3 ต.ค. 2021 เวลา 07:36 • ท่องเที่ยว
Turkey (04) .. ม่านประวัติศาสตร์ ก่อนวันที่กรุงสแตนติโนเปิลจะเปลี่ยนไปตลอดกาล
ช่องแคบบอสฟอรัส เป็นช่องแคบที่แบ่งยุโรปกับเอเชียออกจากกัน .. และในอีกมุมหนึ่งมันคือหนทางที่จะร้อยเชื่อมทะเลดำเข้ากับทะเลมาร์มาร่า ผ่านออกสู่ทะเลอีเจี้ยน จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน .. ผู้ที่สามารถกุมอำนาจเหนือช่องแคบแห่งนี้ จะสามารถบงการความเคลื่อนไหวของผู้คนที่รายล้อม ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ การค้า และที่สุดคือ สงคราม
คอนสแตนติโนเปิล คือ นครที่เจริญรุ่งเรืองอยู่เหนือทางสายน้ำนี้ด้วยปัจจัยดังกล่าว เป็นศูนย์อำนาจของอาณาจักรโรมันตะวันออกที่ฝังรกรากอยู่บนแผ่นดินนี้อย่างยาวนานถึงราว 1147 ปี ก่อนจะจมหายไปในหน้าประวัติศาสตร์ด้วยกองกำลังอันกล้าแข็งของชาวเติร์ก ที่เฝ้าเพียรจู่โจมอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นด้วยเวลาที่ยาวนานหลายชั่วคน
.. ปราการสำคัญที่สามารถหยุดยั้งกองทัพชาวเติร์กเอาไว้แค่ชายฝั่งทวีปเอเชียในช่วงเวลาหนึ่ง ก็คือ ช่องแคบบอสฟอรัสแห่งนี้
.. เมื่อบอสฟอรัสนำมาซึ่งความมั่งคั่งให้กับตอนสแตนติโนเปิล บอสฟอรัสก็นำมาซึ่งความหายนะได้ด้วยเช่นกัน
บอสฟอรัส .. เป็นช่องแคบที่มีการเดินเรือที่ค่อนข้างคับคั่ง โดยเฉพาะเรือสินค้า
ปราการเก่าแก่ที่หยัดร่างเหนือเนินดินทั้ง 2 ฝั่งเหนือเนินเขาทั้ง 2 ฝั่งของแคบ โดยแผ่ปีกเป็นกำแพงโอบคลุมผืนดินที่อยู่ลึกเข้าไปจากฝั่ง
ก้อนหินเก่าแก่ที่ก่อรูปขึ้นเป็นปราการตระหง่านให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม และนับเป็นสิ่งก่อสร้างยุคแรกที่สำแดงให้อาณาจักรโรมันและคอนสแตนติโนเปิล ที่อยู่ห่างกันแค่ลมหายใจ ได้ตระหนักว่ากองกำลังของเติร์กนั้นยิ่งใหญ่และน่าสะพรึงกลัวแค่ไหน
ในยามนั้น คอนสแตนติโนเปิลเหมือนหัวใจของคริสต์ศาสนา ไม่แพ้วาติกันที่โรม การเผชิญหน้าระหว่างโรมันแห่งคอนสแตนติโบเปิล กับเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงกลายเป็นที่มาของสิ่งที่เรียกว่า “สงครามครูเสด” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อคอนสแตนติโนเปิลถูกปิดล้อมจากเติร์ก
การคงอยู่อย่างมั่นคงของคอนสแตนติโนเปิล อาจจะมีผลมาจากทำเลที่ตั้งของเมืองที่ยื่นออกไปในทะเลมาร์มาร่า ตรงปากช่องแคบบอสฟอรัสด้านตตะวันตก .. แต่เมื่อเติร์กสามารถยึดช่องแคบดาร์ดาแนลล์ และยกกองกำลังทางบกเข้าปิดล้อมทางด้านเหนือ คอนสแตนติโนเปิลก็ถูกโดดเดี่ยวจากพันธมิตรแห่งคริสตจักร
... นั่นหมายถึงบทสุดท้าย และการจากลาของอาณาจักรโรมันตะวันออก
หนทางเดียวของลมหายใจแห่งการอยุ่รอด คือ ช่องแคบบอสฟอรัสที่อาจนำกองทีพคริสตจักรจากทะเลดำลงมาช่วย .. แต่ดูเหมือนว่าถนนสายนี้ค่อนข้างจะมืดมน เพราะบนฝั่งแผ่นดินเอเชียของช่องแคบก็หนาแน่นด้วยกองกำลังของเติร์ก ในขณะที่ช่องแคยดาร์ดาแนลล์ เติร์กก็ยึดเอาไว้ได้แล้วอย่างเบ็ดเสร็จ
การยึดครองช่องแคบบอสฟอรัสจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุลต่านยาซิทที่ 1 ไม่อาจจะปฏิเสธ พระองค์ได้สร้างผลงงานที่ยังคงตั้งตระหง่านมนจนถึงทุกวันนี้ .. เรือทุกลำที่ผ่านเข้ามา จะต้องพบพานกับหอรบสูงรอมฝั่งน้ำบนแผ่นดินเอเชียที่ถูกขนานนามว่า “ป้อมอานาโคลุ” ที่หมายความว่า “ปราสาทแห่งเอเซีย” .. ซึ่งอยู่ห่างจากคอนสแตนติโนเปิลเพียงสิบกิโลเมตรเท่านั้น และเป็นสิบกิโลเมตรที่พวกเขาไม่ได้ต่อต้านและเข้ารบเพื่อขัดขวางการก่อสร้างปราการแห่งนี้ .. แต่รอคอยปารฏิหารย์ด้วยการสงดมนต์อ้อนวอน
ดูเหมือนปาฏิหาริย์จะมีจริง .. ปราการไม่ทันจะเสร็จสมบูรณ์ดี สุลต่านยาซิทที่ 1 ต้องถอนกำลังออกไปทำการรบกับกองทัพครูเสด ณ ยุทธภูมิแห่งแม่น้ำดานูป บริเวณเมือง นิโคโปลิส แม้การรบครั้งนี้สุลต่านยาซิทจะได้รับชัยชนะเหนือกองทัพคริสเตียนครูเสด .. แต่กับการรบครั้งที่ 2 คู่ต่อสู้กลับไม่ใช่คริสเตียน แต่เป็นชางมองโกลบนยุทธภูมิแถบเมือง อังการา และที่นี่เองที่นักรบแห่งอาณาจักรออตโตมันต้องพานพบกับความปราชัยเป็นครั้งแรก
.. มิใช่แค่พ่ายแพ้ แต่ผู้นำอย่างสุลต่านเบยาซิทถูกจับกุม และเสียชีวิตในที่กักขังนั่นเอง
บทสรุปในเกมแห่งการชิงอำนาจ .. ชัยชนะตกเป็นของเมอห์เมทซึ่งเป็นพี่คนโต โดยจัดการกับน้องชายทั้งสาม และเขาได้เป็นสุลต่านเมห์เมทที่ 1 ที่แม้จะได้ครองอำนาจแห่งอาณาจักรออตโตมันได้เพียง 8 ปี แต่ทายาทคือ เจ้าชายมูรัตที่ 2 ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับออตโตมันในฐานะนักรบที่สามารถ ที่ทำให้ออตโตมันเติบโตและมั่นคงต่อมายาวนานอีกไม่น้อยกว่าห้าร้อยปี
... แต่ก่อนหน้านั้น ความมุ่งมั่นที่ไม่เคยลืมเลือนของเขาก็คือ ตลอดรัชกาลที่ยาวนานกว่า 30 ปี เขาวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อเข้ายึดครองคอนสแตนติโบเปิล ที่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้า ห่างเพียงช่องว่างของสายน้ำแห่งบอสฟอรัสอย่างไม่ผลีผลาม
.. แผนแรกที่พระองค์กระทำ คือ ต้องยึดช่องแคบบอสฟอรัสแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ใช่ครึ่งๆกลางๆ
ทันทีที่ขึ้นสู่อำนาจในปี 1451 .. พระองคฺก็เริ่มยุทธศาสตร์ด้วยการส่งกำลังข้ามช่องแคบ เพื่อไปสร้างป้อมปราการขึ้นอีกฟากฝั่งในแผ่นดินยุโรปใกล้ทางออกทะเลดำ ตรงข้ามกับป้อมของปู่ทวดเบยาซิทที่ 1 โดยใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง 4 เดือน และตั้งชื่อป้อมแห่งนี้ว่า “ป้อมรูเมลี” หมายถึงปราวาทแห่งยุโรป
.. 4 เดือนแห่งการสกัดหินผามาสร้างเป็นปราการ
.. 4 เดือนที่ผู้คนและกองทหารแห่งคอนสแตนติโนเปิล ได้แต่เฝ้าดูศัตรูก้าวเท้าเข้าครองช่องแคยบอสฟอรัสอย่างเบ็ดเสร็จ และประกาศห้ามเรือทุกชนิดผ่านเข้าออก .. ด้วยอำนาจของของปืนใหญ่ที่จังก้าอยู่บนปราการทั้งสองฟากแห่งช่องแคบ
.. กระสุนชุดเดียวจากปืนใหญ่ที่กระหน่ำเข้าโจมตีเรือของเวนิสที่ผ่านเข้ามาโดยไม่บอกกล่าว เท่ากับเป็นการปิดลมหายใจของคอนสแตนติโบเปิล
.. เวลาที่ยาวนานถึง 30 ปีในการถูกปิดล้อม ยังไม่พอที่จะทำให้ผู้คนคอนสแตนติโนเปิลหาหนทางที่จะป้องกันตนแอง
เมื่อมี 2 ปราการไว้คุมการเข้าออกช่องแคบ เมห์เมทที่ 2 จึงทุ่มกำลังจำนวนมากที่เหลือ มาออกันที่แผ่นดินตรงข้ามกำแพงเมือง แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าใส่อย่างต่อเนื่องกว่า 50 วัน โดยที่ผู้คนของเมืองทำได้เพียงการเข้าไปสวดมนต์อยู่แต่ภายในมหาวิหารเซนต์โซเฟีย ไม่เว้นแม้แต่เหล่าทหารที่ประจำอยู่บนเชิงเทินหอรบ
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า .. ในค่ำคืนของวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1453 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 ได้เข้าร่วมสวดมนต์ในมหาวิหารแห่งนี้ด้วยพร้อมกับเหล่าทหาร โดยไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า นั่นคือการประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนาครั้งสุดท้ายภายในมหาวิหารแห่งนี้
บางทีความเชื่อของผู้คนในมหานครแห่งนี้อาจจะสืบเนื่องมาจากความมั่นใจในทำเลที่ตั้ง เพราะบริเวณอันเป็นเมืองคอนสแตนติโบเปิลนี้จะอยู่ตรงส่วนที่เป็นเหมือนแหลมปากทางเข้าช่องแคบบอสฟอรัสด้านติดทะเลมาร์มาร่า ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง น้ำได้แทรกตัวเข้ามาในแผ่นดิน กลายเป็นทะเลเล็กๆ มีชื่อเรียกว่า Golden Horn หรือปี่ทองคำ เพราะมีลักษณะเหมือนกับปากแตร .. เมื่อยามเย็นผืนน้ำตรงช่วงนี้จะถูกแสงตะวันอาบไล้ กลายเป็นสีทองอร่ามจนถูกนำเอามาตั้งชื่อเรียก ทำให้คอนสแตนติโนเปิลมีสภาพเหมือนกับแหลมที่มีน้ำล้อม เป็นปราการชั้นดีที่ป้องกันเมืองนี้มาเนิ่นนานนับพันปี จากการรุกรบของศัตรู ในขณะที่อีกด้านหนึ่งซึ่งเชื่อมอยู่กับแผ่นดินยุโรป ก็กางกั้นอยู่ด้วยกำแพงสูงเทียมฟ้าถึงสามชั้น
.. แต่ในความแข็งแกร่งกลับเปิดช่องว่างจุดอ่อน ให้ฝ่ายเติร์กที่เฝ้ามอง เฝ้าศึกษามานับชั่วอายุคนใช้โจมตี
รุ่งสางของวันต่อมา .. หัวใจของชาวโรมันแห่งคอนสแตนติโนเปิลก็วางวาย เมื่อพบว่าผืนน้ำแห่ง Golden Horn หนาแน่นด้วยหมู่เรือรบของเติร์ก เพราะพวกเขามัวแต่สวดมนต์อยู่ในโบสถ์จนลืมตรวจตรา ลืมคืดว่า เมห์เมทที่ 2 จะใช้วิธีขนเรือจากบอสฟอรัสตรงเขตที่พวกเขายึดครอแงข้ามเนินเขากาลาตา (Galata Hill) เข้ามาสู่ Golden Horn พร้อมกับกองกำลังภาคพื้นดินที่เข้าโจมตีอย่างพร้อมเพรียง
นั่นคือวันสุดท้ายของคริสต์ศาสนาบนแผ่นดินนี้ .. วันที่คอนสแตนติโบเปิลถูกกองทัพของมุสลิมเข้าโจมตียึดครองได้อย่างเบ็ดเสร็จ .. เป็นวันแรกที่ศาสนาอิสลามได้ตั้งมั่นลงบนแผ่นดินนี้ แผ่นดินของอาจักรโรมันตะวันออกอันเกริกไกร ที่สถาปนาขึ้นโดยจักรพรรดิคอนสแตนติน และมีจักรพรรดิครอบครองสืบต่อกันมาถึง 96 พระองค์ จนกระทั่งจบลงโดยจักรพรรดิที่มีพระนามเดียวกันในอีก 1147 ปีต่อมา
... และวันนี้เองที่ คอนสแตนติโบเปิล ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น อิสตันบูล มาจนถึงปัจจุบัน
เกร็ดความรู้ “สงครามครูเสด”
“สงครามครุเสด” แปลว่า “สงครามไม้กางเขน” .. เป็นสงครามการรบทางศาสนาระหว่างตริสต์ และมุสลิม ที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 200 ปี (ค.ศ.1095-1291) .. ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตปาปาเอร์บันที่ 2 (Pope Urban II) และศาสนจักรคาทอลิค มีเป้าหมายที่แถลงไว้ว่า เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ภายในและใกล้กรุงเยรูซาเล็มของคริสเจียน
.. โดยที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาหลักทั้ง 3 (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม)
ภูมิหลังของสงครามครูเสดเกิดเมื่อ เซลจุกเติร์ก มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบเซนต์ไทน์เมื่อ ค.ศ.1071 และตัดการเข้าถึงเยรูซาเล็มของชาวคริสเตียน .. จักรพรรดิไบเซนไทน์ อเล็กซิสที่ 1 ทรงเกรงว่าเอเชียไมเนอร์ทั้งหทดจะถูกบุกรุก พระองค์จึงทรงเรียกร้องผู้นำคริสเตียนตะวันตกและสันตะปาปา ให้มาช่วยเหลือกรุงคอนสแตนติโบเปิล โดยได้ไปจาริกแสวงบุญหาแนวร่วมเพื่อปลดปล่อยกรุงเยรูซาเล็มออกจากการปกครองของมุสลิม
อีกสาเหตุหนึ่ง เกิดจากการทำลายล้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคริสเตียนเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการเบียดเบียนศาสนิกชนภายใต้การปกครองของ อัล-ฮาคิม กาหลิบราชวงศ์ฟาติมียะห์ .. สุดท้ายแล้วชาวคริสต์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จนอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องล่มสลายลง ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่กระจายไปทั่วดินแดนตุรกี นับแต่นั้นเป็นต้นมา
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา