั้นเป็นสายลับให้กับโซเวียต
ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดีเคนเนดี้ เขาได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างมากมาย องค์กรนาซ่าได้นำเชื่อของเคนเนดี้ไปตั้งเป็นชื่อศูนย์อวกาศที่แหลมคาเวอนัล ในฟลอลิดาทันทีเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขาในฐานะเป็นผู้วางรากฐานโครงการอวกาศ ในส่วนของสนามบินนานาชาติที่นิวยอร์ก ได้เปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานจอห์น เอฟ เคนเนดี้หรือที่จักกันในชื่อสนามบิน JFK ขณที่มหาลัยวิทยาลัยฮาว์ดได้เปลี่ยนชื่อบัณฑิตวิทยาลัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นชื่อบัณฑิตวิทยาลัยจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ด้านปกครอง เพื่อเชิดชูเกียรติให้เขาในฐานะศิษย์เก่า
ท่าอากาศยาน JFK
อ้างอิง
BBC NEWS (27 ตุลาคม 2017). ปธน.ทรัมป์ ไฟเขียวเปิดบางส่วนของแฟ้มลับคดีลอบสังหารเจเอฟเค. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://www.bbc.com/thai/international-41772746.
BBC NEWS (28 ตุลาคม 2017). เอกสารลับ "เจเอฟเค" แฟ้มล่าสุดเผยเรื่องอะไรบ้าง ?. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://www.bbc.com/thai/international-41786961.
Betsy Towner (n.d.). 50 Facts About the JFK Assassination. Retrieved September 30, 2021, from https://www.aarp.org/politics-society/history/info-10-2013/50-facts-about-jfk-assassination.html.
History.com Editors (19 November 2018). Assassination of John F. Kennedy. Retrieved September 30, 2021, form https://www.history.com/topics/us-presidents/jfk-assassination.
ihow (17 กันยายน 2017). ใครคือประธานาธิบดีสหรัฐที่อายุน้อยที่สุด?. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://ihow.pro/th/p/khir-khux-prathanathibdi-shrath-thi-xayu-nxy-thisud/K2PzUaE3374pWd2M2M99ua2XWwSB4b-YCdjwV2o14_c.
ไทยรัฐออนไลน์ (27 ตุลาคม 2560). ทรัมป์โดน FBI-CIA กดดัน ยอมชะลอเผยแพร่เอกสารลับเพิ่มคดีลอบสังหาร JFK. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/1109549
ภานุวัตร เอื้ออุดมชัยสกุล (8 มีนาคม 2561).จอห์น เอฟ เคนเนดี: ปมปริศนากระสุน 3 นัด กับคดีลอบสังหารผู้นำสหรัฐฯ บันลือโลก. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, https://thepeople.co/john-f-kennedy/.
ศิลปวัฒนธรรม (5 พฤศจิกายน 2563). 8 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ถึงแก่อสัญกรรมในระหว่างดำรงตำแหน่ง. สืบค้นเมื่อ 30 กันยาย2564, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_57658.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ (24 พฤศจิกายน 2013). จอห์น เอฟ เคนเนดี:ประธานาธิบดี เซ็กส์ อำนาจและความตาย. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2013/11/49946.
โฆษณา