2 ต.ค. 2021 เวลา 05:33 • ปรัชญา
จากประสบการณ์ผมที่ผมทั้งชอบเล่นเกมส์ยันเเข่งขันชิงรางวัลในรายการต่างๆในคราบของนักจิตในตอนนั้น
1. ศึกษาว่าเขาเล่นเเนวไหน เล่นเเบบไหน เหมือนกับว่า ลูกชอบดูหนังแบบไหนประมาณนี้ เพราะเกมส์สมัยนี้มันกว้างกว่า ยุค 90 เป็นอย่างมาก บางเกมส์สามารถหยุดกลางคันได้ชั่วคราว บางเกมส์หยุดไม่ได้ แบบติดมือถือ ติดจอคอมตบอดเวลา จนกว่าจะเล่นจบ เพราะถ้าเล่นไม่จบจะทำให้เขาเสียคะเเนน ซึ่งคะเเนนตรงนั้นเหมือนคะเเนนพฤติกรรม ถ้าโดนหักมาๆเขาจะหมดสิทธิ์เลื่อนขั้น เป็นต้น เช่นจำพวกเเนว moba (เเนวผู้เล่นเเผนต่อสู้กัน5ต่อ5) เเนวยิงภาพบุคคลที่1
2 ให้เขาใช้ชีวิตระหว่างในโลกของเกมส์กัยโลกความจริงให้สมดุลกัน มันจะอารมณ์เเบบเดียวความสมดุลของงานกับครอยครัวในมุมผู้ใหญ่
จากประสบการณ์ส่วนตัว คำว่าติดเกมส์ กับคำว่าชอบเล่นมันเหมือนมีเส้นบางๆทับกันอยู่ เพราะผมเองก็เป็น1ในคนที่ชอบเล่นเป็นอย่างมาก จนสามารถให้คำเเนะนำได้หากทราบรายละเอียด และแม่ผม ญาติๆผมในตอนนั้นชอบมองว่าผมเป็นเด็กติดเกมส์ แต่สาเหตุของผมในตอนนั้นผมชอบเล่น เหมือนกับการชอบดูหนัง คนทีาเข้าใจผมในตอนนั้นคือพ่อผม แถมเล่นเป็นเพื่อนผมตั้งแต่3ขวบยันผมอายุ20กลางๆ บางครั้งผมรู้สึกว่าผมเหนื่อยกับโลกเเห่งความเป็นจริง จึงอยากหลบมาดูหนังเล่นเกมส์ เล่นหลายชั่วโมงยันทั้งวัน กรณีไม่ไปไหน แต่ยังมีลุ๊กไปทำอย่างอื่น กินข้าว กินน้ำ เดินเล่นยืดเส้นยืดสาย พักสายตานิดหน่อย
เวลาใครสั่งห้ามผมเล่นเกมส์ผมจะไม่ฟังใครเลยตอนนั้นเพราะพวกเขาสั่งแบบไม่เข้าวจอะไรผมเลย แต่ผมฟังพ่อคนเดียวเพราะพ่อจะเข้าใจผม อย่างสมัยก่อนตอนเด็กๆมีการทำข้อตกลงว่า ถ้าจบตาไปกินข้าว เป็นต้น มันคือจุดเริ่มต้นของความเข้าใจระหว่าผมกับพ่อแบบใจเขาใจเรา จนผมมองพ่อเป็นพวกเดียวกันตลอดครับ ปัจจุบันผมก็ยังเล่นเพราะชอบเล่น เเต่ไม่เคยมีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน บางเกมส์ผมหยุดทันทีไม่ได้ เพราะต้องให้จบก่อนเท่านั้น หากผู้ปกครองไม่เข้าใจจุดนั้น ลูกขอวคุณจะอารมณ์เสียจนถึงขีดสุด จนกว่าเขาจะเล่นจบเเล้วค่อยเรียกเขาก็ได้
โฆษณา